แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - LCDTVTHAILAND

หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 13
145
สวัสดีครับ

ตัวแทนจำหน่ายสาย HDMI JERICHO มีดังนี้ครับ

เปิดตัวพร้อมจำหน่าย

1. ร้านแสงชัย อิเล็คโทรนิค (แยกเกษตร) ==>  มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 025794425 025797490 025790428 029411113 0849791420 0837742129
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=405.0

2. ร้าน LENNSHOP คลองถมซีคอน ชั้น 3 ซีคอนสแควร์ ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร.083-9230046,02-7202714
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=4776.0

3. ร้านสหการรามอินทรา SRC Home LCD ==> มีจำหน่ายแล้ว
โทร 086-5580178
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=5245.0

4. ร้าน HD Corner ชั้น 1 พันธ์ทิพย์บางกะปิ ==>  มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 084-7219990, 02-1873145
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=4097.0

5. ร้าน Justcom พาต้าปิ่นเกล้า ==>  มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 028835437 และ 086-9914541
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=3578.0

6. ร้าน JJ Music Sound อาคารศรีวรจักร ห้อง 14 ชั้น 1 ==> มีจำหน่ายแล้ว  
โทร 022255437 , 0817163502, 0867878531

7. ร้าน IT-ONAIR ชั้น 4 พันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน ==> มีจำหน่ายแล้ว
โทร 089-0484077 081-1437070
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=4004.0

ต่างจังหวัด

ภาคกลาง
8. ร้าชัยนาทไฮเดฟ จังหวัดชัยนาท ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 085-1792806 0816801432 (คุณจตุภรณ์)
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=11434.0

ภาคเหนือ
9. ร้าน JJ Music Sound ชั้น 3 โซน@IT ห้อง 26 กาดสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ ==> มีจำหน่ายแล้ว  
โทร 0896338503 , 0815308293

10 . ไทยมาร์ท อิเล็คโทรนิคส์ มอลล์ - พิษณุโลก แยกโคกช้าง   
 โทร. 055-378-666-70

ขอบคุณมากครับที่อุดหนุนสินค้าจากการวิจัยและพัฒนาโดยทีมงานของพวกเราครับ ^ ^

146
มาตอบคำถามนะครับ

คำถาม : ทำไมไม่ใส่เฟอร์ไรท์ ?
คำตอบ : เฟอร์ไรท์ตามหลักการแล้วเอาไว้ลด Noise ถูกต้องแล้วครับ แต่จากการทดสอบของทีมงาน การใส่เฟอร์ไรท์ระหว่างกลางตัวนำ (บริเวณกลางสาย) จะทำให้เกิดอาการ "อั้น" ทั้งภาพและเสียง กล่าวคือภาพจะดูมืดและดร็อปลง ส่วนเสียงก็จะอั้น ทึบ ไม่เปิดกระจ่างออกมา ทั้งนี้ทางทีมงานได้ลองทดสอบสาย HDMI ยี่ห้อจากทั้งฝั่งยุโรปและเอมริกาที่ใส่เฟอร์ไรท์และก็พบอาการในลักษณะคล้ายกัน ดังนี้หากพิจารณา HDMI ระดับไฮเอนด์หรือซูเปอร์ไฮเอนด์เราจึงไม่เห็นเจ้าไหนใส่เฟอร์ไรท์เลยครับ

ส่วนสาย Jericho ก็ทำการชีลดืป้องกัน Noise แบบป้องกันไม่ให้ Noise จากภายนอกเข้ามา มิได้ทำการ "อั้น" สัญญาณแบบหลักการของเฟอร์ไรท์แต่อย่างใด แนะนำให้ทดสอบเรื่องคุณภาพของเสียงโดยการฟังเพลงแบบ 2 Channel สาย Jericho VS สายที่ใส่เฟอร์ไรท์ได้ครับ จะจับความแตกต่างได้อย่างไม่ยากเลย

 


[แทง] งะ... มีรุ่นเก่าอยู่ 3 เส้น เพิ่งถอยออกมาได้เกือบ ๆ ปี มีรุ่นใหม่มาล่ออีกแระ....
          อยากได้กิ๊กใหม่อีกๆๆๆๆๆ...  [เขย่า]
อดใจไม่ไหว จำยอม ฝืนทน ต้องหามาแนบชิดอีกสัก 3เส้น...เหอๆๆๆ

  ขออนุญาต..สอบถามทางวิชาการสักนิดนะครับ
    สาย HDMI บางยี่ห้อ เห็นเขาใส่แกนเฟอร์ไรท์ (เรียกถูกรึเปล่าก็ไม่รู้นะ) หัว-ท้าย
ไม่ทราบว่าเขาใส่ไว้ทำไมครับ เคยสอบถามท่านผู้รู้บอกว่า เอาไว้ช่วยลดสัญญาญรบกวน
ถูกรึเปล่าอะ... แล้วทำไมของ LCD ไม่ใส่บ้างอะ..
ท่านใดทราบมาตอบให้กระจ่างเป็นวิทยาทานหน่อยครับ... จะได้เป็นความรู้

147
ตอนนี้ในช่วง PreSale เริ่มจำหน่ายแบบ Exclusive ก่อนใครแล้วนะครับ หากอยากเป็นเจ้าของก่อนติดต่อตามร้านค้าตัวแทนจำหน่ายได้ครับ

เปิดตัวพร้อมจำหน่าย

1. ร้านแสงชัย อิเล็คโทรนิค (แยกเกษตร) ==>  มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 025794425 025797490 025790428 029411113 0849791420 0837742129
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=405.0

2. ร้าน LENNSHOP คลองถมซีคอน ชั้น 3 ซีคอนสแควร์ ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร.083-9230046,02-7202714
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=4776.0

3. ร้านสหการรามอินทรา SRC Home LCD ==> มีจำหน่ายแล้ว
โทร 086-5580178
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=5245.0

ต่างจังหวัด
4. ร้าชัยนาทไฮเดฟ จังหวัดชัยนาท ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 085-1792806 (คุณจตุภรณ์)
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=11434.0

อยากลองชะมัด  [หื่น] [กระโดด]

148
เดี๋ยวจะ PM ร้านค้าที่มีบริการส่ง EMS ให้นะครับ ^ ^

วันที่ 15/05/2012 ซื้อได้ที่ไหนครับ สั่งจองไว้ได้ปะ อยากได้ๆ เอา 1 เมตรก็พอ

บอกด้วยนะผมอยู่ที่ จ.ปทุมธานี อ.เมือง หาซื้อได้ที่ไหนครับ

150
สวัสดีครับคุณ doodoo

ก่อนอื่นทางทีมงานต้องขอขอบพระคุณในการอุดหนุนสาย HDMI ของเว็บของเราในรุ่น Reference ที่ผ่านมาครับ

ซึ่งรุ่น Reference ยังคงจำหน่ายอยู่เช่นเดิมตามปกติ

ส่วนรุ่นใหม่ JERICHO  ก็กำลังจะวางตลาดวันที่ 15/5/2555 นี้

หากรุ่นเดิมยังใช้ดีอยู่ ทางเราแนะนำให้ใช้รุ่นเดิมไปก่อนนะครับ ^ ^

ขอน้อมรับว่าทีมงานมีการวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ๆออกมาทุกๆปีครับ

ส่วนกิจกรรมแจกสายฟรีทั้งรุ่น Reference และ JERICHO อาจจะมีนิดๆหน่อยๆในงาน BAV SHOW 2012 ที่กำลังมาถึงครับ

 >>> ทีมงานต้องขอขอบคุณคุณ dodoo จากใจจริงในการสนับสนุนสินค้าจากการวิจัยและพัฒนาของพวกเราครับ <<<

แล้วรุ่นเก่าจะเอาไปไว้ที่ไหนดีละครับ อุดหนุนมาตั้งแต่แรกออกเหมือนกัน ปัจจุบันประจำการอยู่ 2 เส้น  เอารุ่นเก่ามาเทรินรุ่นใหม่ได้ไหมครับ

ถามจริง ๆ นะ

151
เสียงตอบรับจาก User ครับผม

































คุณ Narodom Chawanapanya


คุณ ITsorachai


คุณ Protgas D Ace


==========================================

คุณ changnoi1922


คุณ Stomboy


คุณ Bongkoch


คุณ m400


คุณ Kiadtisak Wongprapai


คุณ Iceace


คุณ JujuzArmy


คุณ Audio



คุณ Dod W-ra



คุณ sojew


คุณ insound


คุณ Somchai


คุณ Dramin


คุณ Liveaway


คุณ Chaitaj


คุณ อิศรชัย


คุณ A_J_21


คุณ One_Way


คุณ Bongkoch

152

สาย LCD HDMI ทุกรุ่น รับประกันตลอดชีพ

ร้านตัวแทนจำหน่าย

HomePro ทุกสาขา แผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า The Power==> มีจำหน่ายแล้ว


Power Buy ทั้ง 20 สาขา==> มีจำหน่ายแล้ว  

1. Power Buy สาขา เซ็นทรัลเวิลด์
2. Power Buy สาขา เซ็นทรัล ลาดพร้าว
3. Power Buy สาขา เมกะ บางนา
4. Power Buy สาขา เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า
5. Power Buy สาขา เซ็นทรัล ชิดลม
6. Power Buy สาขา เซ็นทรัล พระราม 9
7. Power Buy สาขา เซ็นทรัล พระราม 3
8. Power Buy สาขา เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ
9. Power Buy สาขา สีลม คอมเพล็ก
10. Power Buy สาขา เซ็นทรัล พระราม 2
11. Power Buy สาขา เซ็นทรัล บางนา
12. Power Buy สาขา เซ็นทรัล พัทยา
13. Power Buy สาขา เซ็นทรัล ภูเก็ต
14. Power Buy สาขา โฮมเวิร์ค ราชพฤกษ์
15. Power Buy สาขา เซ็นทรัล เวสเกต
16. Power Buy สาขา แฟชั่นไอซ์แลนด์
17. Power Buy สาขา เซ็นทรัล เชียงใหม่
18.Power Buy สาขา ศรีราชา
19. Power Buy สาขา บางรัก
20. Power Buy สาขา เซ็นทรัล ระยอง


ร้าน Boomerang ==> มีจำหน่ายแล้ว
สาขา เซ็นทรัลเวิลด์ : ชั้น 4 ใกล้กับทางเข้า Zen
สาขา เซ็นทรัลพลาซ่าพระราม 9 : ชั้น 4
สาขา เซ็นทรัลพลาซ่าบางนา : ชั้น 5 หน้าลิฟต์แก้ว ติดโซน E-life  
สาขา เซ็นทรัลพลาซ่าพระราม 3 : ชั้น 6 ทางขึ้นโรงภาพยนตร์เมเจอร์
สาขา เซ็นทรัลพลาซ่าปิ่นเกล้า : ชั้น 4 บริเวณหน้าบันไดเลื่อนทางขึ้นไป Food Park
สาขา เซ็นทรัลพลาซ่าพระราม 2 : โซนลิฟต์แก้ว ติดกับร้านหอแว่น
สาขา สยามดิสคัฟเวอรี่ : ชั้น 4 ติดกับร้าน Asia Book
สาขา เมกา บางนา : ชั้น 2 บริเวณ IKEA
สาขา สีลมคอมเพล็กซ์ : ชั้น 3 ตรงข้ามร้าน iStudio
สาขา แฟชั่นไอส์แลนด์ : ชั้น 3 โซนโรงหนัง

- ร้าน digilife ทุกสาขา ==> มีจำหน่ายแล้ว
Digilife ชั้น 1 พันทิพย์พลาซ่า งามวงศ์วาน โทร. 084-524-6282
Digilife ชั้น 3 โซนเครื่องเสียง ฟอร์จูนทาวน์ โทร. 02-641-0001 , 088-423-6648
Digilife ชั้น 3 ตรงข้าม ISTUDIO พันทิพย์พลาซ่า ประตูน้ำ โทร. 084-361-9310
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=3860.0

- ร้านแสงชัย อิเล็คโทรนิค (แยกเกษตร) ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 025794425 025797490 025790428 029411113 0849791420 0837742129
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=405.0

- ร้าน LENNSHOP คลองถมซีคอน ชั้น 3 ซีคอนสแควร์ ==> มีจำหน่ายแล้ว
- โทร 02-720-2714 , 086-7700-680
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=4776.0

- ร้าน Justcom พาต้าปิ่นเกล้า ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 086-0801812, 02-8835437
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=3578.0

- ร้าน Justcom เซ็นทรัลชลบุรี ชั้น 2 ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 038-184082, 080-8233410
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=3578.0

- ร้าน JJ Music Sound อาคารศรีวรจักร ห้อง 14 ชั้น 1 ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 022255437 , 0817163502, 0867878531

- ร้าน JJ Music Sound  กาดสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ ชั้น 3 โซน IT ห้อง 26 ==> มีจำหน่ายแล้ว
โทร 089-6338503 ,081-5308293

- ร้าน HD City Shop ชั้น B1 ซีคอนสแควร์ ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 0826589000
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=11279.0

- ร้าน 2Fa Hidef จังหวัด จันทบุรี ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 056-007468

- ร้าน HD Rayong  อ.เมือง จ.ระยอง ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 089-2504334 , 080-0508388  Email : [email protected]

- ร้าน Akihabara สีลม ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 081-9276734
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=45115.0

- ร้าน INCOM2000 เซียร์รังสิต ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 089-7175669, 02-9926884
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=14885.0


- ร้าน ilovehidef shop บ้านหม้อสแควร์ ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 081-8262284
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=5166.0

- ร้าน iGadget ชั้น3 ซีคอน บางแค ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 02-1083438, 086-9914541, 080-8208332
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=3578.0

- ร้าน taan @ อัมรินทร์พลาซ่า ชั้น 3 ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 02-251-7900 , [email protected]

- ร้าน Home Digital Theater ถนน พระรามสอง ซอย 29 ปากซอย พุทธบูชา 25/1 ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 0863172935
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=31279.0

- บริษัท ลัคกี้คอมพ์ อินโนเวชั่น จำกัด ถนนรังสิต-นครนายก คลอง4 ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 02-9577919 02-957755

- ร้านชัยนาทไฮเดฟ จังหวัดชัยนาท ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 085-1792806 0816801432 (คุณจตุภรณ์)
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=11434.0

- ร้าน PeakHDPlayer ถ.อิสรภาพ ใกล้ซอยอิสรภาพ 49 ไม่ไกลจาก ร.พ.ศิริราช ==> มีจำหน่ายแล้ว
เบอร์โทร 085-378-3970 https://www.facebook.com/PeakHDPlayer
http://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?topic=58265.0




** สามารถตรวจสอบรุ่นที่วางจำหน่ายในแต่ละสาขาตามตารางนี้ **






153


"JERICHO" ผ่านการวิจัยและพัฒนาจากทีมวิศวกรและทดสอบโดยทีมนักรีวิวผู้เชี่ยวชาญมามากกว่า 2 ปีเต็ม ด้วยคุณสมบัติพิเศษและเทคโนโลยีการผลิตที่ "เหนือกว่า" อันได้แก่ ตัวนำเคลือบ "เงินบริสุทธิ์" พร้อมวิธีการเข้าหัวแบบ "BAYONET" ปราศจากการบัดกรีและตะกั่ว และตลอดจน "ลูกศรบอกทิศ" เพื่อให้สัญญาณไหลไปในทิศทางที่ถูกต้อง จึงทำให้ JERICHO เป็นสาย HDMI ที่เรากล้าการันตีว่าให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ "ดีที่สุด" ในช่วงราคา

สาย HDMI : JERICHO ได้ผ่านการทดสอบแล้วว่า
"รองรับมาตรฐานใหม่ล่าสุด HDMI Version 2.0
รวมถึงรองรับมาตรฐานช่องต่อเวอร์ชั่น 2.1 ในอนาคต แน่นอน "

ติดตามข้อมูลสินค้าและโปรโมชั่นได้ที่ https://www.facebook.com/Lcdhdmi


เปิดตัวมี 3 ขนาดพร้อมราคาพิเศษได้แก่
1 เมตร = ราคาปกติ 2,390 บาท // ราคาพิเศษ 2,190 บาท
2 เมตร = ราคาปกติ 2,690 บาท // ราคาพิเศษ 2,490 บาท
3 เมตร= ราคาปกติ 2,990 บาท // ราคาพิเศษ 2,790 บาท

NEW !!! ขนาดใหม่สำหรับต่อใช้งานโปรเจคเตอร์
10 เมตร = ราคาปกติ 7,990 บาท // ราคาพิเศษ 6,990 บาท
12 เมตร = ราคาปกติ 9,990 บาท // ราคาพิเศษ 8,490 บาท
15 เมตร = ราคาปกติ 12,990 บาท // ราคาพิเศษ 9,990 บาท

ติดตามอัพเดทข่าวสารและโปรโมชั่น LCD HDMI ได้ที่ http://www.facebook.com/Lcdhdmi


------------------------------------------------------------------------------------

A. Cutting Edge Technologies - สุดยอดเทคโนโลยีอันเหนือชั้น

1. Silver Plated :: ตัวนำแกนเดี่ยวเคลือบ “เงินบริสุทธิ์” ระดับออดิโอไฟล์  นำสัญญาณได้ดีกว่าตัวนำแบบปรกติ(ทองแดง) เพื่อการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงที่สมบูรณ์แบบกว่าที่เคย    

2. Bayonet :: “เบโญเนต” คือ เทคโนโลยีเอกสิทธิล่าสุดของการเข้าหัวระหว่างตัวนำและตัวหัวคอนแทคแบบเสียบเข้าล็อกเฉกเช่น “ดาบติดปลายปืน” ปราศจากการบัดกรีและตะกั่วที่มักจะ "ทำลาย" คุณภาพของตัวนำ ซึ่งสาย HDMI ทั่วไปในท้องตลาดมักจะใช้วิธีการบัดกรี ดังนี้จึงสามารถรักษาคุณภาพสัญญาณภาพและเสียงได้ 100% โดยไม่ลดทอนสัญญาณเลยแม้แต่นิดเดียว

3. Balanced Twisted Pair Geometry :: “การตีเกลียว” ตัวนำข้างในให้มีระยะห่างในการพันเกลียวที่เท่ากัน ซึ่งต้องใช้ความแม่นยำสูงมากในขั้นตอนการผลิต เพื่อลดสัญญาณรบกวน และเสริมประสิทธิภาพการนำสัญญาณให้ดียิ่งขึ้น นิยมใช้กันในสายลำโพงระดับไฮเอนด์

4. Directional Arrow :: เนื่องด้วยตัวนำมีการเคลือบเงิน สัญญาณภาพและเสียงในความถี่ต่าง ๆจึงจะไหลผ่านบนพื้นผิวของเงินเสียส่วนใหญ่ ดังนั้นการที่สัญญาณไหลไปในทิศทางเดียวกันตลอดเวลาโดยไม่ย้อนศรจะช่วยคงประสิทธิภาพของการนำสัญญาณให้ดีที่สุด JERICHO จึงมาพร้อมกับลูกศรเพื่อช่วยในการระบุทิศทางของสัญญาณ เพื่อประสิทธิภาพอันสูงสุดเวลาเชื่อมต่อเพื่อใช้งานจริง

------------------------------------------------------------------------------------

B. Intelligent Design - สุดยอดการออกแบบอันชาญฉลาด

5. Zinc Alloy Shell :: หัว Connector ใช้วัสดุเป็น Zinc Alloy เกรดพรีเมี่ยม มีคุณสมบัติเป็น Non-Magnetic กล่าวคือไม่ได้เป็นแม่เหล็ก เมื่อนำแม่เหล็กมาดูดจะไม่ติด จึงสามารถป้องกันสัญญาณรบกวนอย่าง EMI : Electromagnetic Interference ได้อย่างเต็มที่ ต่างจากสายทั่วไปที่มักจะใช้เป็นหัวยางหรือหัวพลาสติก ทั้งนี้นอกจากจะให้ความสวยงามทางด้านการออกแบบแล้ว ยังเป็น “ปราการด่านสุดท้าย” ในการป้องกัน Noise ได้อย่างดี

6. Micro Vibration Reduction Nylon Jacket :: ตัวแจ็คเกตของสายที่ถักเป็นสีน้ำตาลสลับดำให้สีสันลงตัวกับสีของขั้วต่อซึ่งเป็นสีบรอนซ์  ช่วยป้องกันการการสั่นไหวของตัวสายสัญญาณในระดับจุลภาค (สั่นแบบเล็กน้อยที่สายตาเราจะไม่สังเกตเห็น) โดยจะช่วยลดผลกระทบต่อสัญญาณที่กำลังเดินทางอยู่บนตัวนำให้เหลือน้อยที่สุด

7. Grip :: แถบจับ 4 ขีดบริเวณด้านข้างของหัว Connector ป้องกันการลื่นไถล  ทำให้จับกระชับขึ้น เพื่อให้เสียบกับช่องต่อของเครื่องเล่นและทีวีได้อย่างแม่นยำ

8. Vintage “LCD” Logo :: หัวขั้วต่อดีไซน์แบบย้อนยุคสีบรอนซ์ทองแดงสลับดำ เอกลักษณ์เฉพาะตัว

------------------------------------------------------------------------------------

C. Future Proof - รองรับอนาคตอย่างสมบูรณ์แบบ

9. Full 3D Support :: รองรับสัญญาณภาพ 3 มิติทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น 3D Blu-ray, 3D Full Rip, Side by Side, Top Bottom รวมถึงรองรับกับทีวี 3 มิติทุกรุ่นทุกยี่ห้อทั้งแบบ Active และ Polarized

10. 4K Resolution :: รองรับการแสดงภาพความละเอียดสูงสุดถึง 8 ล้านพิกเซล หรือ 4096 x 2160 Pixel นั่นเอง (4K)

------------------------------------------------------------------------------------


หน้าตากล่องแพ็กเกจของ JERICHO ซีลสูญญากาศมาอย่างดี


JERICHO เป็นสาย HDMI รุ่นล่าสุดปี 2012 ดีไซน์สวยงามแนว Vintage


หัวขั้วต่อทำจาก Zinc Alloy Shell ป้องกัน Noise ประเภท Electromagnetic Interference (EMI) ได้อย่างดีเยี่ยม


ลูกศรบอกทิศทาง + Grip ด้านจับแบบ 4 ขีด


Nylon Jacket เป็นแบบ Micro Vibration Reduction ลดการสั่นไหวระดับจุลภาค กระทบต่่อการนำสัญญาณภายในให้น้อยที่สุด


เทคโนโลยีการเข้าหัวแบบ BAYONET เสียบเข้าล็อกเฉกเช่นดาบติดปลายปืน
ปราศจากการบัดกรีและตะกัว คงคุณภาพของตัวนำได้อย่างสมบูรณ์
ซึ่งสาย HDMI ทั่วไปกว่า 99% ในท้องตลาดยังใช้วิธีบัดกรีอยู่
จะส่งผลเสียต่อคุณภาพของตัวนำที่จะถูกทำลายด้วยความร้อนและตะกั่ว


เปรียบเทียบการเข้าหัวด้วยวิธี "Bayonet" ของ JERICHO
ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่ส่งผลถึงคุณภาพอันยอดเยี่ยมของ JERICHO
และการเข้าหัวของสาย HDMI ทั่วไปแบบการบัดกรี



ตัวนำเคลือบ "เงินบริสุทธิ์" พร้อมการเข้าหัวแบบ "BAYONET" ซึ่งเป็นวิธีการเข้าหัวที่ล้ำสมัยที่สุดและเรียบร้อยที่สุด
ซึ่งจะรักษาคุณภาพของสัญญาณภาพและเสียงได้ดีที่สุดในปัจจุบัน เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะ JERICHO เท่านั้น


โครงสร้างสาย ตัวนำเป็น Solid Core "Silver Plated" OFC แบบแกนเดี่ยวเคลือบ "เงินบริสุทธิ์"
พร้อมการจับคู่ตัวนำและตีเกลียวแบบ "Twisted Pair" เพื่อลด Noise ประเภท RFI และ EMI


เชื่อมต่อกับพอร์ท HDMI ด้านข้างของ LED TV ดีไซน์บางๆได้อย่างสบาย
ให้ใช้ด้านที่เป็น "ลูกศรชี้ขึ้น" เชื่อมต่อกับทีวี


ต่อจากเครื่องเล่น Blu-ray Player Oppo 95 ให้นำด้าน "หัวลูกศรชี้ลง" เชื่อมต่อช่อง HDMI Out


หากใช้ 2 เส้นต่อกับ AV Receiver ช่อง HDMI Out ให้ใช้ด้านที่เป็น "ลูกศรชี้ลง" เชื่อมต่อ
และหากเป็นช่อง HDMI In ให้นำด้านที่เป็น "ลูกศรชี้ขึ้น" ทำการเชื่อมต่อ


สาย HDMI Jericho ความยาว 10 เมตร / 12 เมตร / 15 เมตร เหมาะสำหรับใช้ต่อกับ Projector


แพคเกจสำหรับ Jericho ความยาว 10 เมตร / 12 เมตร / 15 เมตร

------------------------------------------------------------------------------------


คุณสมบัติ Jericho
- High Speed HDMI with Ethernet (Version 2.0)
- Full 3D Support รองรับภาพ 3 มิติทุกรูปแบบ
- รองรับความละเอียดสูงสุดที่ 4K Resolution 4096 x 2160
- Silver Plated OFC ตัวนำเคลือบเงินบริสุทธิ์
- Bayonet เทคโนโลยีเข้าหัวแบบเสียบเข้าล็อคเฉกเช่นดาบติดปลายปืน
- Balanced Twisted Pair Geometry ตีเกลียวตัวนำข้างในเพื่อลดสัญญาณรบกวน
- Directional Arrow ลูกศรบอกทิศทางการเชื่อมต่อ
- หัวขั้วต่อแบบ Zinc Alloy Shell เกรดพรีเมี่ยม
- 24K Gold Plated Contact
- Audio Return Channel
- Ethernet

เปิดตัวมี 3 ขนาดพร้อมราคาพิเศษได้แก่
1 เมตร = ราคาปกติ 2,390 บาท // ราคาพิเศษ 2,190 บาท
2 เมตร = ราคาปกติ 2,690 บาท // ราคาพิเศษ 2,490 บาท
3 เมตร= ราคาปกติ 2,990 บาท // ราคาพิเศษ 2,790 บาท

NEW !!! ขนาดใหม่สำหรับต่อใช้งานโปรเจคเตอร์
10 เมตร = ราคาปกติ 7,990 บาท // ราคาพิเศษ 6,990 บาท
12 เมตร = ราคาปกติ 9,990 บาท // ราคาพิเศษ 8,490 บาท
15 เมตร = ราคาปกติ 12,990 บาท // ราคาพิเศษ 9,990 บาท

สามารถเปรียบเทียบสเป็คและราคาสาย HDMI ได้
http://www.lcdtvthailand.com/hdmi/

เปรียบเทียบข้อแตกต่างของ HDMI ทั้ง 3 รุ่น[/size]



154
ให้ขายของมือ 2 เท่านั้น หากฝ่าฝืน จะดำเนิการลบกระทู้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้านะครับ

หากท่านไหนยังเนียนขายอยู่อีกจะดำเนินการแบน User ด้วยครับ

ขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ

 

155
5. Resolution - Aspect Ratio or Picture Size :: แปลว่า “สัดส่วนภาพ”  เช่นหนัง Blu-ray เรื่อง AVATAR มีความละเอียดต้นฉบับที่ 1920 x 1080 พิกเซล เราจะทำอย่างไรให้ทีวีนั้นแสดงภาพ 1920 x 1080 พิกเซล ออกมาครบทุกเม็ดทุกหน่วย ไม่ขาดไปแม้แต่พิกเซลเดียว หรือถูกบิดเบือนขนาด และอัตราส่วนให้บิดเบี้ยว รวมถึงรายละเอียดขอบภาพไม่โดน Crop ตัดหายไป ซึ่งมีศัพท์ทางเทคนิคเรียกว่า 1:1 Pixel Matching โดยผมเองได้สรุปชื่อเรียกสัดส่วนภาพที่ถูกต้องของแต่ละแบรนด์มาให้แล้วดังต่อไปนี้

สัดส่วนภาพที่ “ถูกต้อง” 1:1 Pixel Matching (แนะนำเวลาดูหนัง หรือใช้งานเป็นมอนิเตอร์)
LG = Just Scan
Philips = Unscaled
Panasonic = 16:9 แล้วไปปิด Overscan เป็น Off
Samsung = Screen Fit
Sony = Full Pixel
Sharp = Dot by Dot
Toshiba = Native

ในขณะที่สัดส่วนภาพที่มีชื่อว่า “16:9” เหมือนจะเป็นชื่อที่ถูกต้อง ก็แหมสัดส่วนเดียวกับทีวี Widescreen 16:9 ของเราเลยหนิ แต่หารู้ไหมว่า “คดีพลิก” !!! ทำให้หลายท่านเข้าใจผิดไปยกใหญ่ เพราะโหมด 16:9 มักจะเป็นโหมดที่ “Crop ภาพ” ทั้งด้านบน, ด้านข้างและด้านล่างไปซัก 2.5%-5% ทำให้ขอบภาพในแต่ละด้าน “หายไปหน่อยนึง” เหตุผลที่แบรนด์ทีวีต่างๆมักใช้โหมดนี้เป็น “ค่าแรกเริ่ม” ตั้งแต่ต้นก็เพราะบริเวณขอบภาพของฟิล์มภาพยนตร์ และวิดีโอ ในอดีตมักจะมีรอยขีดเขียน หรือรอยจากพวกมาร์กเกอร์ ทำให้ขอบภาพดูไม่สะอาดและไม่เรียบร้อย จึงตั้งให้โหมด 16:9 Crop ส่วนขอบนี้ทิ้งไปตั้งแต่ต้นซะเลย ขณะเดียวกันก็ใช้เป็น “โหมดขยายภาพให้เต็มจอ 16:9” เมื่อรับชมกับคอนเทนต์อัตราส่วนอื่น (เช่น 4:3)


รูปประกอบเป็น Pattern จากแผ่น DVE  ไว้เช็คสัดส่วนภาพ

ปรับไม่ถูกต้อง :: รูปประกอบข้างบนเป็นการเลือกสัดส่วนภาพของทีวีที่โหมด 16:9 จะพบว่าโดน Crop ขอบภาพหายไปประมาณ 2.5%-5% (สังเกตว่าเส้นกรอบสี่เหลี่ยมที่เขียนว่า safe action 5% จะหลุดขอบออกไป)



ปรับถูกต้อง :: หากปรับสัดส่วนภาพแบบ 1:1 Pixel Matching ภาพจะไม่ถูก Crop แม้แต่นิดเดียว แสดงออกมาทุกพิกเซล สังเกตจากเม็ดสีดำๆตรงกลาง บริเวณขอบด้านบนและด้านข้าง จะโผล่ไล่ระดับให้เห็นครบถ้วน

6. Resolution - Sharpness :: ถึงแม้จะแปลว่า “ความคมชัด” แต่หากปรับค่านี้มากไปจะทำให้ภาพขึ้นขอบจนแตก เป็นรอยหยัก ออกเรื้อนแบบหยาบกร้าน หรือมีวุ้นขาวๆ เรืองตามขอบภาพ พร้อมทั้ง Noise ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ที่แฝงมากับคอนเทนต์จะปรากฏขึ้นมาให้เห็นชัดเจนขึ้น แต่ถ้าหากปรับน้อยไป ภาพก็จะออกแนวนุ่มนวล เบลอ มัว มน ไม่คมชัด เรามาดูผลเสียของปรับ Sharpness ไม่ถูกต้องตามรูปดังต่อไปนี้


      Sharpness ถูกต้อง                          VS                              Sharpness มากเกินไป



ปรับถูกต้อง :: Pattern นี้นอกจากเอาไว้ทดสอบ Aspect Ratio แล้ว ยังใช้ทดสอบ Sharpness ในเบื้องต้นได้ครับ หากปรับมากไปจะมีวุ้นเรืองๆสีขาวเกิดขึ้นตามขอบเส้น ปรับให้ถูกต้องพอดีพวกวุ้นเรืองๆ จะหายไป


ปรับมากไป :: โคลสอัพให้ดูเม็ดพิกเซลกันแบบใกล้ชิด หากปรับ Sharpness มากเกินไปจะเกิด “วุ้นขาวๆ เรืองแสง” ตามขอบเส้นของรูปเครื่องหมายบวก


สรุปเบื้องต้นว่า หากทุกท่านปรับภาพตามหลักพื้นฐานเบื้องต้นนี้ เราก็ได้ทีวีที่สามารถถ่ายทอดภาพได้ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากๆ ถึงจะไม่ 100% ก็ตาม ขาดก็เพียงแต่การปรับค่า White Balance และ Color Space ให้ถูกต้องเป๊ะๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ แต่อย่างน้อยรายละเอียดมาครบแน่นอน จึงสามารถบอกได้ว่าทีวีตัวที่ท่านปรับภาพเบื้องต้นสามารถแสดงภาพได้ดีและถูกต้องใกล้เคียงกับที่ผู้กำกับต้องการสื่อออกมาให้เราได้รับชมกัน

ปรับภาพให้ถูกต้อง VS ถูกใจ
คำถามนี้เป็น “คำถามโลกแตก” รองมากจาก LCD หรือ Plasma อะไรดีกว่ากัน? ซึ่งได้สร้างดราม่ามานานหลายปีติดต่อกัน ผมคงไม่อาจกำหนดให้ทุกท่านเชื่อในสิ่งที่นำเสนอมานี้ เพราะอย่างไรเสียความชอบส่วนบุคคลถือเป็นสิ่งที่มิอาจประเมินได้ แต่ขอสรุปแบบนี้นะครับว่า ประโยชน์สำหรับผู้ชมทั่วไป ในการปรับภาพถูกต้องจะช่วยให้เรา “ตอบโจทย์” ของ “ผู้กำกับหนัง” ที่ต้องการสื่อออกมาให้เราได้รับทราบ ในมุมมองของผมคือ เราจะเข้าใจถึงอรรถรสของหนังอย่างถ่องแท้มากยิ่งขึ้น ไม่มีบิดเบือนในรายละเอียดของภาพที่หายไปรวมถึงโทนแสงสีที่ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ แนวภาพจะเป็นโทนอุ่นถูกต้องตามมาตรฐานสตูดิโอ ดูแล้วสบายตา ภาพเป็นธรรมชาติมาก (หากผู้กำกับต้องการสื่อออกมาอย่างนั้น) สังเกตให้ดีว่าแนวภาพแบบถูกต้องเช่นนี้จะใกล้เคียงกับโรงหนังมากครับ และประโยชน์สำหรับผู้ทำงานด้านจอภาพโดยตรง อย่างเช่นสตูดิโอที่จำเป็นต้องปรับตั้งค่าจอมอนิเตอร์เพื่อใช้อ้างอิงในการผลิตหนังออกมา ตลอดจนนักออกแบบกราฟิก ช่างภาพ นักทดสอบ ฯลฯ ที่จำเป็นต้อง “อิงมาตรฐานความถูกต้อง” ผ่านจอภาพ เช่นเดียวกับการทดสอบของ เว็บ LCDTVTHAILAND และนิตยสาร Videophile ที่ต้องทำการเปรียบเทียบทีวี และฟันธงคุณภาพของจอว่าตัวไหนดีกว่ากัน? ย่อมจำเป็นต้องปรับภาพให้เป็นมาตรฐานเดียวกันซะก่อน จึงจะตัดสินได้

อย่างไรก็ตาม หากให้พิจารณากันใน “มุมมองของผู้ใช้ทั่วไป” ทีวีก็คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สร้างความสุขให้กับเรา ภาษาอังกฤษยังจัดให้อยู่ในหมวด Home Entertainment ที่แปลว่า ความบันเทิงภายในบ้านเลย ! หากเราปรับภาพแบบถูกต้องแล้วรู้สึกว่ามันนวลไป ดูธรรมชาติไปซักนิด แล้วไปเร่งแสงสี คอนทราสท์ให้สดขึ้น อยากให้ภาพจากจอมันดูสดใสจัดจ้าน มีชีวิตชีวา ก็สามารถเลือกปรับภาพให้ถูกใจเช่นนี้ได้ ถ้าหากมันเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ความสุขกับท่านได้มากกว่าก็ถือว่าแนะนำอย่างยิ่งครับ (บางกรณีผมก็ชอบนะ อิอิ) ดังนี้การไปยึดติดกับหลักการและความถูกต้องมากเกินไปอาจจะ “ไม่ตอบโจทย์” ในเชิงปฏิบัติเสียทีเดียว สรุปคำตอบของคำถามดราม่าว่า ให้ลองปรับภาพทั้ง 2 แบบทั้งแบบ “ถูกต้อง” และ “ถูกใจ” ดูเสียก่อน แล้วลองดูหนังไปหลายๆ เรื่อง ลองเปรียบเทียบภาพกันว่าเราชอบแบบไหนมากกว่ากัน? แบบไหนสร้างความสุขให้เราได้มากกว่ากัน? หากเราสามารถตอบโจทย์ข้อนี้ได้แล้ว ผมเชื่อว่าทุกท่านสามารถ “บรรลุความสุขที่แท้จริง” จากทีวีตัวโปรดของท่านได้ แต่หากจะก้าวข้ามความชอบส่วนบุคคลไปถึงขั้น “อ้างอิง” ยังไงเราก็ต้องมี “มาตรฐาน” ครับ !

บทความ :: ปรับภาพนั้น…สำคัญไฉน !!! ความสำคัญของการปรับภาพและเทคนิคการปรับภาพเบื้องต้น
http://lcdtvthailand.com/article/detail.asp?desc=1&param_id=1116

156
3. Color / Tint ::  Color คือ “ความสดอิ่ม” ของสีสันโดยรวมทั้งหมด หากปรับมากไปสีสันก็จะสดโอเว่อร์จนเกินจริง เช่นใบหน้าติดแดง หญ้าเขียวฉ่ำเกินไปเหมือนในนิยาย ในขณะที่ปรับน้อยไปสีก็จะจืดชืดเกินไป  หรือหากลดระดับลงไปสุดๆ ให้เหลือ 0 จะกลายเป็นภาพขาวดำทันทีครับ ในส่วนของ Tint เป็นการปรับความสัมพันธ์ระหว่างสีแดงกับสีเขียว โดยส่วนมากแล้วจะเอาปรับ “สีผิวของคน”  (Skin Tone) ให้ถูกต้อง หากปรับมากไป (R) สีผิวของคนจะ “อมแดง” ในขณะที่ปรับน้อยไป (G) สีผิวของคนจะกลายเป็น “อมเขียว” เหมือนไอ้ยักษ์เขียว Hulk ซะงั้น ^ ^ อย่างไรก็ตาม จากที่ผมได้มีโอกาสทดสอบทีวีมาหลายยี่ห้อหลายรุ่น ทีวียุคนี้ถือว่าเซ็ตค่า Tint มาค่อนข้างดีตั้งแต่ต้น โดยแทบไม่ต้องปรับแก้ไขอะไรเพิ่มเติมเลย ดังนี้เรามาดูการปรับค่า Color อย่างเดียวก็พอ


Color มากไป สีสดเกินจริงทั้งใบหน้าของคนและกำแพงไม้ด้านหลัง
Color ถูกต้อง สีถูกต้องเป็นธรรมชาติ สีไม้ก็เป็นไม้ ใบหน้าของสาวน้อยผู้นี้ก็เป็นธรรมชาติ


Pattern จาก DVE อันนี้เอาไว้ทดสอบความถูกต้องของค่า Color


เบื้องต้นลองใช้ Color Filter โดยมองผ่าน “ช่องสีน้ำเงิน”


ปรับถูกต้อง :: มองผ่าน Color Filter สีน้ำเงิน จะมองเห็นสี่เหลี่ยมสีเข้ม 6 ช่อง เท่านั้น
บริเวณโดยรอบจะกลืนเป็นสีพื้นเดียวกันหมด



ปรับมากหรือน้อยไป :: จะสังเกตเห็นสี่เหลี่ยมในตำแหน่งอื่น ๆ นอกเหนือจากสี่เหลี่ยมสีเข้ม 6 ช่อง ข้างต้น กล่าวคือ พื้นหลัง “ไม่กลืนกันเป็นน้ำเงินทั้งแผ่นดิน”

ทั้งนี้นอกเหนือจากการกำหนดระดับ Color ที่ไม่ถูกต้องแล้ว การกำหนด Tint ที่ไม่ถูกต้องก็ก่อให้เกิดผลลัพธ์ “ไม่กลืนกันเป็นน้ำเงินทั้งแผ่นดิน” เช่นเดียวกัน

4. Color Temperature :: แปลว่า “อุณหภูมิสี” หากเราปรับอุณหภูมิสีถูกต้องที่ 6500°K (K=Kelvin) จะได้ “สมดุลสีขาว” หรือ “White Balance” ที่ถูกต้องเฉกเช่นเดียวกับจอมอนิเตอร์ในสตูดิโอซึ่งผู้กำกับเอาไว้ใช้ดูภาพเวลาตัดต่อ Master นั่นแหละครับ  ศัพท์เทคนิคของนักปรับภาพระดับโปรเฟสชั่นแนล เรียกจุดสมดุลสีขาวที่ถูกต้องว่าจุด “D65” ซึ่งตัวเลข 6500°K นั้น เป็นค่าอุณหภูมิแสงสีที่ “ดวงอาทิตย์” ส่องแสงสว่างในเวลา “กลางวัน” โดยถือว่าแสงขาวที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ในช่วงเวลานี้เป็นแสงสีขาวที่ใช้ในการอ้างอิงสำหรับการมองเห็น จึงใช้เป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมวีดีโอ และ Digital Imaging รวมถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ผมมีตัวอย่างจาก “หลอดไฟ” แม้มาตรฐานการส่องสว่างของหลอดไฟจะแตกต่างจากจอภาพอยู่บ้าง แต่ใช้เปรียบเทียบให้เห็นภาพว่าในแต่ละช่วงอุณหภูมิสีของแสงขาวนั้น จะติดโทนสีอื่นแตกต่างกันออกไป


°K น้อยๆ = สีขาวติดโทนอุ่น แบบเหลือง-ส้ม / °K มากๆ = สีขาวจะเริ่มติดฟ้า-น้ำเงิน เป็นโทนเย็น

ข่าวร้ายคือการวัดอุณหภูมิสีอย่างแม่นยำนั้น มิอาจฟันธงด้วยตาเปล่าได้ จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์และซอฟท์แวร์ปรับภาพระดับโปรโฟสชั่นแนลพร้อมมิเตอร์ไว้วัดค่าต่างๆ เข้ามาช่วย ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงและใช้งานค่อนข้างยากสำหรับมือใหม่หรือคนทั่วไป อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นมิใช่ว่าเราจะไม่สามารถได้ White Balance จากจอภาพที่ใกล้เคียงกับค่าอ้างอิงได้ โดย “เคล็ดลับ” ก็คือการเลือกตัวเลือกตั้งค่าในส่วนของ “Color Temperature” ให้ถูกต้อง ซึ่งปกติจะให้มาดังต่อไปนี้
 

กราฟแสดงอุณหภูมิสี :: ดูแนวเส้นอ้างอิงตรงกลางได้ว่า Color Temperature ในแต่ละช่วง °K เช่น 10000°K / 6500°K / 4800°K / 2850°K มีโทนสีขาวที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
แต่เป้าหมายสำหรับมาตรฐานการอ้างอิง คือ 6500°K !!!



White Balance & Color Space:: เครื่องมือที่ใช้ในการอ้างอิง White Balance และ Color Space คือ Gamut CIE กรอบสี่เหลี่ยม คือ ขอบเขตการแสดงสีที่ถูกต้องตามมาตรฐานอุตสาหกรรมวีดีโอของ “แม่สีหลัก” (Red Green Blue) และ “แม่สีรอง” (Cyan Magenta Yellow) / ส่วนจุดสีขาวตรงกลางเรียกว่า “จุดสมดุลสีขาวที่ถูกต้อง” หรือ “D65” นั่นเอง (ก็จุดเดียวกับ 6500°K ของแนวเส้นอุณหภูมิสีนั่นแหละ) การปรับและวัดค่าทั้ง 2 อย่างนี้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ปรับภาพและวัดค่าภาพช่วย แต่ไม่ต้องกังวลเพราะผมมีแนวทางที่ง่าย และประหยัดกว่าในการอ้างอิงอุณหภูมิสีที่ถูกต้องเบื้องต้น

Color Temperature Mode :: ใช้แบบไหนดี ?
5.1 Cool :: โทนเย็น สีขาวจะติดอมน้ำเงิน สังเกตว่าสีขาวจะขาวโอโม่ติดน้ำเงินหน่อยเหมือนเสื้อนักเรียก โดยโทนนี้มักจะอยู่ในโหมด Vivid หรือ Dynamic ที่สว่างสุด สีสันสดใสสุด  
** อุณหภูมิสีจะอยู่สูงลิ่วที่ประมาณ 12000°K แนะนำ “ร้านขายทีวี” ให้ใช้โหมดนี้ ภาพสว่างฉ่ำเตะตามากเมื่อต้องสู้กับแสงรบกวนแวดล้อม

5.2 Neutral :: โทนเย็นกลางๆ สีขาวจะติดอมฟ้าเล็กน้อย โดยโทนนี้มักจะอยู่ในโหมดภาพสำเร็จรูปอย่าง Standard (บางค่ายใช้ว่า Normal หรือ Medium)
**อุณหภูมิสีจะอยู่ที่ประมาณ 8000°K ใกล้เคียงขึ้น ผมแนะนำโหมดนี้ไว้ดู “ฟรีทีวี” ทั่วไป

5.3 Warm :: โทนสีอุ่น สีขาวจะติดอมเหลืองแดงเล็กน้อย  โดยอุณหภูมิสีแบบ Warm นี้มักจะอยู่ในโหมด Movie/Cinema/Custom/Professional/Expert หรืออาจจะรวมถึงโหมด Photo ในบางยี่ห้อ (ต่างแบรนด์ก็ต่างชื่อเรียก) ซึ่งเป็นโหมดที่ให้อุณหภูมิสีและสมดุลสีขาวใกล้เคียงกับมาตรฐานอุตสาหกรรมวีดีโอมากที่สุด !!!
 **อุณหภูมิสีจะอยู่ที่ประมาณ 6000°K-7000°K หากเป็นทีวีตัวเทพๆ อาทิเช่น Sony HX925 รุ่นท็อปปี 2011 มันก็ Hit ที่ 6500°K เลย จะบวกลบไม่เกิน 50K เท่านั้น (เทพมาก) วิธีการไม่มีอะไรซับซ้อนเลย เพียงแค่ปรับเป็นโหมด Custom พร้อม Scene ภาพแบบ Cinema 1 และ Color Temperature แบบ Warm 1 โดยผมเองและทีมงานก็ได้สาธิต “วัดอุณหภูมิสี” เจ้า Sony ตัวนี้ให้ดูกันสดๆ ในงานบรรยายของ LCDTVTHAILAND ในงาน BAV HI-END SHOW 2012 ที่โรงแรมแลนด์มาร์คสุขุมวิท ที่ผ่านมา แนะนำหากจะ ใช้เป็นจอภาพอ้างอิง ไว้ดูหนัง Blu-ray, แหล่งโปรแกรม HD หรือใช้เป็นมอนิเตอร์ระดับโปร ให้ใช้โหมดนี้เลย !!!


โทนภาพในแต่ละอุณหภูมิสี เช่น 12000°K จะติดอมน้ำเงิน ส่วน 4000°K จะติดอมเหลืองแดง ในขณะที่ 6500°K เป็นอุณหภูมิสีที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นติดโทนอุ่นเล็กน้อย

157
เตรียมความพร้อมก่อนการปรับภาพ :: Pre-Calibration

1. แผ่น Digital Video Essential :: แผ่นปรับภาพที่มีความแม่นยำสูง แถมใช้งานง่ายมากด้วย มี Pattern เอาไว้ปรับภาพ และทดสอบภาพดีๆ เยอะแยะไปหมด ผมเองก็เริ่มเรียนรู้การปรับภาพจากแผ่นนี้เหมือนกัน

2. กำหนดโหมดภาพสำเร็จรูปของจอภาพ ให้เป็นโหมดที่มีอุณหภูมิสีใกล้เคียงกับ 6500°K หรือ White Balance ใกล้เคียงกับจุด D65 มากที่สุด โดยส่วนมากจะเป็นโหมด Expert / Professional / Cinema / Movie / Custom ซึ่งแต่ละแบรนด์จะใช้ชื่อเรียกต่างกัน แต่ให้จำง่ายๆ คือ ให้เลือกโหมดที่แปลว่า โหมดปรับเอง หรือโหมดภาพยนตร์ครับ ค่าอุณหภูมิสีมักจะใกล้เคียง 6500°K บวก-ลบไม่เกิน 500°K ถือว่าใกล้เคียงต้นฉบับในสตูดิโอในระดับที่รับได้ ! รวมถึงการปิดตัวช่วยภาพเช่น Dynamic Contrast / Dynamic Color / Edge Enhancement / Light Sensor ทิ้งให้หมดเพื่อให้ค่าภาพที่ได้มี “ความนิ่ง” ในการอ้างอิง “ไม่แปรผัน” ตามสภาพแวดล้อมและคอนเทนต์


แผ่นบลูเรย์ Digital Video Essential (DVE) หนึ่งในแผ่นอ้างอิงที่ใช้ในการปรับภาพเบื้องต้น

เริ่มปรับภาพ :: ค่าภาพต่างๆ ที่เราต้องปรับเพื่อบรรลุเป้าหมาย 4 ข้อข้างต้น

1. Brightness :: แปลว่า “ระดับของสีดำ” ค่านี้จัดได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของการปรับภาพเลยก็ว่าได้ หากท่านเคยเจอปัญหาภาพ “ดำจม” หรือ “รายละเอียดในที่มืดแสดงไม่ชัดเจน” ไปจนถึง “ดำลอย” คือ สีดำที่ขาดน้ำหนัก ไม่ดำจริง นั่นหมายถึงเราปรับระดับ Brightness ไม่ถูกต้อง  หากปรับ Brightness มากไป สีดำจะไม่ดำสนิท ออกดำสว่าง ดำอมเทา หากเป็น Plasma TV บางรุ่นก็จะเกิดเม็ด Noise ยิบๆขึ้นมาเป็นของแถมด้วย *_* ในทางกลับกันหากเราปรับ Brightness น้อยเกินไป รายละเอียดในที่มืดก็จะจมหายไป หรือที่เราเรียกกันว่า  “ดำจม” นั่นแหละครับ
หมายเหตุ :: ศัพท์อื่นๆที่ใช้แทน Brightness ได้แก่ Shadow Detail และ Black Level


     Brightness มากไป = ดำเทา        Brightness น้อยไป = ดำจม             Brightness ถูกต้อง


Pattern เอาไว้ทดสอบระดับ Brightness ขั้นตอนคือ ปรับระดับ Brightness ของจอภาพจนเห็นแถบดำ ซ้าย-ขวา ด้านละ 3 แท่ง


จากนั้นปรับลดระดับ Brightness ลงจนแท่งริมสุด (ดำเข้ม) กลืนเข้ากับพื้นหลัง จะเห็นว่าแถบเทา 2 แท่ง ทั้ง 2 ด้าน ยังมองเห็นได้อยู่

ปรับถูกต้อง :: จะเห็นแถบสีเทาด้านละ 2 แท่ง เท่านั้น ! ระดับ Brightness จะเป็นตำแหน่งที่แถบดำเข้มจะกลืนไปกับพื้นหลังพอดี
ปรับมากไป :: แถบสีดำเข้ม (ริมสุด) จะโผล่มา ผลคือ พื้นหลังจะไม่ดำสนิท กลายเป็นดำสว่างอมเทาไปซะงั้น
ปรับน้อยไป :: จะกระทบกับแถบสีเทาหายไป เท่ากับเป็นการลดทอนรายละเอียดในส่วนมืดให้มองเห็นได้ลำบากขึ้น กล่าวคือ รายละเอียดในฉากมืดจม จึงมองไม่เห็นในส่วนที่ควรจะเห็น

2. Contrast :: แปลว่า การเปรียบต่าง แต่สำหรับจอภาพจะเกี่ยวเนื่องกับ “ระดับสีขาว หรือความสว่าง” (การปรับระดับความสว่างสูงขึ้นจะทำให้ความเปรียบต่างของระดับสีขาวและดำของจอภาพเพิ่มขึ้น) แต่ค่ายทีวีแทบทุกเจ้าดันแปลว่า ความคมชัด หรือ ความเข้ม ซึ่งถือว่าเป็นการสื่อสารที่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว หากเราปรับระดับ Contrast สูงมากจนเกินไป จะส่งผลให้รายละเอียดการไล่ระดับสีขาวจะขาวโพลนไปทั้งหมด ในขณะที่หากเราปรับ Contrast น้อยเกินไป สีขาวที่ได้ก็จะหม่นๆ แบบขาวขุ่น ไม่ได้ขาวจั๊วะ แถมภาพยังจะดูมืดๆ เสียอีก แต่เป็นข้อโชคดีของเราอย่างหนึ่งเพราะว่าทีวีในปัจจุบันนี้ (ไม่นับรวมถึง โปรเจ็กเตอร์) จะสามารถปรับ Contrast ปรับเต็ม 100 หรือกดเต็มแม็กซ์ได้โดยไม่เกิดอาการขาวโพลนครับ  แต่ถ้าหากเป็นพวก Projector หากเราปรับเต็มแม็กซ์แล้วรับรองว่าภาพขาวโพลนเกิดขึ้นแน่นอนเพราะสามารถเร่ง Contrast ภาพให้สว่างได้มากกว่าทีวี (แรงกว่า…ว่างั้นเถอะ !) เพราะฉะนั้นหากจะปรับ Contrast ใน Projector ก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ !   


                           Contrast ถูกต้อง                VS           Contrast มากไป ทำให้ขาวโพลน


Pattern ไว้เช็ค Contrast ขั้นตอนคือ ปรับระดับ Contrast สูงที่สุด ในขณะที่ไม่ส่งผลถึงระดับสีขาว 2 แท่ง ริม (ต้องเกือบจะกลืนกัน แต่ยังคงแยกแยะได้เล็กน้อย)

ปรับถูกต้อง :: ที่ให้แท่งสีขาว 2 แท่งสุดท้ายมีระดับที่สังเกตความต่างกันได้เล็กน้อย



ปรับมากไป :: หากปรับ Contrast มากไปจะสังเกตได้ว่าแท่งสีขาวด้านริมๆจะขาวโพลนกลืนกันไปหมดเลยผลลัพธ์หากเป็นการแสดงภาพจริงก็เช่นตัวอย่างเสื้อขาวโพลนข้างต้น

158
ปรับภาพนั้น…สำคัญไฉน !!! ความสำคัญของการปรับภาพและเทคนิคการปรับภาพเบื้องต้น

เนื่องด้วยเว็บไซต์ LCDTVTHAILAND อันเป็นที่รักของพวกเรามีอายุครบ 3 ปี ทางนายโรมันเองเลยขอเขียนบทความพิเศษ “สอนเทคนิคการปรับภาพทีวีเบื้องต้น” ให้กับสมาชิกครับ ครั้นจะเขียนรีวิวทดสอบสินค้าแบบปกติก็รู้สึกจะธรรมดาไปสักนิดครับ เอาเป็นว่าใครใช้พวก LED / LCD TV หรือ Plasma TV อยู่ที่บ้านในตอนนี้สามารถลองเอาไปปรับเล่นดูได้ครับ



ภาพที่ดีคืออะไร?
เชื่อเหลือเกินว่าโดยทั่วไปแล้วเมื่อเราเดินไปที่แผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าโซนทีวี เห็นภาพที่แบรนด์ทีวีชั้นนำต่างเปิดเรียงรายกันด้วย Content ระดับเทพที่ทำมาเพื่อการแสดงหน้าร้านโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่เป็นพวกการ์ตูนหรือหนังตัวอย่าง ที่ได้รับการปรับให้มีความสดจัดจ้าน เน้น Sharpness สูงเสียจนคมแต่แข็ง พวกเราจะคิดว่า “ทีวีตัวนั้นภาพดี” แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่ครับ ภาพที่ดีคือ “ภาพที่เหมือนหรือใกล้เคียงกับต้นฉบับ อาทิเช่นฟิล์มภาพยนตร์ต้น หรือไฟล์ดิจิทัลต้นฉบับในสตูดิโอนั่นเอง” หากให้เปรียบเทียบกับพวกเครื่องเสียงก็คือ เครื่องเสียงที่ดีจะต้องสามารถถ่ายทอดรายละเอียดออกมาให้เหมือนกับนักร้องมา “ร้องสด” ต่อหน้าเราจริงๆ หรือหากเทียบกับแผ่น CD Audio ก็คือเสียงที่เหมือนกับเวลาที่นักร้องกำลัง “บันทึกอยู่ในสตูดิโอ หรือคอนเสิร์ตฮอลล์” นั่นแหละครับ แต่ส่วนใหญ่คนทั่วไปจะเข้าใจว่าเครื่องเสียงที่ดีจะต้องถ่ายทอดเสียงแบบคมชัดสุดๆ เสียงร้องชัดๆ คมๆจัดๆ เสียงใส เบสกระหึ่ม เหมือนกับที่ร้านเครื่องเสียงบางแห่งมักจะเซ็ตอัพให้เราได้ลองฟังกัน



ทำไมต้องปรับภาพ ?
แน่นอนครับทีวีที่ออกมาจากโรงงานมักจะปรับภาพหรือเซ็ตอัพให้สดสว่างๆ ชัดจัดจ้าน ซึ่งแน่นอนว่าภาพมันจะ “เกินจริง” เหตุผลเพราะว่าภาพมันจะได้ “เรียกร้องความสนใจ” เมื่อแรกเห็น กับลูกค้าที่เดินเข้ามาภายในบูธของแบรนด์ทีวีนั้นๆ ครับ เครื่องเสียงเช่นเดียวกันกับเครื่องเสียงหากเซ็ตอัพให้ฟังแล้วคมชัดๆจัดจ้านตั้งแต่ต้น บางทีลูกค้าอาจจะมีความรู้สึก “ว้าว” กับ First Impression ที่ได้สัมผัส ดังนี้ภาพที่ได้ในตอนแรกมักไม่ถูกต้องครับ กล่าวได้ว่าพวก Contrast, Brightness, Color, Sharpness และค่าตัวช่วยเรียกร้องความสนใจด้านภาพอื่นๆ จะ “ถูกเร่งมาสูงเกินจริงเสมอ” เราต้องเข้าใจด้วยว่าภาพแบบนั้นมันเหมาะกับการโชว์ในห้างร้านอย่างเดียว

ประโยชน์ของการปรับภาพ
1.ได้ภาพถูกต้องเฉกเช่นที่ “ผู้กำกับต้องการสื่ออออกมาให้เราได้เห็น” :: นั่นหมายถึงเราจะเข้าถึงอารมณ์และความหมายของหนังที่แท้จริงได้ ยกตัวอย่างเช่นหากเราดูหนังเรื่อง 300 ขุนศึกพันธุ์สะท้านโลก เกี่ยวกับการต่อสู้ในสมรภูมิของนักรบสปาร์ตันที่มีกำลังพลเพียงแค่ 300 คนเท่านั้น สังเกตได้ว่าโทนแสงสีของหนังจะออกแนวกึ่งโมโนโทน ค่อนข้าง “ทะมึนทึมทึบ” ทั้งหุบเขา ต้นไม้ ใบหญ้า เพื่อจะสื่อให้เห็นบรรยากาศแห่งความ “หดหู่” และ “กดดัน” ในสภาวะสงคราม หนังจึงมีอารมณ์บีบหัวใจเป็นอย่างมาก บางท่านไม่เข้าใจโทนแสงสีแบบนี้และไม่ชอบอะไรที่ดูทะมึนๆ ก็จะไปปรับแสงสีให้ดูสดจัดจ้าน ไปเร่งค่า Brightness และ Contrast จนโอเว่อร์ ภาพที่ได้ก็จะเกินจริงกว่าที่ผู้กำกับต้องการสื่อออกมาให้เห็น ในขณะเดียวกันหนังเรื่อง AVATAR จะสังเกตได้ว่าโทนแสงสีของต้นไม้ ใบหญ้าในป่า Pandora นั้นมีความจัดจ้าน เขียวชอุ่ม ทะเลสาบสีน้ำเงินเข้ม ท้องฟ้าก็สีฟ้าสดใส นี่คือสิ่งที่ผู้กำกับ “เจมส์ คาเมรอน” ต้องการสื่อออกมาให้เห็นความ “อุดมสมบูรณ์” ในป่า Pandora ในช่วงที่ไม่มีเหล่า “มนุษย์” เข้ามารุกราน แต่บางท่านชอบแนวภาพนวลตา อาจไปลดความสดอิ่มของสี ให้มันดูจืดๆ ลง เพราะเข้าใจว่า ระดับสีสันที่นวลตาให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติมากกว่า แต่อย่าลืมว่านี่เป็นการอ้างอิงจากสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน มิได้รวมถึง “จินตนาการ” จากสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หากปรับแบบนี้ก็จึงเป็นการบิดเบือนภาพที่ผู้กำกับต้องการสื่อให้เราได้รับรู้


หากจะให้บอกว่าแนวภาพที่ผู้กำกับอยากจะสื่อออกมาให้เห็น = ภาพที่ถูกต้อง หนัง 2 เรื่องนี้คงทำให้ทุกท่านเห็นภาพ

2. นำไปใช้เป็นค่ากลางในการอ้างอิงเปรียบเทียบประสิทธิภาพของจอแบบตัวต่อตัวได้ :: แน่นอนว่าหากจะเอาทีวีมาเปรียบเทียบกันแบบตัวต่อตัวแล้ว หากเราไม่ปรับภาพให้ถูกต้องตามมาตรฐานอุตสาหกรรมวีดีโอก่อนหละก็ ทีวีตัวเป็นแสนก็สามารถแพ้ทีวีตัวละไม่กี่หมื่นได้ ยิ่งทำงานทางด้านรีวิวสินค้าแบบนี้ ซึ่งต้องฟันธงและให้คะแนนทีวีแต่ละตัว ก็ยิ่งต้องปรับภาพให้ถูกต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันเสียก่อนครับ

หลักการปรับภาพ 4 ข้อ (อ้างอิงจากสถาบัน Imaging Science Foundation “ISF”)

1. Dynamic Range :: คือการปรับ Brightness และ Contrast เพื่อให้จอสามารถแสดงรายละเอียดในที่มืดและที่สว่างออกมาได้อย่างครบถ้วนเต็มศักยภาพ นี่เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการปรับภาพ

2. Color Saturation :: คือการปรับระดับความสดอิ่มของสี ให้ถูกต้องเป็นธรรมชาติ ไม่สดเกินไป และไม่จิดเกินไป โดยเราจะปรับค่า Color และ Tint

3. Colorimetry :: ความถูกต้องของสี แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ 1) White Balance : การกำหนดให้อุณหภูมิสีใกล้เคียง 6500°K ซึ่งจะทำให้ White balance หรือสมดุลสีขาวอยู่ตรงจุด D65 White Balance อันเป็นการอ้างอิงอุณหภูมิสีของแสงจากดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงตรง เป็นแสงสีขาวที่ใช้อ้างอิงว่าเป็นแสงสีขาวที่ถูกต้องในแง่สมดุล ไม่ใช่ขาวอมน้ำเงิน อมเหลือง หรือขาวอมเขียว เป็นต้น 2) Color Space หรือ การอ้างอิงความสัมพันธ์ของขอบเขตและความถูกต้องของแม่สีหลัก RGB และแม่สีรอง CMY

4. Resolution :: คือการปรับ Aspect Ratio หรือ Picture Size ของทีวี (สัดส่วนภาพ) ให้แสดงภาพแบบ 1:1 Pixel Matching ได้ คือ Input มากี่พิกเซล ก็สามารถ Output ออกจอต้องเท่ากับจำนวน Input แบบเป๊ะๆ เพื่อมิให้บิดเบือนรายละเอียด รวมไปถึงพื้นที่การแสดงภาพ



159
5. Resolution - Aspect Ratio or Picture Size :: แปลว่า “สัดส่วนภาพ”  เช่นหนัง Blu-ray เรื่อง AVATAR มีความละเอียดต้นฉบับที่ 1920 x 1080 พิกเซล เราจะทำอย่างไรให้ทีวีนั้นแสดงภาพ 1920 x 1080 พิกเซล ออกมาครบทุกเม็ดทุกหน่วย ไม่ขาดไปแม้แต่พิกเซลเดียว หรือถูกบิดเบือนขนาด และอัตราส่วนให้บิดเบี้ยว รวมถึงรายละเอียดขอบภาพไม่โดน Crop ตัดหายไป ซึ่งมีศัพท์ทางเทคนิคเรียกว่า 1:1 Pixel Matching โดยผมเองได้สรุปชื่อเรียกสัดส่วนภาพที่ถูกต้องของแต่ละแบรนด์มาให้แล้วดังต่อไปนี้

สัดส่วนภาพที่ “ถูกต้อง” 1:1 Pixel Matching (แนะนำเวลาดูหนัง หรือใช้งานเป็นมอนิเตอร์)
LG = Just Scan
Philips = Unscaled
Panasonic = 16:9 แล้วไปปิด Overscan เป็น Off
Samsung = Screen Fit
Sony = Full Pixel
Sharp = Dot by Dot
Toshiba = Native

ในขณะที่สัดส่วนภาพที่มีชื่อว่า “16:9” เหมือนจะเป็นชื่อที่ถูกต้อง ก็แหมสัดส่วนเดียวกับทีวี Widescreen 16:9 ของเราเลยหนิ แต่หารู้ไหมว่า “คดีพลิก” !!! ทำให้หลายท่านเข้าใจผิดไปยกใหญ่ เพราะโหมด 16:9 มักจะเป็นโหมดที่ “Crop ภาพ” ทั้งด้านบน, ด้านข้างและด้านล่างไปซัก 2.5%-5% ทำให้ขอบภาพในแต่ละด้าน “หายไปหน่อยนึง” เหตุผลที่แบรนด์ทีวีต่างๆมักใช้โหมดนี้เป็น “ค่าแรกเริ่ม” ตั้งแต่ต้นก็เพราะบริเวณขอบภาพของฟิล์มภาพยนตร์ และวิดีโอ ในอดีตมักจะมีรอยขีดเขียน หรือรอยจากพวกมาร์กเกอร์ ทำให้ขอบภาพดูไม่สะอาดและไม่เรียบร้อย จึงตั้งให้โหมด 16:9 Crop ส่วนขอบนี้ทิ้งไปตั้งแต่ต้นซะเลย ขณะเดียวกันก็ใช้เป็น “โหมดขยายภาพให้เต็มจอ 16:9” เมื่อรับชมกับคอนเทนต์อัตราส่วนอื่น (เช่น 4:3)


รูปประกอบเป็น Pattern จากแผ่น DVE  ไว้เช็คสัดส่วนภาพ

ปรับไม่ถูกต้อง :: รูปประกอบข้างบนเป็นการเลือกสัดส่วนภาพของทีวีที่โหมด 16:9 จะพบว่าโดน Crop ขอบภาพหายไปประมาณ 2.5%-5% (สังเกตว่าเส้นกรอบสี่เหลี่ยมที่เขียนว่า safe action 5% จะหลุดขอบออกไป)



ปรับถูกต้อง :: หากปรับสัดส่วนภาพแบบ 1:1 Pixel Matching ภาพจะไม่ถูก Crop แม้แต่นิดเดียว แสดงออกมาทุกพิกเซล สังเกตจากเม็ดสีดำๆตรงกลาง บริเวณขอบด้านบนและด้านข้าง จะโผล่ไล่ระดับให้เห็นครบถ้วน

6. Resolution - Sharpness :: ถึงแม้จะแปลว่า “ความคมชัด” แต่หากปรับค่านี้มากไปจะทำให้ภาพขึ้นขอบจนแตก เป็นรอยหยัก ออกเรื้อนแบบหยาบกร้าน หรือมีวุ้นขาวๆ เรืองตามขอบภาพ พร้อมทั้ง Noise ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ที่แฝงมากับคอนเทนต์จะปรากฏขึ้นมาให้เห็นชัดเจนขึ้น แต่ถ้าหากปรับน้อยไป ภาพก็จะออกแนวนุ่มนวล เบลอ มัว มน ไม่คมชัด เรามาดูผลเสียของปรับ Sharpness ไม่ถูกต้องตามรูปดังต่อไปนี้


      Sharpness ถูกต้อง                          VS                              Sharpness มากเกินไป



ปรับถูกต้อง :: Pattern นี้นอกจากเอาไว้ทดสอบ Aspect Ratio แล้ว ยังใช้ทดสอบ Sharpness ในเบื้องต้นได้ครับ หากปรับมากไปจะมีวุ้นเรืองๆสีขาวเกิดขึ้นตามขอบเส้น ปรับให้ถูกต้องพอดีพวกวุ้นเรืองๆ จะหายไป


ปรับมากไป :: โคลสอัพให้ดูเม็ดพิกเซลกันแบบใกล้ชิด หากปรับ Sharpness มากเกินไปจะเกิด “วุ้นขาวๆ เรืองแสง” ตามขอบเส้นของรูปเครื่องหมายบวก


สรุปเบื้องต้นว่า หากทุกท่านปรับภาพตามหลักพื้นฐานเบื้องต้นนี้ เราก็ได้ทีวีที่สามารถถ่ายทอดภาพได้ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากๆ ถึงจะไม่ 100% ก็ตาม ขาดก็เพียงแต่การปรับค่า White Balance และ Color Space ให้ถูกต้องเป๊ะๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ แต่อย่างน้อยรายละเอียดมาครบแน่นอน จึงสามารถบอกได้ว่าทีวีตัวที่ท่านปรับภาพเบื้องต้นสามารถแสดงภาพได้ดีและถูกต้องใกล้เคียงกับที่ผู้กำกับต้องการสื่อออกมาให้เราได้รับชมกัน

ปรับภาพให้ถูกต้อง VS ถูกใจ
คำถามนี้เป็น “คำถามโลกแตก” รองมากจาก LCD หรือ Plasma อะไรดีกว่ากัน? ซึ่งได้สร้างดราม่ามานานหลายปีติดต่อกัน ผมคงไม่อาจกำหนดให้ทุกท่านเชื่อในสิ่งที่นำเสนอมานี้ เพราะอย่างไรเสียความชอบส่วนบุคคลถือเป็นสิ่งที่มิอาจประเมินได้ แต่ขอสรุปแบบนี้นะครับว่า ประโยชน์สำหรับผู้ชมทั่วไป ในการปรับภาพถูกต้องจะช่วยให้เรา “ตอบโจทย์” ของ “ผู้กำกับหนัง” ที่ต้องการสื่อออกมาให้เราได้รับทราบ ในมุมมองของผมคือ เราจะเข้าใจถึงอรรถรสของหนังอย่างถ่องแท้มากยิ่งขึ้น ไม่มีบิดเบือนในรายละเอียดของภาพที่หายไปรวมถึงโทนแสงสีที่ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ แนวภาพจะเป็นโทนอุ่นถูกต้องตามมาตรฐานสตูดิโอ ดูแล้วสบายตา ภาพเป็นธรรมชาติมาก (หากผู้กำกับต้องการสื่อออกมาอย่างนั้น) สังเกตให้ดีว่าแนวภาพแบบถูกต้องเช่นนี้จะใกล้เคียงกับโรงหนังมากครับ และประโยชน์สำหรับผู้ทำงานด้านจอภาพโดยตรง อย่างเช่นสตูดิโอที่จำเป็นต้องปรับตั้งค่าจอมอนิเตอร์เพื่อใช้อ้างอิงในการผลิตหนังออกมา ตลอดจนนักออกแบบกราฟิก ช่างภาพ นักทดสอบ ฯลฯ ที่จำเป็นต้อง “อิงมาตรฐานความถูกต้อง” ผ่านจอภาพ เช่นเดียวกับการทดสอบของ เว็บ LCDTVTHAILAND และนิตยสาร Videophile ที่ต้องทำการเปรียบเทียบทีวี และฟันธงคุณภาพของจอว่าตัวไหนดีกว่ากัน? ย่อมจำเป็นต้องปรับภาพให้เป็นมาตรฐานเดียวกันซะก่อน จึงจะตัดสินได้

อย่างไรก็ตาม หากให้พิจารณากันใน “มุมมองของผู้ใช้ทั่วไป” ทีวีก็คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สร้างความสุขให้กับเรา ภาษาอังกฤษยังจัดให้อยู่ในหมวด Home Entertainment ที่แปลว่า ความบันเทิงภายในบ้านเลย ! หากเราปรับภาพแบบถูกต้องแล้วรู้สึกว่ามันนวลไป ดูธรรมชาติไปซักนิด แล้วไปเร่งแสงสี คอนทราสท์ให้สดขึ้น อยากให้ภาพจากจอมันดูสดใสจัดจ้าน มีชีวิตชีวา ก็สามารถเลือกปรับภาพให้ถูกใจเช่นนี้ได้ ถ้าหากมันเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ความสุขกับท่านได้มากกว่าก็ถือว่าแนะนำอย่างยิ่งครับ (บางกรณีผมก็ชอบนะ อิอิ) ดังนี้การไปยึดติดกับหลักการและความถูกต้องมากเกินไปอาจจะ “ไม่ตอบโจทย์” ในเชิงปฏิบัติเสียทีเดียว สรุปคำตอบของคำถามดราม่าว่า ให้ลองปรับภาพทั้ง 2 แบบทั้งแบบ “ถูกต้อง” และ “ถูกใจ” ดูเสียก่อน แล้วลองดูหนังไปหลายๆ เรื่อง ลองเปรียบเทียบภาพกันว่าเราชอบแบบไหนมากกว่ากัน? แบบไหนสร้างความสุขให้เราได้มากกว่ากัน? หากเราสามารถตอบโจทย์ข้อนี้ได้แล้ว ผมเชื่อว่าทุกท่านสามารถ “บรรลุความสุขที่แท้จริง” จากทีวีตัวโปรดของท่านได้ แต่หากจะก้าวข้ามความชอบส่วนบุคคลไปถึงขั้น “อ้างอิง” ยังไงเราก็ต้องมี “มาตรฐาน” ครับ !

บทความ :: ปรับภาพนั้น…สำคัญไฉน !!! ความสำคัญของการปรับภาพและเทคนิคการปรับภาพเบื้องต้น
http://lcdtvthailand.com/article/detail.asp?desc=1&param_id=1116

160
3. Color / Tint ::  Color คือ “ความสดอิ่ม” ของสีสันโดยรวมทั้งหมด หากปรับมากไปสีสันก็จะสดโอเว่อร์จนเกินจริง เช่นใบหน้าติดแดง หญ้าเขียวฉ่ำเกินไปเหมือนในนิยาย ในขณะที่ปรับน้อยไปสีก็จะจืดชืดเกินไป  หรือหากลดระดับลงไปสุดๆ ให้เหลือ 0 จะกลายเป็นภาพขาวดำทันทีครับ ในส่วนของ Tint เป็นการปรับความสัมพันธ์ระหว่างสีแดงกับสีเขียว โดยส่วนมากแล้วจะเอาปรับ “สีผิวของคน”  (Skin Tone) ให้ถูกต้อง หากปรับมากไป (R) สีผิวของคนจะ “อมแดง” ในขณะที่ปรับน้อยไป (G) สีผิวของคนจะกลายเป็น “อมเขียว” เหมือนไอ้ยักษ์เขียว Hulk ซะงั้น ^ ^ อย่างไรก็ตาม จากที่ผมได้มีโอกาสทดสอบทีวีมาหลายยี่ห้อหลายรุ่น ทีวียุคนี้ถือว่าเซ็ตค่า Tint มาค่อนข้างดีตั้งแต่ต้น โดยแทบไม่ต้องปรับแก้ไขอะไรเพิ่มเติมเลย ดังนี้เรามาดูการปรับค่า Color อย่างเดียวก็พอ


Color มากไป สีสดเกินจริงทั้งใบหน้าของคนและกำแพงไม้ด้านหลัง
Color ถูกต้อง สีถูกต้องเป็นธรรมชาติ สีไม้ก็เป็นไม้ ใบหน้าของสาวน้อยผู้นี้ก็เป็นธรรมชาติ


Pattern จาก DVE อันนี้เอาไว้ทดสอบความถูกต้องของค่า Color


เบื้องต้นลองใช้ Color Filter โดยมองผ่าน “ช่องสีน้ำเงิน”


ปรับถูกต้อง :: มองผ่าน Color Filter สีน้ำเงิน จะมองเห็นสี่เหลี่ยมสีเข้ม 6 ช่อง เท่านั้น
บริเวณโดยรอบจะกลืนเป็นสีพื้นเดียวกันหมด



ปรับมากหรือน้อยไป :: จะสังเกตเห็นสี่เหลี่ยมในตำแหน่งอื่น ๆ นอกเหนือจากสี่เหลี่ยมสีเข้ม 6 ช่อง ข้างต้น กล่าวคือ พื้นหลัง “ไม่กลืนกันเป็นน้ำเงินทั้งแผ่นดิน”

ทั้งนี้นอกเหนือจากการกำหนดระดับ Color ที่ไม่ถูกต้องแล้ว การกำหนด Tint ที่ไม่ถูกต้องก็ก่อให้เกิดผลลัพธ์ “ไม่กลืนกันเป็นน้ำเงินทั้งแผ่นดิน” เช่นเดียวกัน

4. Color Temperature :: แปลว่า “อุณหภูมิสี” หากเราปรับอุณหภูมิสีถูกต้องที่ 6500°K (K=Kelvin) จะได้ “สมดุลสีขาว” หรือ “White Balance” ที่ถูกต้องเฉกเช่นเดียวกับจอมอนิเตอร์ในสตูดิโอซึ่งผู้กำกับเอาไว้ใช้ดูภาพเวลาตัดต่อ Master นั่นแหละครับ  ศัพท์เทคนิคของนักปรับภาพระดับโปรเฟสชั่นแนล เรียกจุดสมดุลสีขาวที่ถูกต้องว่าจุด “D65” ซึ่งตัวเลข 6500°K นั้น เป็นค่าอุณหภูมิแสงสีที่ “ดวงอาทิตย์” ส่องแสงสว่างในเวลา “กลางวัน” โดยถือว่าแสงขาวที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ในช่วงเวลานี้เป็นแสงสีขาวที่ใช้ในการอ้างอิงสำหรับการมองเห็น จึงใช้เป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมวีดีโอ และ Digital Imaging รวมถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ผมมีตัวอย่างจาก “หลอดไฟ” แม้มาตรฐานการส่องสว่างของหลอดไฟจะแตกต่างจากจอภาพอยู่บ้าง แต่ใช้เปรียบเทียบให้เห็นภาพว่าในแต่ละช่วงอุณหภูมิสีของแสงขาวนั้น จะติดโทนสีอื่นแตกต่างกันออกไป


°K น้อยๆ = สีขาวติดโทนอุ่น แบบเหลือง-ส้ม / °K มากๆ = สีขาวจะเริ่มติดฟ้า-น้ำเงิน เป็นโทนเย็น

ข่าวร้ายคือการวัดอุณหภูมิสีอย่างแม่นยำนั้น มิอาจฟันธงด้วยตาเปล่าได้ จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์และซอฟท์แวร์ปรับภาพระดับโปรโฟสชั่นแนลพร้อมมิเตอร์ไว้วัดค่าต่างๆ เข้ามาช่วย ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงและใช้งานค่อนข้างยากสำหรับมือใหม่หรือคนทั่วไป อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นมิใช่ว่าเราจะไม่สามารถได้ White Balance จากจอภาพที่ใกล้เคียงกับค่าอ้างอิงได้ โดย “เคล็ดลับ” ก็คือการเลือกตัวเลือกตั้งค่าในส่วนของ “Color Temperature” ให้ถูกต้อง ซึ่งปกติจะให้มาดังต่อไปนี้
 

กราฟแสดงอุณหภูมิสี :: ดูแนวเส้นอ้างอิงตรงกลางได้ว่า Color Temperature ในแต่ละช่วง °K เช่น 10000°K / 6500°K / 4800°K / 2850°K มีโทนสีขาวที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
แต่เป้าหมายสำหรับมาตรฐานการอ้างอิง คือ 6500°K !!!



White Balance & Color Space:: เครื่องมือที่ใช้ในการอ้างอิง White Balance และ Color Space คือ Gamut CIE กรอบสี่เหลี่ยม คือ ขอบเขตการแสดงสีที่ถูกต้องตามมาตรฐานอุตสาหกรรมวีดีโอของ “แม่สีหลัก” (Red Green Blue) และ “แม่สีรอง” (Cyan Magenta Yellow) / ส่วนจุดสีขาวตรงกลางเรียกว่า “จุดสมดุลสีขาวที่ถูกต้อง” หรือ “D65” นั่นเอง (ก็จุดเดียวกับ 6500°K ของแนวเส้นอุณหภูมิสีนั่นแหละ) การปรับและวัดค่าทั้ง 2 อย่างนี้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ปรับภาพและวัดค่าภาพช่วย แต่ไม่ต้องกังวลเพราะผมมีแนวทางที่ง่าย และประหยัดกว่าในการอ้างอิงอุณหภูมิสีที่ถูกต้องเบื้องต้น

Color Temperature Mode :: ใช้แบบไหนดี ?
5.1 Cool :: โทนเย็น สีขาวจะติดอมน้ำเงิน สังเกตว่าสีขาวจะขาวโอโม่ติดน้ำเงินหน่อยเหมือนเสื้อนักเรียก โดยโทนนี้มักจะอยู่ในโหมด Vivid หรือ Dynamic ที่สว่างสุด สีสันสดใสสุด 
** อุณหภูมิสีจะอยู่สูงลิ่วที่ประมาณ 12000°K แนะนำ “ร้านขายทีวี” ให้ใช้โหมดนี้ ภาพสว่างฉ่ำเตะตามากเมื่อต้องสู้กับแสงรบกวนแวดล้อม

5.2 Neutral :: โทนเย็นกลางๆ สีขาวจะติดอมฟ้าเล็กน้อย โดยโทนนี้มักจะอยู่ในโหมดภาพสำเร็จรูปอย่าง Standard (บางค่ายใช้ว่า Normal หรือ Medium)
**อุณหภูมิสีจะอยู่ที่ประมาณ 8000°K ใกล้เคียงขึ้น ผมแนะนำโหมดนี้ไว้ดู “ฟรีทีวี” ทั่วไป

5.3 Warm :: โทนสีอุ่น สีขาวจะติดอมเหลืองแดงเล็กน้อย  โดยอุณหภูมิสีแบบ Warm นี้มักจะอยู่ในโหมด Movie/Cinema/Custom/Professional/Expert หรืออาจจะรวมถึงโหมด Photo ในบางยี่ห้อ (ต่างแบรนด์ก็ต่างชื่อเรียก) ซึ่งเป็นโหมดที่ให้อุณหภูมิสีและสมดุลสีขาวใกล้เคียงกับมาตรฐานอุตสาหกรรมวีดีโอมากที่สุด !!!
 **อุณหภูมิสีจะอยู่ที่ประมาณ 6000°K-7000°K หากเป็นทีวีตัวเทพๆ อาทิเช่น Sony HX925 รุ่นท็อปปี 2011 มันก็ Hit ที่ 6500°K เลย จะบวกลบไม่เกิน 50K เท่านั้น (เทพมาก) วิธีการไม่มีอะไรซับซ้อนเลย เพียงแค่ปรับเป็นโหมด Custom พร้อม Scene ภาพแบบ Cinema 1 และ Color Temperature แบบ Warm 1 โดยผมเองและทีมงานก็ได้สาธิต “วัดอุณหภูมิสี” เจ้า Sony ตัวนี้ให้ดูกันสดๆ ในงานบรรยายของ LCDTVTHAILAND ในงาน BAV HI-END SHOW 2012 ที่โรงแรมแลนด์มาร์คสุขุมวิท ที่ผ่านมา แนะนำหากจะ ใช้เป็นจอภาพอ้างอิง ไว้ดูหนัง Blu-ray, แหล่งโปรแกรม HD หรือใช้เป็นมอนิเตอร์ระดับโปร ให้ใช้โหมดนี้เลย !!!


โทนภาพในแต่ละอุณหภูมิสี เช่น 12000°K จะติดอมน้ำเงิน ส่วน 4000°K จะติดอมเหลืองแดง ในขณะที่ 6500°K เป็นอุณหภูมิสีที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นติดโทนอุ่นเล็กน้อย

161
เตรียมความพร้อมก่อนการปรับภาพ :: Pre-Calibration

1. แผ่น Digital Video Essential :: แผ่นปรับภาพที่มีความแม่นยำสูง แถมใช้งานง่ายมากด้วย มี Pattern เอาไว้ปรับภาพ และทดสอบภาพดีๆ เยอะแยะไปหมด ผมเองก็เริ่มเรียนรู้การปรับภาพจากแผ่นนี้เหมือนกัน

2. กำหนดโหมดภาพสำเร็จรูปของจอภาพ ให้เป็นโหมดที่มีอุณหภูมิสีใกล้เคียงกับ 6500°K หรือ White Balance ใกล้เคียงกับจุด D65 มากที่สุด โดยส่วนมากจะเป็นโหมด Expert / Professional / Cinema / Movie / Custom ซึ่งแต่ละแบรนด์จะใช้ชื่อเรียกต่างกัน แต่ให้จำง่ายๆ คือ ให้เลือกโหมดที่แปลว่า โหมดปรับเอง หรือโหมดภาพยนตร์ครับ ค่าอุณหภูมิสีมักจะใกล้เคียง 6500°K บวก-ลบไม่เกิน 500°K ถือว่าใกล้เคียงต้นฉบับในสตูดิโอในระดับที่รับได้ ! รวมถึงการปิดตัวช่วยภาพเช่น Dynamic Contrast / Dynamic Color / Edge Enhancement / Light Sensor ทิ้งให้หมดเพื่อให้ค่าภาพที่ได้มี “ความนิ่ง” ในการอ้างอิง “ไม่แปรผัน” ตามสภาพแวดล้อมและคอนเทนต์


แผ่นบลูเรย์ Digital Video Essential (DVE) หนึ่งในแผ่นอ้างอิงที่ใช้ในการปรับภาพเบื้องต้น

เริ่มปรับภาพ :: ค่าภาพต่างๆ ที่เราต้องปรับเพื่อบรรลุเป้าหมาย 4 ข้อข้างต้น

1. Brightness :: แปลว่า “ระดับของสีดำ” ค่านี้จัดได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของการปรับภาพเลยก็ว่าได้ หากท่านเคยเจอปัญหาภาพ “ดำจม” หรือ “รายละเอียดในที่มืดแสดงไม่ชัดเจน” ไปจนถึง “ดำลอย” คือ สีดำที่ขาดน้ำหนัก ไม่ดำจริง นั่นหมายถึงเราปรับระดับ Brightness ไม่ถูกต้อง  หากปรับ Brightness มากไป สีดำจะไม่ดำสนิท ออกดำสว่าง ดำอมเทา หากเป็น Plasma TV บางรุ่นก็จะเกิดเม็ด Noise ยิบๆขึ้นมาเป็นของแถมด้วย *_* ในทางกลับกันหากเราปรับ Brightness น้อยเกินไป รายละเอียดในที่มืดก็จะจมหายไป หรือที่เราเรียกกันว่า  “ดำจม” นั่นแหละครับ
หมายเหตุ :: ศัพท์อื่นๆที่ใช้แทน Brightness ได้แก่ Shadow Detail และ Black Level


     Brightness มากไป = ดำเทา        Brightness น้อยไป = ดำจม             Brightness ถูกต้อง


Pattern เอาไว้ทดสอบระดับ Brightness ขั้นตอนคือ ปรับระดับ Brightness ของจอภาพจนเห็นแถบดำ ซ้าย-ขวา ด้านละ 3 แท่ง


จากนั้นปรับลดระดับ Brightness ลงจนแท่งริมสุด (ดำเข้ม) กลืนเข้ากับพื้นหลัง จะเห็นว่าแถบเทา 2 แท่ง ทั้ง 2 ด้าน ยังมองเห็นได้อยู่

ปรับถูกต้อง :: จะเห็นแถบสีเทาด้านละ 2 แท่ง เท่านั้น ! ระดับ Brightness จะเป็นตำแหน่งที่แถบดำเข้มจะกลืนไปกับพื้นหลังพอดี
ปรับมากไป :: แถบสีดำเข้ม (ริมสุด) จะโผล่มา ผลคือ พื้นหลังจะไม่ดำสนิท กลายเป็นดำสว่างอมเทาไปซะงั้น
ปรับน้อยไป :: จะกระทบกับแถบสีเทาหายไป เท่ากับเป็นการลดทอนรายละเอียดในส่วนมืดให้มองเห็นได้ลำบากขึ้น กล่าวคือ รายละเอียดในฉากมืดจม จึงมองไม่เห็นในส่วนที่ควรจะเห็น

2. Contrast :: แปลว่า การเปรียบต่าง แต่สำหรับจอภาพจะเกี่ยวเนื่องกับ “ระดับสีขาว หรือความสว่าง” (การปรับระดับความสว่างสูงขึ้นจะทำให้ความเปรียบต่างของระดับสีขาวและดำของจอภาพเพิ่มขึ้น) แต่ค่ายทีวีแทบทุกเจ้าดันแปลว่า ความคมชัด หรือ ความเข้ม ซึ่งถือว่าเป็นการสื่อสารที่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว หากเราปรับระดับ Contrast สูงมากจนเกินไป จะส่งผลให้รายละเอียดการไล่ระดับสีขาวจะขาวโพลนไปทั้งหมด ในขณะที่หากเราปรับ Contrast น้อยเกินไป สีขาวที่ได้ก็จะหม่นๆ แบบขาวขุ่น ไม่ได้ขาวจั๊วะ แถมภาพยังจะดูมืดๆ เสียอีก แต่เป็นข้อโชคดีของเราอย่างหนึ่งเพราะว่าทีวีในปัจจุบันนี้ (ไม่นับรวมถึง โปรเจ็กเตอร์) จะสามารถปรับ Contrast ปรับเต็ม 100 หรือกดเต็มแม็กซ์ได้โดยไม่เกิดอาการขาวโพลนครับ  แต่ถ้าหากเป็นพวก Projector หากเราปรับเต็มแม็กซ์แล้วรับรองว่าภาพขาวโพลนเกิดขึ้นแน่นอนเพราะสามารถเร่ง Contrast ภาพให้สว่างได้มากกว่าทีวี (แรงกว่า…ว่างั้นเถอะ !) เพราะฉะนั้นหากจะปรับ Contrast ใน Projector ก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ !   


                           Contrast ถูกต้อง                VS           Contrast มากไป ทำให้ขาวโพลน


Pattern ไว้เช็ค Contrast ขั้นตอนคือ ปรับระดับ Contrast สูงที่สุด ในขณะที่ไม่ส่งผลถึงระดับสีขาว 2 แท่ง ริม (ต้องเกือบจะกลืนกัน แต่ยังคงแยกแยะได้เล็กน้อย)

ปรับถูกต้อง :: ที่ให้แท่งสีขาว 2 แท่งสุดท้ายมีระดับที่สังเกตความต่างกันได้เล็กน้อย



ปรับมากไป :: หากปรับ Contrast มากไปจะสังเกตได้ว่าแท่งสีขาวด้านริมๆจะขาวโพลนกลืนกันไปหมดเลยผลลัพธ์หากเป็นการแสดงภาพจริงก็เช่นตัวอย่างเสื้อขาวโพลนข้างต้น

162
ปรับภาพนั้น…สำคัญไฉน !!! ความสำคัญของการปรับภาพและเทคนิคการปรับภาพเบื้องต้น

เนื่องด้วยเว็บไซต์ LCDTVTHAILAND อันเป็นที่รักของพวกเรามีอายุครบ 3 ปี ทางนายโรมันเองเลยขอเขียนบทความพิเศษ “สอนเทคนิคการปรับภาพทีวีเบื้องต้น” ให้กับสมาชิกครับ ครั้นจะเขียนรีวิวทดสอบสินค้าแบบปกติก็รู้สึกจะธรรมดาไปสักนิดครับ เอาเป็นว่าใครใช้พวก LED / LCD TV หรือ Plasma TV อยู่ที่บ้านในตอนนี้สามารถลองเอาไปปรับเล่นดูได้ครับ



ภาพที่ดีคืออะไร?
เชื่อเหลือเกินว่าโดยทั่วไปแล้วเมื่อเราเดินไปที่แผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าโซนทีวี เห็นภาพที่แบรนด์ทีวีชั้นนำต่างเปิดเรียงรายกันด้วย Content ระดับเทพที่ทำมาเพื่อการแสดงหน้าร้านโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่เป็นพวกการ์ตูนหรือหนังตัวอย่าง ที่ได้รับการปรับให้มีความสดจัดจ้าน เน้น Sharpness สูงเสียจนคมแต่แข็ง พวกเราจะคิดว่า “ทีวีตัวนั้นภาพดี” แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่ครับ ภาพที่ดีคือ “ภาพที่เหมือนหรือใกล้เคียงกับต้นฉบับ อาทิเช่นฟิล์มภาพยนตร์ต้น หรือไฟล์ดิจิทัลต้นฉบับในสตูดิโอนั่นเอง” หากให้เปรียบเทียบกับพวกเครื่องเสียงก็คือ เครื่องเสียงที่ดีจะต้องสามารถถ่ายทอดรายละเอียดออกมาให้เหมือนกับนักร้องมา “ร้องสด” ต่อหน้าเราจริงๆ หรือหากเทียบกับแผ่น CD Audio ก็คือเสียงที่เหมือนกับเวลาที่นักร้องกำลัง “บันทึกอยู่ในสตูดิโอ หรือคอนเสิร์ตฮอลล์” นั่นแหละครับ แต่ส่วนใหญ่คนทั่วไปจะเข้าใจว่าเครื่องเสียงที่ดีจะต้องถ่ายทอดเสียงแบบคมชัดสุดๆ เสียงร้องชัดๆ คมๆจัดๆ เสียงใส เบสกระหึ่ม เหมือนกับที่ร้านเครื่องเสียงบางแห่งมักจะเซ็ตอัพให้เราได้ลองฟังกัน



ทำไมต้องปรับภาพ ?
แน่นอนครับทีวีที่ออกมาจากโรงงานมักจะปรับภาพหรือเซ็ตอัพให้สดสว่างๆ ชัดจัดจ้าน ซึ่งแน่นอนว่าภาพมันจะ “เกินจริง” เหตุผลเพราะว่าภาพมันจะได้ “เรียกร้องความสนใจ” เมื่อแรกเห็น กับลูกค้าที่เดินเข้ามาภายในบูธของแบรนด์ทีวีนั้นๆ ครับ เครื่องเสียงเช่นเดียวกันกับเครื่องเสียงหากเซ็ตอัพให้ฟังแล้วคมชัดๆจัดจ้านตั้งแต่ต้น บางทีลูกค้าอาจจะมีความรู้สึก “ว้าว” กับ First Impression ที่ได้สัมผัส ดังนี้ภาพที่ได้ในตอนแรกมักไม่ถูกต้องครับ กล่าวได้ว่าพวก Contrast, Brightness, Color, Sharpness และค่าตัวช่วยเรียกร้องความสนใจด้านภาพอื่นๆ จะ “ถูกเร่งมาสูงเกินจริงเสมอ” เราต้องเข้าใจด้วยว่าภาพแบบนั้นมันเหมาะกับการโชว์ในห้างร้านอย่างเดียว

ประโยชน์ของการปรับภาพ
1.ได้ภาพถูกต้องเฉกเช่นที่ “ผู้กำกับต้องการสื่ออออกมาให้เราได้เห็น” :: นั่นหมายถึงเราจะเข้าถึงอารมณ์และความหมายของหนังที่แท้จริงได้ ยกตัวอย่างเช่นหากเราดูหนังเรื่อง 300 ขุนศึกพันธุ์สะท้านโลก เกี่ยวกับการต่อสู้ในสมรภูมิของนักรบสปาร์ตันที่มีกำลังพลเพียงแค่ 300 คนเท่านั้น สังเกตได้ว่าโทนแสงสีของหนังจะออกแนวกึ่งโมโนโทน ค่อนข้าง “ทะมึนทึมทึบ” ทั้งหุบเขา ต้นไม้ ใบหญ้า เพื่อจะสื่อให้เห็นบรรยากาศแห่งความ “หดหู่” และ “กดดัน” ในสภาวะสงคราม หนังจึงมีอารมณ์บีบหัวใจเป็นอย่างมาก บางท่านไม่เข้าใจโทนแสงสีแบบนี้และไม่ชอบอะไรที่ดูทะมึนๆ ก็จะไปปรับแสงสีให้ดูสดจัดจ้าน ไปเร่งค่า Brightness และ Contrast จนโอเว่อร์ ภาพที่ได้ก็จะเกินจริงกว่าที่ผู้กำกับต้องการสื่อออกมาให้เห็น ในขณะเดียวกันหนังเรื่อง AVATAR จะสังเกตได้ว่าโทนแสงสีของต้นไม้ ใบหญ้าในป่า Pandora นั้นมีความจัดจ้าน เขียวชอุ่ม ทะเลสาบสีน้ำเงินเข้ม ท้องฟ้าก็สีฟ้าสดใส นี่คือสิ่งที่ผู้กำกับ “เจมส์ คาเมรอน” ต้องการสื่อออกมาให้เห็นความ “อุดมสมบูรณ์” ในป่า Pandora ในช่วงที่ไม่มีเหล่า “มนุษย์” เข้ามารุกราน แต่บางท่านชอบแนวภาพนวลตา อาจไปลดความสดอิ่มของสี ให้มันดูจืดๆ ลง เพราะเข้าใจว่า ระดับสีสันที่นวลตาให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติมากกว่า แต่อย่าลืมว่านี่เป็นการอ้างอิงจากสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน มิได้รวมถึง “จินตนาการ” จากสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หากปรับแบบนี้ก็จึงเป็นการบิดเบือนภาพที่ผู้กำกับต้องการสื่อให้เราได้รับรู้


หากจะให้บอกว่าแนวภาพที่ผู้กำกับอยากจะสื่อออกมาให้เห็น = ภาพที่ถูกต้อง หนัง 2 เรื่องนี้คงทำให้ทุกท่านเห็นภาพ

2. นำไปใช้เป็นค่ากลางในการอ้างอิงเปรียบเทียบประสิทธิภาพของจอแบบตัวต่อตัวได้ :: แน่นอนว่าหากจะเอาทีวีมาเปรียบเทียบกันแบบตัวต่อตัวแล้ว หากเราไม่ปรับภาพให้ถูกต้องตามมาตรฐานอุตสาหกรรมวีดีโอก่อนหละก็ ทีวีตัวเป็นแสนก็สามารถแพ้ทีวีตัวละไม่กี่หมื่นได้ ยิ่งทำงานทางด้านรีวิวสินค้าแบบนี้ ซึ่งต้องฟันธงและให้คะแนนทีวีแต่ละตัว ก็ยิ่งต้องปรับภาพให้ถูกต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันเสียก่อนครับ

หลักการปรับภาพ 4 ข้อ (อ้างอิงจากสถาบัน Imaging Science Foundation “ISF”)

1. Dynamic Range :: คือการปรับ Brightness และ Contrast เพื่อให้จอสามารถแสดงรายละเอียดในที่มืดและที่สว่างออกมาได้อย่างครบถ้วนเต็มศักยภาพ นี่เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการปรับภาพ

2. Color Saturation :: คือการปรับระดับความสดอิ่มของสี ให้ถูกต้องเป็นธรรมชาติ ไม่สดเกินไป และไม่จิดเกินไป โดยเราจะปรับค่า Color และ Tint

3. Colorimetry :: ความถูกต้องของสี แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ 1) White Balance : การกำหนดให้อุณหภูมิสีใกล้เคียง 6500°K ซึ่งจะทำให้ White balance หรือสมดุลสีขาวอยู่ตรงจุด D65 White Balance อันเป็นการอ้างอิงอุณหภูมิสีของแสงจากดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงตรง เป็นแสงสีขาวที่ใช้อ้างอิงว่าเป็นแสงสีขาวที่ถูกต้องในแง่สมดุล ไม่ใช่ขาวอมน้ำเงิน อมเหลือง หรือขาวอมเขียว เป็นต้น 2) Color Space หรือ การอ้างอิงความสัมพันธ์ของขอบเขตและความถูกต้องของแม่สีหลัก RGB และแม่สีรอง CMY

4. Resolution :: คือการปรับ Aspect Ratio หรือ Picture Size ของทีวี (สัดส่วนภาพ) ให้แสดงภาพแบบ 1:1 Pixel Matching ได้ คือ Input มากี่พิกเซล ก็สามารถ Output ออกจอต้องเท่ากับจำนวน Input แบบเป๊ะๆ เพื่อมิให้บิดเบือนรายละเอียด รวมไปถึงพื้นที่การแสดงภาพ



หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 13