แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - PostDD

หน้า: 1 ... 725 726 [727] 728 729 ... 970
13070
ภาวะตลาดหุ้นอินเดีย: ดัชนี Sensex เปิดบวก ก่อนปรับตัวลงตามภูมิภาค

ดัชนี Sensex ตลาดหุ้นอินเดียเปิดตลาดในแดนบวก แต่ก็ปรับตัวลงสู่แดนลบหลังเปิดการซื้อขายได้ไม่นาน ตามทิศทางตลาดหุ้นเอเชียซึ่งเปิดผันผวนเช้านี้ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้น ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมทั้งผลกระทบจากการที่รัสเซียถูกคว่ำบาตรหลังใช้กำลังทหารโจมตียูเครน
ดัชนี Sensex ตลาดหุ้นอินเดีย เปิดตลาดวันนี้ที่ 60,786.07 จุด เพิ่มขึ้น 174.33 จุด หรือ 0.29%

หุ้น HDFC Bank ปรับตัวลดลง 2.32% หุ้น Bajaj Finance ปรับตัวลดลง 2.00% และหุ้น Kotak Bank ปรับตัวลดลง 1.22%

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยบริเวณกรอบกลาง 122 เยน โดยนักลงทุนบางส่วนได้เข้าซื้อเงินเยนเพื่อเก็งกำไร หลังเงินเยนอ่อนค่าลงในช่วงไม่กี่วันนี้
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ณ เที่ยงวันนี้ตามเวลาโตเกียว ดอลลาร์เคลื่อนไหวที่ 122.58-122.59 เยน เทียบกับ 122.71-122.81 เยนที่ตลาดนิวยอร์ก และ 122.65-122.66 เยนที่ตลาดโตเกียวเมื่อเวลา 17.00 น. ของเมื่อวานนี้

ยูโรเคลื่อนไหวที่ 1.0967-1.0971 ดอลลาร์ และ 134.43-134.49 เยน เทียบกับ 1.0965-1.0975 ดอลลาร์ และ 134.64-134.74 เยนที่ตลาดนิวยอร์ก และ 1.1031-1.1033 ดอลลาร์ และ 135.30-135.34 เยนที่ตลาดโตเกียวเมื่อช่วงเย็นเมื่อวานนี้

13071
ห้องซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยนของจิปาถะ / GLOBLEX
« เมื่อ: เมษายน 08, 2022, 06:51:21 am »
GLOBLEX คาด SET แกว่งแคบกรอบ 1,680-1,720 จับตา ศบค.ปลดล็อกมาตรการเข้าประเทศ

บล.โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยยังแกว่งตัวแคบขาดปัจจัยใหม่หนุน ขณะที่สถานการณ์รัสเซียและยูเครนยังไร้แววยุติ บวกความกังวลภาวะ Inverted yield curve ที่คุกรุ่นมากขึ้น จึงให้กรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีที่ 1,680-1,720 จุด พร้อมแนะกลยุทธ์ลงทุนใน 5 หุ้นรับอานิสงส์ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เตรียมหารือปลดล็อกมาตรการเข้าประเทศ 1 มิ.ย.65

นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็ก (GBS) ประเมินทิศทางตลาดหุ้นว่ายังแกว่งตัวผันผวนในกรอบแคบ โดยยังขาดปัจจัยใหม่เข้าหนุนตลาด ขณะที่ Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติยังไหลเข้าต่อเนื่อง และราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงเป็นผลดีต่อต้นทุนของบริษัทจดทะเบียน ทำให้คาดการณ์การเคลื่อนไหวของดัชนีอยู่ในกรอบ 1,680-1,720 จุด

ขณะที่ Fed Watch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนักมากถึง 73.3% ที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมวันที่ 3-4 พ.ค.65 ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 431,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 490,000 ตำแหน่ง ส่วนดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน มี.ค.ของจีนลดลงสู่ระดับ 48.1 จากระดับ 50.4 ในเดือน ก.พ.65 โดยดัชนี PMI เดือน มี.ค.65 หดตัวลงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.63

ด้านมอร์แกน สแตนลีย์ ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของจีนในปี 65 ส่วนซิตี้ กรุ๊ปเองได้เตือนว่า เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มเผชิญกับความเสี่ยงใน Q2/65 เนื่องจากรัฐบาลประกาศใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ (Zero-COVID) เพื่อต่อสู้กับการระบาดของโรคโควิด-19 กรณีล็อกดาวน์เมืองเซิ่นเจิ้นและเซี่ยงไฮ้ ขณะที่ทาง WHO เปิดเผยว่า โควิด-19 สายพันธุ์ย่อย XE ตัวใหม่ล่าสุดของโอมิครอนจะสามารถแพร่เชื้อได้มากกว่า BA.2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนราว 10%

ปัจจัยที่ยังคงต้องจับตาต่อเนื่อง อาทิ กระทรวงพาณิชย์แถลงสถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สภาผู้ส่งออก) แถลงสถานการณ์การส่งออก, การประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.), การรายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 1/65 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์,

สหภาพยุโรป (อียู) รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนมี.ค., สหรัฐเปิดเผยยอดนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าเดือนก.พ. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนมี.ค. และดัชนีภาคการผลิตเดือนมี.ค. , จีนเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมี.ค., อียูเปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนก.พ., สหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุม (เช้าวันที่ 7 เม.ย.) และ จีน เปิดเผยทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือน มี.ค. นอกจากนั้น สหรัฐ จะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ รวมทั้งสถานการณ์ความยืดเยื้อของการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียกับยูเครน และความกังวลเกี่ยวกับ Inverted yield curve ที่สะท้อนภาพเศรษฐกิจสหรัฐที่อาจชะลอตัวได้

แนะนำกลยุทธ์ลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการที่ ศบค.เตรียมประชุมเพื่อหารือการปลดล็อกมาตรการเข้าประเทศทุกเงื่อนไข 1 มิ.ย.นี้ ซึ่งรวมทั้งเลิก ThailandPass, Test&Go ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวมีโอกาสกลับมาคึกคักได้ ซึ่งหุ้นที่ได้อานิสงส์จากปัจจัยบวกดังกล่าวได้แก่ AOT, ERW, CENTEL, MINT และ AWC

ส่วนทิศทางการลงทุนในทองคำ นายณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล. โกลเบล็ก กล่าวว่า ปัจจัยที่ยังกดดันต่อราคาทองคำในขณะนี้ ยังคงเป็นความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน คาดการณ์ว่ารัสเซียจะตรึงกำลังประชิดติดกรุงเคียฟไว้ จึงทำให้สงครามจ่อยืดเยื้อ และตัวประกันที่สำคัญสำหรับรัสเซียคือน้ำมันดิบ ที่ยังมีบทบาทอยู่มากต่อเงินเฟ้อสะท้อนผ่านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐที่ยังทรงตัวระดับสูง หากเฟดยังไม่ส่งสัญญาณเพิ่มเติมที่มากกว่าการขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ในครั้งหน้า สงครามและราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นจะเป็นแรงหนุนทองคำ

ฝ่ายวิจัยประเมินว่าสงครามรัสเซียและยูเครนส่อยืดเยื้อ อีกทั้งเฟดอาจจะยังไม่รีบส่งสัญญาณเชิงลบต่อตลาดเพิ่มเติม โดยเรามีมุมมองบวกต่อทองคำคาดการณ์การเคลื่อนไหวในกรอบ 1,880-1,960 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์ หากย่อตัวไม่หลุดแนวรับทยอยเข้าซื้อสะสม

13074
CWT จับมือ 'DreamerX' ลุยธุรกิจคริปโตฯ มุ่งสร้าง 'Green Bitcoin Mining' จากพลังงานไฟฟ้าเหลือใช้ ปั้น New S Curve 

บมจ.ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป หรือ CWT เดินหน้าเข้าสู่อุตสาหกรรมสกุลเงินดิจิทัล หวังสร้าง New S Curve ส่งบริษัทย่อย 'ชัยวัฒนา กรีน แมนเนจเม้นท์' หรือ cwtGM ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับ DreamerX บริษัท Tech Startup รุ่นใหม่ไฟแรง!! เตรียมสร้างเหมืองขุดบิทคอยน์ 'Green Bitcoin Mining' จากพลังงานไฟฟ้าเหลือใช้ของกล่มฯ คาดเห็นผลการศึกษา-ผลงานออกแบบภายในเดือน เม.ย.นี้ มั่นใจช่วยผลักดันธุรกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

นายวีระพล ไชยธีรัตต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (CWT) เปิดเผยว่า บริษัท ชัยวัฒนา กรีน แมนเนจเม้นท์ จำกัด หรือ cwtGM ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ ร่วมกับ บริษัท ดรีมเมอร์เอ็กซ์ จำกัด (DreamerX) ซึ่งเป็น บริษัท Tech Startup ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการสร้างเครื่องขุด และงานซ่อมบำรุงรักษาได้แบบครบวงจร รวมถึงการให้คำแนะนำในการลงทุนสร้างเหมือง Bitcoin เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาความร่วมมือในธุรกิจอุตสาหกรรมสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เรนซี (cryptocurrency) และคาดว่าจะเห็นผลของการศึกษา ผลการออกแบบภายในเดือนเมษายนนี้

'cwtGM เป็นบริษัทย่อยของกลุ่มบริษัท ชัยวัฒนา กรีน จำกัด หรือ CWTG ซึ่งประกอบธุรกิจในกลุ่มพลังงาน มีการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และมีพลังงานไฟฟ้าเหลือใช้ สามารถนำมาต่อยอดเป็น Green Bitcoin Mining ที่ต้นทุนไฟฟ้าต่ำได้ จึงมีความสนใจในการสร้างเหมืองขุดบิทคอยน์ ประกอบกับ DreamerX เป็น บริษัท Tech Startup ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในอุตสาหกรรมคริบโตฯ เราจึงเชื่อมั่นว่าการลงนามบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ จะถือเป็นการเพิ่มโอกาสในการขยายแผนการลงทุนของบริษัทฯ จากสิ่งที่เรามีอยู่แล้วต่อยอดให้เกิดประโยชน์ คาดจะเห็นการพัฒนาธุรกิจร่วมกันภายในเร็วๆ นี้' นายวีระพล กล่าว

ด้านนายธีรัตต์ ไชยธีรัตต์ กรรมการบริหาร บริษัท ชัยวัฒนา กรีน แมนเนจเม้นท์ จำกัด หรือ cwtGM กล่าวว่า บริษัทฯ ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจอุตสาหกรรมสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เรนซี (cryptocurrency) และการขุดเหมืองบิทคอยน์มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และเห็นว่าการลงทุนในธุรกิจดังกล่าวเป็นการลงทุนในระยะยาว อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้ใหม่ให้แก่บริษัท ประกอบกับบริษัทฯมีกำลังการผลิตส่วนเกินของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ซึ่งสามารถนำมาสร้างประโยชน์ร่วมกันได้ ส่งผลทำให้ต้นทุนค่าไฟซึ่งเป็นต้นทุนหลักของกิจกรรมนี้ลดลงอีกด้วย

'เราเชื่อมั่นว่าการพัฒนาความร่วมมือร่วมกับ DreamerX ในครั้งนี้ จะเป็นการสร้าง New S Curve ให้กับธุรกิจ และเป็นการต่อยอดธุรกิจด้านพลังงานที่มีความแข็งแกร่งอยู่แล้ว และสร้างผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นต่อไป' นายธีรัตต์ กล่าว

ขณะที่ นายสุกฤต วณิชวรากิจ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด บริษัท ดรีมเมอร์เอ็กซ์ จำกัด (DreamerX) กล่าวว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อการพัฒนาความร่วมมือในธุรกิจอุตสาหกรรมสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เรนซี (cryptocurrency) ในครั้งนี้เพื่อพัฒนาโครงการ Green Bitcoin Mining ซึ่งมีความพิเศษเนื่องจากพลังงานที่ใช้ในการขุดเหรียญดิจิทัลเป็นพลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบกับบริษัทฯ มีองค์ความรู้ในอุตสาหกรรมคริบโตฯ ความเชี่ยวชาญทางด้านการสร้างเครื่องขุด และงานซ่อมบำรุงรักษาได้แบบครบวงจร จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถสนับสนุนงานของ CWT และคาดเห็นผลสรุปชัดเจนได้ภายในเร็วนี้เช่นกัน

อนึ่ง กลุ่มบริษัทฯ มีโรงไฟฟ้าที่ขายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ขนาดกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ และมีโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนาคือ โรงไฟฟ้าขยะชุมชน จังหวัดนครสวรรค์ขนาดกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ ปัจจุบันได้สัญญาบริหารจัดการขยะแล้ว 25 ปี และอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานแยกขยะเพื่อเตรียมการต่อยอดเป็นโรงไฟฟ้าขยะชุมชนได้ภายในเร็วๆ นี้

 

13075
จ่ายเบี้ยประกันทุกหมวดกับกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า รับโปรคุ้ม ๆ 3 ต่อ

บัตรเครดิตกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า มอบความคุ้มค่า 3 ต่อให้สมาชิกบัตรฯ เมื่อชำระค่าเบี้ยประกันทุกหมวดที่ร่วมรายการผ่านบัตรเครดิตฯ ตามเงื่อนไข ทั้งประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, ประกันออมทรัพย์, ประกันรถยนต์, ประกันการศึกษา และประกันเดินทาง ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ -30 เมษายน 2565 ต่อที่ 1 : รับเครดิตเงินคืนรวมสูงสุด 1,800 บาท/หมายเลขบัญชีบัตรหลัก/เดือน และ 5,400 บาทตลอดรายการ เมื่อรูดบัตรชำระค่าเบี้ยประกันเต็มจำนวน และมียอดชำระขั้นต่ำตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป/เซลล์สลิป เพียงลงทะเบียนรับสิทธิ์ผ่านแอป UCHOOSE ต่อที่ 2 : พิเศษเฉพาะยอดชำระเบี้ยประกันกรุงไทย แอกซ่า, ไทยประกันชีวิต, เมืองไทยประกันชีวิต, เอฟ ดับบลิว ดี (FWD), ประกันอลิอันซ์ อยุธยา รับสิทธิ์แลกคะแนนเป็นเครดิตเงินคืนสูงสุด 13% หรือ 7,800 บาทตลอดรายการ ตามเงื่อนไขยอดชำระระหว่าง 23 มีนาคม - 30 เมษายน 2565 ต่อที่ 3 : ทุกการใช้จ่ายในหมวดประกัน 25 บาท รับคะแนนสะสมเฟิร์สช้อยส์รีวอร์ด 1 คะแนน ไม่มีจำกัด (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด) พิเศษ! รับสิทธิ์เลือกบริหารค่าใช้จ่ายแบบสมาร์ท 0% สั่งได้ เปลี่ยนยอดรูดบัตรเป็นยอดผ่อนชำระ 0% นาน 3 เดือน

เจดีฟู้ด (JDF) พร้อมเข้าเทรด 7 เม.ย.6

นับถอยหลังอีกไม่กี่วันหุ้นไอพีโอน้องใหม่ป้ายแดง บมจ.เจดีฟู้ด หรือ JDF เตรียมลงกระดานเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) งานนี้ฟันธง!! กระแสตอบรับท่วมท้นแน่นอน หลังเปิดให้จองซื้อหุ้นจำนวน 150 ล้านหุ้น หมดเกลี้ยงภายในไม่กี่อึดใจ ด้านผู้บริหารหญิงคนเก่ง "รัตนา เอี้ยประเสริฐศักดิ์" ส่งสัญญาณพร้อมโยน Big Lot บนกระดานในวันเทรด จำนวน 11 ล้านหุ้น หรือ 1.85% ให้กรรมการและผู้บริหาร หวังสร้างแรงจูงใจ..กลยุทธ์เด็ด!! รอลุ้น 7 เมษายนนี้

13078
ช่างปานกุญแจ ยินดีให้บริการ สนใจติดต่อสอบถามได้ครับ 0851088797

13079
ทริสฯ จัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ชุดใหม่ 1.2 หมื่นลบ.ของ KTC ที่ AA- /Stable

ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันชุดปัจจุบันของ บมจ. บัตรกรุงไทย (KTC) ที่ระดับ "AA-" ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" ในขณะเดียวกันยังจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันชุดใหม่ในวงเงินไม่เกิน 1.2 หมื่นล้านบาท อายุไม่เกิน 10 ปี ของบริษัทที่ระดับ "AA-" ด้วยเช่นกัน

อันดับเครดิตได้รับการปรับเพิ่มขึ้นจากสถานะเครดิตเฉพาะของบริษัท (SACP) ที่ระดับ "a-" เพื่อสะท้อนถึงการที่บริษัทมีสถานะเป็นบริษัทลูกที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของ ธนาคารกรุงไทย (KTB - ซึ่งได้รับการจัดอันดับเครดิตจากทริสเรทติ้งที่ระดับ "AA+/Stable"*)

สถานะเครดิตเฉพาะของบริษัทสะท้อนถึงสถานะทางธุรกิจที่แข็งแกร่งในธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลของบริษัท ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงทางด้านเครดิตที่มีความระมัดระวัง และฐานทุนที่มีความแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตถูกลดทอนลงจากแรงกดดันที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรอันเนื่องมาจากการปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งต้นทุนทางการเงินที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ตลอดจนการแข่งขันที่รุนแรง และภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอ

ประเด็นสำคัญที่กำหนดอันดับเครดิต

บูรณาการระหว่างบริษัทและ KTB เพิ่มมากขึ้น ในมุมมองของทริสเรทติ้งเห็นว่าบริษัทมีฐานะเป็นบริษัทย่อยที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของ KTB ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทในสัดส่วน 49.3% บริษัทมีบทบาทที่ชัดเจนในการเป็นผู้ดำเนินธุรกิจสินเชื่อรายย่อยให้ KTB ซึ่งประกอบไปด้วยการให้บริการสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน และธุรกิจลีสซิ่งรถยนต์ การสนับสนุนทั้งทางด้านการให้วงเงินสินเชื่อและการสนับสนุนทางด้านธุรกิจจาก KTB แสดงให้เห็นถึงความช่วยเหลือที่เข้มแข็งและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ซึ่งทริสเรทติ้งคาดหวังว่าบริษัทจะได้รับความช่วยเหลือดังกล่าวอย่างต่อเนื่องต่อไป
ทริสเรทติ้งยังเห็นว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่บริษัทจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก KTB เมื่อบริษัทตกอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก แม้ว่าจะมีข้อจำกัดในการเพิ่มทุนจาก KTB เนื่องจากเป็นนโยบายของกลุ่มที่จะรักษาสถานะของบริษัทไว้ให้เป็นบริษัทลูกภาคเอกชน

ความร่วมมือทางธุรกิจและระบบบริหารความเสี่ยงของบริษัทได้รับการบูรณาการให้รวมอยู่ในระบบบริหารความเสี่ยงของ KTB ด้วยเช่นกัน นอกจากแผนการตลาดและการใช้ชื่อหรือตราสัญลักษณ์ร่วมกันแล้ว บริษัทยังคงใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสาขาของ KTB ที่มีอยู่ทั่วประเทศในการเสนอผลิตภัณฑ์และให้บริการลูกค้าร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ในปี 2564 บริษัทได้รับเริ่มรับลูกค้าใหม่ผ่านแอพพลิเคชั่นในการทำธุรกรรมทางการเงินของ KTB ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือที่เรียกว่า KTB Next นอกจากนี้ KTB และบริษัทยังได้ถือหุ้นหลายบริษัทร่วมกันในกลุ่มธุรกิจการเงินของ KTB ได้แก่ บริษัท กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด (KTBL) บริษัท เคทีซี พิโก (กรุงเทพฯ) จำกัด บริษัท เคทีซี นาโน จำกัด และ บริษัท เคทีซี พรีเพด จำกัด นอกจากนี้ บริษัทยังถือหุ้น 24% ใน บริษัท กรุงไทยแอดไวซ์เซอรี่ จำกัด ซึ่งถือหุ้นทั้งหมดใน บริษัท อินฟินิธัส บาย กรุงไทย จำกัด ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สร้างเทคโนโลยีทางการเงินให้กับ KTB?

รักษาสถานะทางการตลาดที่เข้มแข็ง บริษัทมีสถานะทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง และคาดว่าจะช่วยให้บริษัทสามารถรักษาสถานะการตลาดที่แข็งแกร่งในธุรกิจหลักของบริษัท อันได้แก่ ธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลเอาไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากจุดแข็งในด้านการตลาดและแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ถึงแม้ว่าอัตราการเติบโตของสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลจะชะลอตัวลงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่บริษัทยังคงรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดที่ระดับ 13% ของสินเชื่อบัตรเครดิตและ 5% ของสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่รวมสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์เอาไว้ได้ ณ สิ้นปี 2564
เงินให้สินเชื่อคงค้างของบริษัทเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 9.26 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นปี 2564 ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโตที่ระดับ 3% จากปีก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักมาจากการรวมสินเชื่อเช่าซื้อเพิ่มเข้ามา 3.2 พันล้านบาท ในขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิตยังคงอยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลปรับลดลง 2% จากปีก่อน เนื่องจากนโยบายในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเข้มงวดมากขึ้นอันเนื่องมาจากความกังวลในคุณภาพสินทรัพย์ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของบริษัทในปี 2564 อยู่ที่ระดับ 1.957 แสนล้านบาท (หรือคิดเป็นส่วนแบ่งทางการตลาดที่ระดับ 12% ของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในอุตสาหกรรม) ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับปีก่อนเนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำ

บริษัทมีเป้าหมายเชิงรุกที่จะขยายเงินให้สินเชื่อรวมของบริษัทตั้งแต่ปี 2565 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความพยายามทางการตลาดและการขยายฐานลูกค้าใหม่ บริษัทมีเป้าหมายในการออกบัตรเครดิตใหม่จำนวน 250,000 บัตรในปี 2565 โดยมุ่งเน้นไปยังกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูงขึ้น ทริสเรทติ้งคาดว่าปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะกลับมาดีขึ้นโดยจะขยายตัวที่ระดับ 8% ต่อปีในช่วงปี 2565-2567 อันเป็นผลมาจากแนวโน้มเศรษฐกิจภายในประเทศที่ฟื้นตัวและความร่วมมือกับพันธมิตรมากขึ้นเพื่อกระตุ้นปริมาณการใช้จ่าย สำหรับการขยายฐานสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น บริษัทจะให้ความสำคัญกับกลุ่มฐานลูกค้าที่มีรายได้ที่สูงขึ้นรวมทั้งฐานลูกค้าเดิมที่ยังใช้วงเงินเบิกถอนไม่เต็มจำนวน และมีเป้าหมายที่จะขยายฐานลูกค้าใหม่อีกจำนวน 106,000 บัญชีในปี 2565

พอร์ตสินเชื่อกระจายตัวมากขึ้น ตั้งแต่ปี 2563 บริษัทได้เริ่มกระจายความเสี่ยงของสินเชื่อโดยการขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันภายใต้แบรนด์ "เคทีซี พี่เบิ้ม" ภายหลังจากช่วง 2 ปีที่บริษัทมีการอนุมัติสินเชื่ออย่างระมัดระวังเพื่อสร้างความมั่นใจถึงการควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม บริษัทมีแผนจะขยายสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันอย่างก้าวกระโดดในปี 2565 ภายใต้สมมติฐานกรณีพื้นฐานของทริสเรทติ้งคาดว่ายอดปล่อยสินเชื่อใหม่จะอยู่ที่ระดับ 5 พันล้านบาทในปี 2565 จากระดับสินเชื่อคงค้างที่มีอยู่แล้วประมาณ 500 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2564
ทริสเรทติ้งเชื่อว่าบริษัทจะบรรลุเป้าหมายในการปล่อยสินเชื่อจากการเสนอผลิตภัณฑ์และให้บริการลูกค้าผ่านเครือข่ายประมาณ 950 สาขาของ KTB ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 และคาดว่าสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันของบริษัทจะเติบโตอย่างต่อเนื่องต่อไปโดยจะเติบโตอยู่ที่ระดับ 20%-50% ต่อปีในช่วงระหว่างปี 2566-2567

ในขณะที่ธุรกิจลีสซิ่งที่ดำเนินการผ่าน KTBL ก็ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนการกระจายตัวของสินเชื่อของบริษัทในระยะยาว ถึงแม้ว่ายังไม่ได้มีการปล่อยสินเชื่อใหม่เพิ่มเติมภายหลังจากบริษัทซื้อหุ้น 75% ใน KTBL มาจาก KTB อันเป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างภายในกลุ่มธุรกิจการเงินในปี 2564 หากบริษัทสามารถผลักดันการเติบโตของ KTBL ได้เพิ่มเติมก็จะช่วยเพิ่มการกระจายตัวของธุรกิจมากขึ้นด้วย ทริสเรทติ้งคาดว่า สินเชื่อของ KTBL จะเติบโตที่ระดับ 5%-10% ต่อปีในช่วงระหว่างปี 2565-2567 โดยเป็นส่วนหนึ่งของสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันของเคทีซี พี่เบิ้มซึ่งมีการบันทึกผ่าน KTBL

การบริหารความเสี่ยงอย่างระมัดระวังเป็นปัจจัยสนับสนุนคุณภาพสินทรัพย์ ทริสเรทติ้งคาดหวังว่าบริษัทจะยังคงรักษาคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีจากนโยบายการอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดและกระบวนการจัดเก็บหนี้ที่มีประสิทธิภาพโดยอัตราส่วนลูกหนี้ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต หรือลูกหนี้ชั้นที่ 3 (NPL) ต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio) เพิ่มขึ้นเป็น 3.6% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 จาก 1.8% ในปี 2563 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการควบรวม KTBL เข้ามา ในขณะที่ NPL Ratio ของลูกหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลอยู่ในระดับ 1.2% และ 2.9% ตามลำดับและยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ทริสเรทติ้งคาดว่า NPL Ratio จะอยู่ระดับต่ำกว่า 3% ในระหว่างปี 2565-2567 จากการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของสินเชื่อ
ขณะที่ NPL Ratio ของสินเชื่อเช่าซื้อจาก KTBL ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างสูงที่ 54% นั้น คาดว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากคุณภาพที่ดีขึ้นของลูกหนี้รายใหม่ที่รับเพิ่มเติมเข้ามา อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อลูกหนี้ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (NPL Coverage) ของบริษัทลดลงมาอยู่ที่ระดับ 292% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 จาก 460% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นผลมาจาก NPL ที่ค่อนข้างสูงของ KTBL ในปี 2564 อัตราส่วนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ต่อเงินให้สินเชื่อถัวเฉลี่ยลดลงเป็น 6% จากระดับเฉลี่ย 7.6% ในปี 2561-2563 ซึ่งเป็นผลมาจากคุณภาพของสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ปรับตัวดีขึ้น ทริสเรทติ้งประมาณการว่าอัตราส่วนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อถัวเฉลี่ยจะยังคงอยู่ที่ระดับ 6% ในระหว่างปี 2565-2567 ในขณะที่ NPL Coverage ยังคงรักษาให้อยู่ในระดับมากกว่า 300%

การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยรับและควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานช่วยสนับสนุนความสามารถในการทำกำไร ทริสเรทติ้งคาดว่าบริษัทจะรักษาความสามารถในการสร้างผลกำไรในระดับปานกลางเอาไว้ได้ โดยใช้วิธีบริหารจัดการผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมถึงส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ บริษัทมีกำไรสุทธิจำนวน 5.79 พันล้านบาทในปี 2564 เพิ่มขึ้น 9% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าโดยมีสาเหตุหลักมาจากผลขาดทุนด้านเครดิตที่ลดลง ถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยรับจะลดลงอันเนื่องมาจากเพดานอัตราดอกเบี้ยรับที่ต่ำลงตามเกณฑ์การประกอบธุรกิจจากหน่วยงานกำกับดูแลและการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมก็ตาม โดยความสามารถในการสร้างผลกำไรของบริษัทซึ่งวัดจากอัตราส่วนกำไรก่อนภาษีเงินได้ต่อสินทรัพย์เสี่ยงถัวเฉลี่ย (EBT/ARWA) นั้นอยู่ในระดับปานกลางที่ 4.9% ในปี 2564 ปรับตัวดีขึ้นจาก 4.5% ในปี 2563
ทริสเรทติ้งประมาณการว่า EBT/ARWA จะยังคงอยู่ที่ระดับประมาณ 4.6%-4.8% ในระหว่างปี 2565-2567 และคาดว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่ายจะปรับลดลงเพียงเล็กน้อย ถึงแม้ว่าต้นทุนทางการเงินจะเพิ่มขึ้น แต่การขยายธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยรับสูงกว่าจะช่วยเพิ่มอัตราดอกเบี้ยรับโดยรวมให้มากกว่าระดับ 14.9% ในปี 2564 ได้ ทางด้านค่าใช้จ่ายทริสเรทติ้งคาดว่าอัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้รวมของบริษัทจะอยู่ที่ระดับประมาณ 34%-35% ในระหว่างปี 2565?2567 จากการใช้จ่ายทางด้านการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ

ฐานทุนยังคงแข็งแกร่ง บริษัทมีระดับฐานทุนที่ค่อนข้างแข็งแกร่งโดยประเมินจากอัตราส่วนเงินทุนที่ปรับความเสี่ยง (RAC Ratio) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 บริษัทมี RAC Ratio ที่ระดับ 18.2% ในมุมมองของทริสเรทติ้ง ฐานทุนของบริษัทยังคงอยู่ในระดับที่เพียงพอสำหรับแผนการขยายธุรกิจในระยะปานกลาง โดยผลกำไรที่ดีอย่างต่อเนื่องและนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่มีความระมัดระวังจะทำให้ฐานทุนของบริษัทมีความเข้มแข็งต่อไป ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งคาดการณ์ว่าบริษัทจะรักษาฐานทุนให้มีความแข็งแกร่งโดยมี RAC Ratio อยู่ที่ระดับ 18.1%-20.6% ในช่วงระหว่างปี 2566-2567 ภายใต้สมมติฐานว่าอัตราการขยายตัวของสินเชื่อของบริษัทจะเติบโตในอัตราเฉลี่ย 6%-11% ต่อปีในช่วงระหว่างปี 2566-2567 และอัตราการจ่ายเงินปันผลตามนโยบายของบริษัทจะอยู่ที่ระดับ 40% บริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 2.3 เท่า ณ สิ้นปี 2564 ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขทางการเงินที่บริษัทต้องดำรงอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนไม่ให้เกิน 10 เท่า
มีสถานะแหล่งเงินทุนและสภาพคล่องอยู่ในระดับที่เพียงพอ ทริสเรทติ้งประเมินว่าบริษัทมีสถานะเงินทุนและสภาพคล่องอยู่ในระดับที่เพียงพอ การที่บริษัทสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ทั้งจากตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุน รวมทั้งวงเงินสินเชื่อที่มีกับสถาบันการเงินอีกหลายแห่งก็ยังเพียงพอและเป็นแหล่งระดมเงินทุนที่หลากหลายที่จะช่วยรองรับการเติบโตของบริษัท นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับวงเงินสินเชื่อที่เพียงพอจาก KTB เพื่อช่วยลดทอนความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของบริษัทอีกด้วย โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 วงเงินสินเชื่อในสัดส่วน 71% ของวงเงินสินเชื่อจำนวนทั้งสิ้น 3.37 หมื่นล้านบาทของบริษัทนั้นเป็นวงเงินที่ได้รับจาก KTB ในส่วนของโครงสร้างเงินทุนนั้น ณ สิ้นปี 2564 หนี้สินทางการเงินระยะสั้นมีสัดส่วนคิดเป็น 34% ของหนี้สินทางการเงินรวมของบริษัทซึ่งลดลงจาก 39% ในปี 2563 ณ วันที่ 4 เมษายน 2565 บริษัทมีหุ้นกู้ระยะยาวคงค้างจำนวน 4.59 หมื่นล้านบาท โดย 8.5 พันล้านบาทจากจำนวนดังกล่าวจะถึงกำหนดไถ่ถอนในปี 2565 ซึ่ง
บริษัทมีแผนรองรับการออกหุ้นกู้ใหม่เพื่อทดแทนหุ้นกู้ชุดเก่าแล้ว แรงกดดันจากสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมยังคงมีต่อเนื่อง ถึงแม้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นภายหลังการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของโรคโควิด 19 ตั้งแต่ปลายปี 2564 แต่ธุรกิจสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคทั้งบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลก็ยังไม่ฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นผลมาจากทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย โดยปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตค่อนข้างคงที่ในปี 2564 ที่ระดับ 1.65 ล้านล้านบาทจากที่ปรับตัวลดลง 12.8% ในปี 2563 ในขณะที่ยอดคงค้างของบัตรเครดิตในอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 1.9% ในปี 2564
คุณภาพสินทรัพย์ทั้งในส่วนของบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลฟื้นตัวเล็กน้อย โดย NPL Ratio สำหรับสินเชื่อบัตรเครดิตทั้งระบบอยู่ที่ 1.8% ณ สิ้นปี 2564 ปรับตัวดีขึ้น จาก 1.9% ณ สิ้นปี 2563 ขณะที่ NPL Ratio ของสินเชื่อส่วนบุคคลซึ่งไม่รวมสินเชื่อจำนำทะเบียนรถปรับลดลงเป็น 3.1% ในปี 2564 จาก 3.5% ในปี 2563 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีอย่างต่อเนื่อง ในมุมมองของทริสเรทติ้งคุณภาพสินทรัพย์ทั้งระบบยังคงมีความเปราะบางและมีแนวโน้มอ่อนแอลงภายหลังจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สิ้นสุดลง นอกจากนี้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยังคงได้รับแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่เรียกเก็บจากลูกหนี้ การเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงิน และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การกระจายตัวไปยังธุรกิจอื่น ๆ เพื่อช่วยลดแรงกดดันจากการสร้างรายได้ยังคงเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม

สมมติฐานกรณีพื้นฐาน

สมมติฐานกรณีพื้นฐานของทริสเรทติ้งสำหรับการดำเนินงานของบริษัทในระหว่างปี 2565-2567 มีดังนี้

สินเชื่อรวมคงค้างของบริษัทจะเติบโตในอัตราเฉลี่ย 6%-11% ต่อปี
อัตราผลตอบแทนด้านดอกเบี้ยรับจะอยู่ในช่วง 14.8%-14.9%
ต้นทุนทางการเงินจะอยู่ในช่วง 2.5%-2.8%
ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อถัวเฉลี่ยจะอยู่ที่ระดับ 6%-6.3%
แนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" สะท้อนถึงความคาดหวังของทริสเรทติ้งว่าบริษัทจะยังคงรักษาสถานะทางการตลาดของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเอาไว้ได้ ทั้งนี้ แนวโน้มอันดับเครดิตยังสะท้อนความคาดหวังของทริสเรทติ้งด้วยว่าฐานทุนและความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจะอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งและคุณภาพสินทรัพย์ของบริษัทจะยังคงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้อีกด้วย

ปัจจัยที่อาจทำให้อันดับเครดิตเปลี่ยนแปลง

อันดับเครดิตเฉพาะของบริษัทอาจได้รับการปรับเพิ่มขึ้นหากฐานทุนมีความแข็งแกร่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดย RAC Ratio อยู่ในระดับเกินกว่า 25% อย่างต่อเนื่อง ในทางตรงกันข้าม การปรับลดอันดับเครดิตและ/หรือแนวโน้มอันดับเครดิตเฉพาะของบริษัทอาจเกิดขึ้นได้หาก RAC Ratio อยู่ในระดับต่ำกว่า 12% หรือคุณภาพสินทรัพย์ถดถอยลงอย่างมีนัยสำคัญจนส่งผลกระทบทำให้อัตราส่วนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อถัวเฉลี่ยเพิ่มสูงเกินกว่า 10%

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงระดับการให้การสนับสนุนที่ KTB มีต่อบริษัท หรือมุมมองของทริสเรทติ้งต่อสถานะของบริษัทในการเป็นบริษัทย่อยที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของธนาคารกรุงไทยเปลี่ยนแปลงไปก็จะมีผลกระทบต่ออันดับเครดิตและ/หรือแนวโน้มอันดับเครดิตของบริษัทได้ด้วยเช่นกัน

13080
ห้องซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยนของจิปาถะ / GLOBLEX
« เมื่อ: เมษายน 08, 2022, 12:50:53 am »
GLOBLEX คาด SET แกว่งแคบกรอบ 1,680-1,720 จับตา ศบค.ปลดล็อกมาตรการเข้าประเทศ

บล.โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยยังแกว่งตัวแคบขาดปัจจัยใหม่หนุน ขณะที่สถานการณ์รัสเซียและยูเครนยังไร้แววยุติ บวกความกังวลภาวะ Inverted yield curve ที่คุกรุ่นมากขึ้น จึงให้กรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีที่ 1,680-1,720 จุด พร้อมแนะกลยุทธ์ลงทุนใน 5 หุ้นรับอานิสงส์ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เตรียมหารือปลดล็อกมาตรการเข้าประเทศ 1 มิ.ย.65

นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็ก (GBS) ประเมินทิศทางตลาดหุ้นว่ายังแกว่งตัวผันผวนในกรอบแคบ โดยยังขาดปัจจัยใหม่เข้าหนุนตลาด ขณะที่ Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติยังไหลเข้าต่อเนื่อง และราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงเป็นผลดีต่อต้นทุนของบริษัทจดทะเบียน ทำให้คาดการณ์การเคลื่อนไหวของดัชนีอยู่ในกรอบ 1,680-1,720 จุด

ขณะที่ Fed Watch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนักมากถึง 73.3% ที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมวันที่ 3-4 พ.ค.65 ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 431,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 490,000 ตำแหน่ง ส่วนดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน มี.ค.ของจีนลดลงสู่ระดับ 48.1 จากระดับ 50.4 ในเดือน ก.พ.65 โดยดัชนี PMI เดือน มี.ค.65 หดตัวลงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.63

ด้านมอร์แกน สแตนลีย์ ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของจีนในปี 65 ส่วนซิตี้ กรุ๊ปเองได้เตือนว่า เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มเผชิญกับความเสี่ยงใน Q2/65 เนื่องจากรัฐบาลประกาศใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ (Zero-COVID) เพื่อต่อสู้กับการระบาดของโรคโควิด-19 กรณีล็อกดาวน์เมืองเซิ่นเจิ้นและเซี่ยงไฮ้ ขณะที่ทาง WHO เปิดเผยว่า โควิด-19 สายพันธุ์ย่อย XE ตัวใหม่ล่าสุดของโอมิครอนจะสามารถแพร่เชื้อได้มากกว่า BA.2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนราว 10%

ปัจจัยที่ยังคงต้องจับตาต่อเนื่อง อาทิ กระทรวงพาณิชย์แถลงสถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สภาผู้ส่งออก) แถลงสถานการณ์การส่งออก, การประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.), การรายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 1/65 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์,

สหภาพยุโรป (อียู) รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนมี.ค., สหรัฐเปิดเผยยอดนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าเดือนก.พ. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนมี.ค. และดัชนีภาคการผลิตเดือนมี.ค. , จีนเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมี.ค., อียูเปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนก.พ., สหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุม (เช้าวันที่ 7 เม.ย.) และ จีน เปิดเผยทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือน มี.ค. นอกจากนั้น สหรัฐ จะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ รวมทั้งสถานการณ์ความยืดเยื้อของการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียกับยูเครน และความกังวลเกี่ยวกับ Inverted yield curve ที่สะท้อนภาพเศรษฐกิจสหรัฐที่อาจชะลอตัวได้

แนะนำกลยุทธ์ลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการที่ ศบค.เตรียมประชุมเพื่อหารือการปลดล็อกมาตรการเข้าประเทศทุกเงื่อนไข 1 มิ.ย.นี้ ซึ่งรวมทั้งเลิก ThailandPass, Test&Go ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวมีโอกาสกลับมาคึกคักได้ ซึ่งหุ้นที่ได้อานิสงส์จากปัจจัยบวกดังกล่าวได้แก่ AOT, ERW, CENTEL, MINT และ AWC

ส่วนทิศทางการลงทุนในทองคำ นายณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล. โกลเบล็ก กล่าวว่า ปัจจัยที่ยังกดดันต่อราคาทองคำในขณะนี้ ยังคงเป็นความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน คาดการณ์ว่ารัสเซียจะตรึงกำลังประชิดติดกรุงเคียฟไว้ จึงทำให้สงครามจ่อยืดเยื้อ และตัวประกันที่สำคัญสำหรับรัสเซียคือน้ำมันดิบ ที่ยังมีบทบาทอยู่มากต่อเงินเฟ้อสะท้อนผ่านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐที่ยังทรงตัวระดับสูง หากเฟดยังไม่ส่งสัญญาณเพิ่มเติมที่มากกว่าการขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ในครั้งหน้า สงครามและราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นจะเป็นแรงหนุนทองคำ

ฝ่ายวิจัยประเมินว่าสงครามรัสเซียและยูเครนส่อยืดเยื้อ อีกทั้งเฟดอาจจะยังไม่รีบส่งสัญญาณเชิงลบต่อตลาดเพิ่มเติม โดยเรามีมุมมองบวกต่อทองคำคาดการณ์การเคลื่อนไหวในกรอบ 1,880-1,960 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์ หากย่อตัวไม่หลุดแนวรับทยอยเข้าซื้อสะสม

13081
ช่างกุญแจ ยินดีให้บริการ ตลอด 24 ชม ครับ  สนใจติดต่อ โทร 0851088797

13082
ดอลลาร์แข็งค่าสอดคล้องบอนด์ยีลด์ดีดตัว เก็งเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย

ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในวันนี้ สอดคล้องกับการดีดตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แม้สหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานที่ต่ำกว่าคาด

ณ เวลา 23.38 น.ตามเวลาไทย ดอลลาร์แข็งค่า 0.61% สู่ระดับ 123.53 เยน ขณะที่ยูโรปรับตัวขึ้น 0.14% สู่ระดับ 134.88 เยน และร่วงลง 0.47% สู่ระดับ 1.092 ดอลลาร์ ส่วนดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน บวก 0.36% สู่ระดับ 99.36

นักลงทุนเพิ่มการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมครั้งต่อไปในเดือนพ.ค.

ทั้งนี้ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักมากกว่า 75% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมวันที่ 3-4 พ.ค. เพิ่มขึ้นจากระดับ 32.9% ก่อนหน้านี้

หากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมดังกล่าวตามที่มีการคาดการณ์ไว้ ก็จะเป็นครั้งแรกของเฟดที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% นับตั้งแต่ปี 2543

นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ส่งสัญญาณเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยระบุว่า อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงเกินไป ซึ่งหากจำเป็น เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 0.25% ในการประชุมหนึ่งครั้งหรือหลายครั้ง

นอกจากนี้ นักลงทุนจับตารายงานการประชุมของเฟดประจำเดือนมี.ค.ที่จะมีการเปิดเผยในวันพรุ่งนี้เพื่อหาทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด

13083
เอเซีย พลัส ประเมิน 2Q65 'ตลาดหุ้นไทยมีชัย เหนือดอกเบี้ยและสงคราม' แนะนำลงทุนหุ้นฟื้นตัวตามเศรษฐกิจในประเทศและหุ้นที่ได้แรงหนุนจากต้นทุน Commodity เริ่มชะลอลง

สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (ASPS) ในกลุ่มบริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASP ประเมินภาพรวมการลงทุนในช่วงไตรมาส 2 ปี 2565 โดยเชื่อว่าประเด็นความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ในเชิงสงครามทางกายภาพได้ถูกดูดซับไปในราคาหุ้นแล้ว ด้านความเสี่ยงจากสงครามทางเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายการเงินของ FED ยังที่เป็นสิ่งที่ต้องจับตา แต่กำไรบริษัทจดทะเบียนไทยปี 2565 และการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย จะทำให้ตลาดหุ้นไทยมีความได้เปรียบเมื่อเทียบประเทศอื่นๆ โดย ASPS คงเป้าหมายดัชนีไว้ที่ 1810 จุด

คุณเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่ายังมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทย มองความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนยังมีอยู่แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าดัชนีตลาดหุ้นโลกรวมถึงไทยเราได้กลับมาสู่ก่อนจุดเกิดสงครามแล้วสะท้อนถึงนักลงทุนดูดซับต่อสงครามทางกายภาพไปแล้ว แต่สงครามทางเศรษฐกิจถือเป็นความเสี่ยงในระยะถัดไป โดยเฉพาะในฝั่งรัสเซียที่เป็นผู้ส่งออกพลังงานและวัตถุดิบตั้งต้นของหลายอุตสาหกรรม ซึ่งผลที่ตามมาจะกระทบต่อปริมาณการค้าโลกและเงินเฟ้อตามมา

ส่วนนโยบายการเงินของ FED เชื่อว่าจะเห็นการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยฯ ในการประชุมรอบถัดไปเดือน พ.ค. แต่สิ่งที่ให้น้ำหนักมากกว่าการส่งสัญญาณการปรับลดขนาดงบดุลที่ถือเป็นการดึงสภาพคล่องออกจากระบบ จากปัจจุบันขนาดงบดุลของ FED อยู่ในระดับสูงถึง 9 ล้านล้านเหรียญฯหรือคิดเป็นสัดส่วน 38.8% ต่อ GDP สหรัฐฯ หากส่งสัญญาณการปรับเร็วจนเกินไปอาจสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้น แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเป็นปัจจัยที่จำกัดโอกาสการเร่งดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ FED ในระดับหนึ่ง

คุณเทิดศักดิ์ กล่าวต่อว่า 'หนึ่งในสัญญาณที่สะท้อนความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯในระยะถัดไปคือการเกิด Inverted Yield ในตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯอายุ 2 และ 10 ปี ที่ในอดีตที่ผ่านมามักจะเป็นการชี้นำต่อการเข้าสู่ภาวะ Recession ในช่วง 9-14 เดือนข้างหน้า ซึ่งหากเกิดขึ้นมักจะสร้างความผันผวนต่อสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามในตลาดตราหนี้ไทยยังไม่เกิดภาวะดังกล่าว ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ยังอยู่ในภาวะฟื้นตัวโดยเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยฯยังอยู่ในระดับต่ำจนถึงปลายปีทำให้แรงกดดันจะเป็นแค่ช่วงสั้นๆ'

ด้านภาพรวมกำไรบริษัทจดทะเบียนไทยปี 2565 ยังมีความได้เปรียบประเทศอื่นๆ จากหลาย Sector ที่คาดว่าจะฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำและยังมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากราคาน้ำมันที่ยืนในระดับสูงกว่าปกติ หนุน EPS65F มี Upside ส่วนเพิ่มราว 4 ถึง 5 บาท/หุ้น โดยฝ่ายวิจัยประเมิน EPS65F ไว้ที่ 88.9 บาท/หุ้น

หากพิจารณามุม Valuation ถือว่าน่าสนใจเพราะอยู่บนระดับ Market Earning Yield Gap (MEYG) ที่ 4.6% (สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต) ซึ่งถือว่าสูงกว่าตลาดหุ้นโลก ถือเป็นจุดดึงดูด Fund Flow ทั้งในและต่างประเทศ โดยคาดการณ์ทิศทาง SET Index เดือน เม.ย. 65 แกว่งในกรอบ 1660-1750 จุด พร้อมคงเป้า SET Index ณ สิ้นปี 65 ที่ 1810 จุด กลยุทธ์ แนะนำสะสมหุ้นฟื้นตัวตามเศรษฐกิจในประเทศ MAJOR, AEONTS หุ้นได้แรงหนุนจากต้นทุนอิงตามราคา Commodity เริ่มชะลอลง GPSC, SAPPE และหุ้นขนาดใหญ่พื้นฐานแข็งแกร่ง SCC, LH

โอกาสและช่องทางการลงทุนในเวียดนาม
คุณกฤตยภรณ์ ธาดาสีห์ หัวหน้าฝ่ายลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศ บล.เอเซีย พลัส มองว่า หากมองถึงโอกาสการลงทุนที่เติบโตได้ดีในอาเซียน เวียดนามถือเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวได้ 6-7% ต่อปี สูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค แม้ว่าช่วงปี 2020 หลายๆ ประเทศได้รับผลกระทบเชิงลบจาก Covid-19 ส่งผลให้ GDP หดตัว ทั้งนี้ ในช่วงขณะเดียวกัน เศรษฐกิจเวียดนามแข็งแกร่งขยายตัวได้ 2.9% ซึ่งปัจจัยหลักที่สนับสนุนให้เวียดนามโตนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่จำนวนประชากรเกือบร้อยล้านคน อายุน้อย เป็นวัยแรงงานและวัยบริโภค ช่วยเสริมภาคการบริโภคจำเป็นและฟุ่มเฟือยให้เติบโตได้ในระยะยาว รวมถึงเวียดนามยังถือเป็นแหล่งการผลิตชั้นดี แรงงานมีประสิทธิภาพและค่าแรงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างถูก ประกอบกับ เวียดนามได้เข้าร่วมเขตการค้าเสรีมากมาย ส่งผลให้เหล่าแบรนด์ดังระดับโลกต่างตบเท้าเข้ามาลงทุนและตั้งฐานการผลิตที่เวียดนาม ไม่ว่าจะเป็น Apple Samsung หรือ Nike ก็ตาม

ในด้านของตลาดหุ้น ตลาดหุ้นเวียดนามมีลักษณะคล้ายกับตลาดหุ้นไทยในเชิงของกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก เช่น กลุ่มอสังหาฯ กลุ่มบริโภค และกลุ่มธนาคารและการเงิน ในด้านของผลตอบแทน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ดัชนีหลักของเวียดนามอย่าง VNindex ปรับตัวขึ้น 109% สูงกว่าดัชนีหุ้นโลกที่ปรับตัวขึ้น 58%

สำหรับนักลงทุนที่อาจจะยังไม่เคยลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามมาก่อน การลงทุนที่เรียกได้ว่าง่ายและสะดวกคือการลงทุนผ่าน ETF ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นโฮจิมินห์ หากต้องการลงทุนยาวล้อไปกับเศรษฐกิจเวียดนาม การลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ล้อไปกับดัชนี VN 30 (คล้ายกับดัชนี SET 50 ของไทย) ถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสม โดยเป็นการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องสูง 30 ตัวแรก และเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจที่นักลงทุนไทยคุ้นเคย เช่น ธนาคาร อสังหาฯ อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

เตรียมตัวปรับพอร์ตรับความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
คุณภาดร สุขสวัสดิ์ หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์การลงทุนและผลิตภัณฑ์ บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า 'อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ณ ปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมาจากการใช้นโยบาย 'Zero-Covid' ของประเทศจีน ที่ประกาศปิดเมืองในบางหัวเมืองเป็นระยะตลอดช่วงไตรมาส 1 และจากสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยทำให้มีการคาดการณ์ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในรอบนี้จะมีการปรับขึ้นในระดับที่เร็วกว่ารอบเศรษฐกิจที่ผ่านๆ มา เราจึงมองว่า เศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ช่วงปลายวัฎจักร แม้ว่าเศรษฐกิจยังคงเติบโตอยู่ แต่จะเติบโตในอัตราที่ช้าลง'

ดังนั้น จึงแนะนำให้เลือกลงทุนใน หุ้นกลุ่มคุณภาพขนาดใหญ่ (Quality Growth) ที่มีกำไรเติบโตต่อเนื่อง งบการเงินแข็งแกร่ง กองทุนแนะนำ MGFGA, KKP GNP-H และ TMBGQG และรวมไปถึง หุ้นกลุ่มปลอดภัย (Defensive) ที่มักทำผลตอบแทนได้ดีในช่วงปลายวักฎจักรเศรษฐกิจ เช่น SCBPGF และ KFHHCARE-A

13084
ASP มอง SET Q2/65 แกว่งขึ้นแต่กังวล Inverted Yield Curve-สงครามยูเครนกดดัน

นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานวิจัย บล.เอเชีย พลัส กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาส 2/65 มองว่ายังมีโอกาสแกว่งตัวขึ้นได้ แม้จะไม่ได้ปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่จะเป็นการแกว่งตัวขึ้นที่ชะลอลง และระหว่างทางอาจจะมีแรงกดดันเข้ามาทำให้ดัชนีย่อตัวลงมาได้ โดยที่ปัจจุบันยังคงมีปัจจัยกดดันต่อการลงทุนในตลาดหุ้นจากภาวะ Inverted Yield Curve ที่เป็นปัจจัยสะท้อนภาพของเศรษฐกิจที่มีโอกาสเกิดการ Recession ที่ภาพรวมเศรษฐกิจโลกอาจกลับมาชะลอตัวอีกครั้ง โดยจะเห็นว่าเริ่มมีการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจออกมากันมากขึ้น

ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยกดดันต่อเนื่องจากสงครามรัสเซียและยูเครนที่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันและราคาต้นทุนการผลิตต่างๆ ให้ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะผลักดันให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น และอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกไปแล้วในการประชุมเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา และกระทบต่อต้นทุนของบริษัทจดทะเบียนให้เพิ่มสูงขึ้น กดดันต่อความสามารถในการทำกำไรให้ลดลงไปมาก เป็นปัจจัยที่เข้ามารบกวนการลงทุนในตลาดหุ้นในระยะสั้น

ด้านนักลงทุนสถาบันจากการสำรวจของ บล.เอเซีย พลัส ทั้งหมด 21 สถาบัน พบว่าส่วนใหญ่กลับมาถือครองเงินสดเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ถือเงินสดไว้ราว 20% เพิ่มมาเป็น 30% เนื่องจากยังไม่มั่นใจต่อสถานการณ์และความไม่แน่นอนของปัจจัยต่างๆ รวมถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจที่มีโอกาสกลับมาชะลอตัว จึงเลือกถือเงินสดเพื่อรอดูทิศทางต่างๆ ให้มีความชัดเจน และอยู่ระหว่างการหาจังหวะกลับเข้าไปลงทุนอีกครั้ง ซึ่งปัจจัยในส่วนของนักลงทุนสถาบันที่ยังชะลอการลงทุน ทำให้ตลาดหุ้นยังขาดปัจจัยหนุนในการปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะสั้น

หากมองมาที่ตลาดหุ้นไทยนั้นบล.เอเซีย พลัส มองว่าผลกระทบในด้านการชะลอตัวของเศรษฐกิจมีค่อนข้างจำกัด แม้ว่าจะมีการปรับประมาณการตัวเลข GDP ลงมาแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังมีการฟื้นตัวที่ช้ากว่าประเทศอื่นๆที่เศรษฐกิจกลับเข้าไปใกล้ช่วงก่อนโควิด-19 หรือเกินช่วงก่อนโควิด-19 ไปแล้ว ทำให้ Downside risk ด้านการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่กระทบต่อตลาดหุ้นไทยยังค่อนข้างจำกัด

ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยยังคาดว่าอยู่ในระดับที่ต่ำต่อเนื่อง เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจไว้ ทำให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไม่ได้รับผลกระทบมาก และยังมีความสามารถในการทำกำไรที่ดี รวมถึงการผ่อนคลายเปิดประเทศ และการที่ไม่ได้มีการล็อกดาวน์ ทำให้มีนักท่องเที่ยวเริ่มกลับเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น และประชาชนยังคงทำงานมีรายได้ ทำให้มีกำลังซื้อกลับมา กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีแรงกดดันเข้ามาจากต้นทุนและค่าครองชีพที่สูงขึ้นก็ตาม แต่ถือว่ากระทบต่อภาพรวมของกำลังซื้อไม่มากอย่างมีนัยสำคัญ

ด้านกำไรบริษัทจดทะเบียนในปี 65 บล.เอเซีย พลัส ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อกำไรต่อหุ้น (EPS) ที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับปัจจัยบวกด้านราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นสูงจะเข้ามาช่วยหนุนต่อ EPS ในปีนี้ค่อนข้างมาก ซึ่งหากรวมปัจจัยบวกด้านราคาน้ำมันที่เร่งตัวขึ้นสูงนั้นจะทำให้ประมาณการ EPS ของตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้นเป็น 93.9 บาท/หุ้น จากเดิมที่ 88.9 บาท/หุ้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 86.2 บาท/หุ้น สะท้อนภาพว่าบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยยังมีความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้นได้อยู่ในภาวะที่มีแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกเข้ามา

นอกจากนี้บล.เอเซีย พลัส มองว่าเงินสดจากนักลงทุนสถาบันที่ถือครองอยู่ในสัดส่วนค่อนข้ามาก จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เข้ามาช่วยหนุนต่อการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ เพราะเม็ดเงินจากนักลงทุนสถาบันที่ไหลเข้ามานั้นจะเน้นไปที่การลงทุนในตลาดหุ้นที่กำไรบริษัทจดทะเบียนยังมีความสามารถในการเติบโตได้อยู่ และเป็นตลาดหุ้นที่ยังให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลในระดับที่ดี ซึ่งตลาดหุ้นไทยถือว่าเป็นหนี่งในตลาดหุ้นที่น่าจะมีโอกาสที่เม็ดเงินของนักลงทุนสถาบันจะเข้ามาช่วยหนุนในครึ่งปีหลังนี้ ซึ่งทางบล.เอเซีย พลัส ยังคงประมาณการดัชนีตลาดหุ้นไทยในปีนี้ไว้ที่ 1,810 จุด ซึ่งเป็นระดับดัชนีที่มี Market Equity Yield Growth ที่ดีในระดับ 4.3% ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยที่ 4%

ส่วนหุ้นที่ทางบล.เอเซีย พลัส แนะนำการลงทุนนั้น แบ่งออกเป็น 3 ธีมการลงทุน ได้แก่ 1. กลุ่มหุ้นที่ได้รับอานิสงส์จากการเปิดเมือง และการฟื้นตัวขึ้นของกำลังซื้อและการจับจ่ายใช้สอย ได้แก่ AEONTS ซึ่งได้รับประโยชน์จากการเปิดเมือง ทำให้กำลังซื้อกลับมา มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น และมีความต้องการในการเบิกใช้สินเชื่อส่วนบุคคลกลับมาฟื้นตัว อีกทั้งเป็นหุ้นที่มีค่า P/E ที่ถูกเพียง 11-12 เท่า และให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ราว 2%

และ MAJOR ซึ่งเป็นหนึ่งหุ้นที่ได้รับอานิสงส์จากการเปิดเมืองค่อนข้างมาก และหน้าหนังจากฮอลลีวูดส์ฟอร์มยักษ์ และหนังไทยที่ตบเท้าเข้าฉายในปีนี้มากขึ้น และยังมีการลงทุนในบริษัทอื่นที่ยังเข้ามาช่วยเสริมศักยภาพของบริษัท และ SAPPE ซึ่งได้รับประโยชน์จากการเปิดเมืองเช่นเดียวกัน และในช่วงเทศกาลและฤดูร้อนนี้จะสามารถทำยอดขายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการเติบโตของยอดขายเครื่องดื่มในต่างประเทศที่ยังเติบโตได้ดี

2. กลุ่มหุ้นอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่กลับมา ประกอบกับการลดลงของสต๊อกที่อยู่อาศัยที่ลดลงไปมาก และความมั่นใจของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่กลับมาเปิดโครงการจำนวนมากในปีนี้ สะท้อนภาพบวกของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่กลับมาฟื้นตัว จาก 18 ที่บล.เอเซีย พลัส มีการทำบทวิเคราะห์ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ พบว่ามีมูลค่าการเปิดโครงการใหม่ในปีนี้มากถึง 4.47 แสนล้านบาท แต่การลงทุนในกลุ่มนี้จะเลือกหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ มีการกระจายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเมืองและเปิดประเทศ และให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ดี คือ LH

3. กลุ่มหุ้นที่ยังได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นในระดับสูง และราคามีการย่อตัวลงมา เป็นจังหวะน่าเข้าสะสม เพื่อเก็งกำไรในช่วงที่ปัจจัยกดดันคลี่คลายลง ได้แก่ SCC ที่ได้รับแรงกดดันด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จากราคาน้ำมันที่สูง และราคามีการย่อตัวลงมาค่อนข้างมาก ซึ่งยังมีอัพไซด์ของราคาค่อนข้างมาก หากปัจจัยด้านต้นทุนราคาน้ำมันคลี่คลายลง รวมถึงกลุ่มโรงไฟฟ้าอย่าง GPSC ที่ราคาปรับตัวลงมาเช่นเดียวกัน เพราะความกังวลในเรื่องต้นทุนราคาก๊าซที่ใช้ในโรงไฟฟ้า SPP ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าหลักของ GPSC ทำให้เป็นปัจจัยเข้ามากดดันต่อกำไรของ GPSC ในระยะสั้น แต่หากปัจจัยกดดันได้ผ่านพ้นไปแล้วยังเห็นอัพไซด์ที่เปิดกว้าง และหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้ายังเป็นหุ้น Defensive ที่ไม่ค่อยมีความผันผวนมาก และไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวมากนัก

13085
หอพักกระทรวงการคลัง สอบถาม โปรโมชั่นถ้าคุณหาห้องเช่า ราคาย่อมเยา เดินทางไป BTS ได้สบาย ไกล้ทางด่วน
หอพักกระทรวงการคลัง สอบถาม โปรโมชั่นมีที่จอดรถ ชี้แนะตรงไหนดี ห้องเครื่องปรับอากาศ
หอพักกระทรวงการคลัง สอบถาม โปรโมชั่นด้วยนะ มีอินเตอร์เน็ต รวมทั้ง WIFI
หอพักกระทรวงการคลัง สอบถาม โปรโมชั่นดูแผนที่ เลย หรือโทรติดต่อถามราคาก่อนได้ 

https://bit.ly/3r4UYFF

13086
Worldometer ซึ่งเป็นเว็บไซต์รายงานข้อมูลล่าสุดที่มีการรวบรวมจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขทั่วโลก ระบุว่า ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สะสมทั่วโลกมีจำนวน 493,347,163 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ระดับ 6,181,258 ราย

สหรัฐมียอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สูงสุดในโลก (81,867,963) รองลงมาคืออินเดีย (43,029,839) บราซิล (30,012,798)

ประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 26 ล้านราย ได้แก่ ฝรั่งเศส

ประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 21 ล้านราย ได้แก่ เยอรมนี สหราชอาณาจักร

ประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 17 ล้านราย ได้แก่ รัสเซีย

ประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 14 ล้านราย ได้แก่ อิตาลี ตุรกี เกาหลีใต้

ประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 11 ล้านราย ได้แก่ สเปน

นอกจากนี้ สหรัฐยังเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงสุดในโลก (1,008,679) ตามมาด้วยบราซิล (660,381) อินเดีย (521,446)

เวียดนามติดโควิดวันเดียวเกือบ 55,000 ยอดรวมจ่อแตะ 10,000,000 สูงสุดในอาเซียน
 
กระทรวงสาธารณสุขเวียดนามเปิดเผยว่า ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายใหม่จำนวน 54,995 ราย ส่งผลให้เวียดนามมียอดสะสมผู้ติดเชื้อโควิด-19 อยู่ที่ 9,922,040 ราย ซึ่งเป็นจำนวนสูงที่สุดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) หลังจากที่อินโดนีเซียครองอันดับประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงสุดในอาเซียนก่อนหน้านี้

ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 อยู่ที่ระดับ 42,681 ราย

หน้า: 1 ... 725 726 [727] 728 729 ... 970