แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - hs8jai

หน้า: 1 ... 951 952 [953] 954 955 ... 977
17140


ด้วยความที่เป็นคนรักสัตว์เป็นชีวิตจิตใจ เมื่อมีโอกาสได้ร่วมงานกับ World Animal Protection และ Bad Example ในโปรเจคพิเศษ The Entertainer’s Pain Collection กับแคมเปญ Elephants Not Entertainers ดาราหนุ่มสุดฮอต “เฟิร์ส ปิยังกูร เสาหิน” จากซีรีส์ Y-Destiny จึงขอเป็นอีกหนึ่งเสียงของคนบันเทิงร่วมรณรงค์เรียกร้องให้ยุติการทรมานช้างในกิจกรรมเพื่อความบันเทิงทุกรูปแบบ ผ่านยีนส์คอลเลกชั่นพิเศษ ที่ดีไซน์รอยขาดมาจากบาดแผลจริงๆ ของช้าง

“ต้องบอกก่อนว่าเฟิร์สเป็นคนที่รักสัตว์มาก พอได้เห็นข่าวช้างโดนทำร้าย ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ โดนแยกออกจากครอบครัว ถูกล่ามโซ่ ถูกตีด้วยตะขอแหลมคม ฝึกหนัก เพื่อให้เค้าฉลาด แสนรู้ เชื่อฟังคำสั่ง ตามตัวมีบาดแผลจากการถูกทำร้ายเต็มไปหมด แผลลึก เป็นหนอง น่ากลัว และน่าสงสารช้างมากๆ ครับ ดังนั้นพอมีโอกาสได้มาร่วมงานโปรเจคพิเศษ The Entertainer’s Pain Collection กับ World Animal Protection ที่คอลแลปกับ Bad Example ในแคมเปญ Elephants Not Entertainers ซึ่งเค้าดีไซน์ยีนส์คอลเลกชั่นพิเศษ ด้วยการทำ ripped รอยขาดมาจากรอยแผลจริงๆ ของช้าง เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกเบื้องหลังของช้างที่แสนรู้ เฉลียวฉลาด ที่คอยมอบความสุขให้กับทุกคน แต่รู้หรือไม่ว่าก่อนช้างจะมามอบความสุขนั้น ไม่ได้มีที่มาที่สวยงามเลยครับ เฟิร์สจึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนมาช่วยกันสนับสนุนแคมเปญนี้เพื่อรณรงค์การไม่ใช้ช้างในกิจกรรมเพื่อความบันเทิงทุกรูปแบบครับ”

สำหรับใครที่อยากร่วมสนับสนุน The Entertainer’s Pain Collection ยีนส์คอลเลกชั่นได้ที่ Bad Example shop, Facebook : Badexamplebkk และมาหยุดยั้งการใช้ช้างในกิจกรรมเพื่อความบันเทิง พร้อมหยิบยื่นคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิมให้ช้าง ด้วยการช่วยกันแชร์ข้อมูลนี้ให้กระจายไปในวงกว้าง พร้อมใส่ #ElephantsNotEntertainers #TheEntertainersPainCollection #WorldAnimalProtection #Badexample หรือสามารถคลิกเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการดูได้ที่ https://bit.ly/3x02HFG
ส่วนแฟนคลับที่รออัปเดตผลงานใหม่ของ “หนุ่มเฟิร์ส-ปิยังกูร” เจ้าตัวฝากทิ้งท้ายอย่างอารมณ์ดีว่า “ก่อนอื่นเลยต้องขอขอบคุณทุกคนมากครับ ที่ให้การตอบรับซีรีส์ Y-Destiny ดีมากๆ เฟิร์สเองก็จะพยายามพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ ส่วนใครที่รอลุ้นว่าจะมี Y-Destiny ซีซั่น 2 หรือเปล่า ยังไงก็มาช่วยกันกดดันผู้กำกับกันครับ และเร็วๆ นี้ เฟิร์สก็กำลังจะเตรียมถ่ายซีรีส์เรื่องใหม่ ยังไงก็ฝากทุกคนติดตามกันด้วยนะครับ และที่ลืมไม่ได้เลยช่วงนี้สถานการณ์โควิดค่อนข้างน่ากลัว ขอให้ทุกคนดูแลตัวเองกันด้วยนะครับ”

17142
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 812

17143


ลิโอเนล เมสซี่ ประเดิมสนามในฐานะตัวสำรองเป็นนัดแรกในลีกเอิง ฝรั่งเศส โดย คีเลียน เอ็มบัปเป้ ซัดเบิ้ลพา ปารีส แซงต์-แชร์กแมง บุกเชือดนิ่ม แรงส์ 2-0 คว้าชัย 4 เกมติดต่อกัน

ศึกฟุต.ลีกเอิง ฝรั่งเศส ฤดูกาล 2021/22 คืนวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม 2564 เป็นการลงสนามนัดที่ 4 'เปแอสเช' ปารีส แซงต์-แชร์กแมง ยกพลไปเยือน แรงส์ ที่สต๊าด ออกุสเต เดเลาน์

'เปแอสเช' คว้าชัยมา 3 เกมรวด มี 9 แต้มเต็ม เกมนี้ ลิโอเนล เมสซี่ ซูเปอสตาร์ป้ายแดง มีชื่อบนม้านั่งสำรอง ส่วน 3 แนวรุกใช้ คีเลียน เอ็มบัปเป้, อังเคล ดิ มาเรีย และเนย์มาร์

น.16 ปารีส แซงต์-แชร์กแมง ได้ประตูออกนำ 1-0 จากจังหวะที่ อังเคล ดิ มาเรีย เปิด.ด้วยซ้ายจากริมเส้นฝั่งขวามาให้ คีเลียน เอ็มบัปเป้ โหม่งเต็มๆหัว ส่ง.ตุงตาข่าย

ครึ่งหลัง แรงส์ แก้เกมมาได้ดี เกือบจะได้ประตูตีเสมอจากจังหวะลูกซ้ำดาบสองของ มาร์แชลล์ มูเนตซี แต่เมื่อดู VAR แล้ว เจ้าตัวอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าเสียก่อน

น.64 เปแอสเช ขยับนำเป็น 2-0 จากจังหวะสวนกลับ อาชราฟ ฮาคิมี หลุดมาทางริมกรอบเขตโทษฝั่งขวา ก่อนปาดไปเสาสองให้ คีเลียน เอ็มบัปเป้ ยิงด้วยซ้ายเข้าไป

น.66 ลิโอเนล เมสซี่ ซูเปอร์สตาร์ทีมชาติอาร์เจนติน่า ถูกเปลี่ยนลงสนามแทนที่ของ เนย์มาร์ ถือเป็นการประเดิมในสีเสื้อ 'เปแอสเช' นัดแรกอย่างเป็นทางการของเจ้าตัว

ช่วงเวลาที่เหลือทั้งสองทีมไม่มีใครทำอะไรกันได้ หมดเวลาการแข่งขัน 90 นาที 'เปแอสเช' ปารีส แซงต์-แชร์กแมง บุกไปเชือดนิ่ม แรงส์ 2-0

จากชัยชนะดังกล่าวส่งผลให้ 'เปแอสเช' คว้าชัย 4 เกมติดต่อกันในฤดูกาลนี้ มี 12 แต้มเต็ม รั้งจ่าฝูงของตาราง และเป็นทีมเดียวที่ชนะรวดทั้ง 4 นัดตั้งแต่ออกสตาร์ท ขณะที่ แรงส์ มี 3 แต้ม จาก 4 นัด รั้งอันดับ 17 ของตาราง

รายชื่อ 11 ตัวจริงของทีม 'เปแอสเช'
เคย์เลอร์ นาบาส (GK), อาชราฟ ฮาคิมี, ธีโล เคห์เรอร์, มาร์ควินญอส, อับดู ดิยัลโล่, กาน่า เกย์, จอร์จินิโอ ไวจ์นัลดุม, มาร์โก แวร์รัตติ, อังเคล ดิ มาเรีย, เนย์มาร์, คีเลียน เอ็มบัปเป้

17144


ทุกประเทศไทยทั่วโลกและประเทศไทยเผชิญสถานการณ์ที่ท้าทายมากมาย โดยเฉพาะวิกฤติโควิด-19 หยุดโลกครั้งนี้ สร้างผลกระทบใหญ่หลวงและเร่งปฎิกิริยาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรอบด้าน สร้างแรงกระเพื่อมของผลกระทบในภาคเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทเร็วเกินคาด! ดีมานด์เพิ่ม 10 เท่าจากเดิมในทันทีเมื่อธุรกรรมทางโลกออฟไลน์ต้องหยุดชะงัก

“โดมิโนเอฟเฟคต์” จากวิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบลากยาวและไม่สามารถคาดเดาจุดสิ้นสุด! ว่าจะจบลงในอนาคตอันใกล้ หรือยังมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดรออยู่ข้างหน้า! 

ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวในเวที “Thailand Focus 2021 : Thriving in the Next Normal”  จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยฉายภาพช่วงกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมาว่า  ประเทศไทยเผชิญสถานการณ์ที่ท้าทายรอบด้าน และส่งผลกระทบที่คาดไม่ถึงอย่างมากมาย แต่เทียบไม่ได้กับ “วิกฤติโควิด-19” ในครั้งนี้ที่ทำให้โลกต้องหยุดชะงักและพลิกผันในทุกประเทศ ทุกอุตสาหกรรม ทุกธุรกิจ หรือบุคคลใดก็ตาม ล้วนต้องเผชิญอุปสรรคและผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นี้ด้วยกันทั้งสิ้น

โดมิโนเอฟเฟคต์จากโควิด ทำให้ ประเทศไทยต้องเผชิญกับหลุมดำ สูญเสียรายได้กว่า 2.6 ล้านล้านบาท หนี้ภาคครัวเรือนและหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และอัตราการว่างงานที่อาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 3.4 ล้านคนในสิ้นปีนี้ นี่เป็นเพียงบาดแผลส่วนหนึ่งของวิกฤติสุขภาพที่ทุกภาคส่วนต้องจัดการต่อไปอีกหลายปี!! 

ทั้งนี้ วิกฤติโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน 2 มิติ 

มิติแรก คือ วิกฤติด้านสาธารณสุขที่ส่งผลแบบโดมิโนเอฟเฟคต์ไปยังภาคเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม 

มิติที่สอง คือ ตัวเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัลอย่างรวดเร็วเป็น 10 เท่าจากเดิม จึงเป็นทั้งวิกฤติและโอกาสไปพร้อมๆ กันสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบสำหรับผู้ที่ปรับตัวตั้งรับได้ทันสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสความพร้อมหรือศักยภาพทางธุรกิจที่มี


ภาคธุรกิจและองค์กรต่างๆ ต้องปรับแนวทางดำเนินงานให้สอดรับสถานการณ์โลกหลังโควิดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม รูปแบบการใช้ชีวิต แพลตฟอร์มธุรกิจ ดังนั้น "ผู้นำ และ "องค์กร" จะต้อง “รีเซ็ต" สร้างทางรอดใหม่ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจในอนาคตที่จะให้ความสำคัญกับมิติใหม่ เช่น ด้านสุขภาพ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม คุณค่า และความยั่งยืน มากขึ้นกว่าเดิม

“ยังไม่แน่ชัดว่าหลังจากนี้ เราจะเผชิญโลกหลังโควิด หรือ จะต้องอยู่กับโควิดต่อไป แต่ชัดเจนว่าโควิดได้ส่งผลให้เกิดการรีเซ็ตเศรษฐกิจและธุรกิจ ที่ต้องมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับคุณค่า สุขภาพ ประสบการณ์ และ ความยั่งยืน"

“ธุรกิจค้าปลีก” จำเป็นต้องปรับสูตรการดำเนินธุรกิจใหม่ตั้งแต่ การปรับองค์กรให้อยู่รอดด้วยความฉลาด การปรับบิสสิเนสโมเดลใหม่เน้นความแตกต่าง การทำงานคิดใหม่ทำใหม่ ล้มเร็วลุกเร็ว มุ่งการทำงานเป็นทีมไม่ใช่วันแมนโชว์อีกต่อไป

อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี 2560 ประเทศไทยเผชิญกระแสเชี่ยวกรากของ “ดิจิทัลดิสรัปชัน”  เซ็นทรัลรีเทล เร่งปรับตัวมุ่งสู่ยุทธศาสตร์ “New Central New Retail”

“นับเป็นโชคดีของเซ็นทรัลรีเทลที่เริ่มต้นได้ทันเวลา การเข้ายุคดิจิทัลมุ่งสู่ Omnichannel Economy มีการทำตลาดแบบหลายช่องทางสอดรับพฤติกรรมลูกค้าที่หลากหลายในการใช้ช่องทางซื้อ แตกต่างในจากสหรัฐและจีนมองว่าการทำตลาดจะมุ่งสู่ออนไลน์เท่านั้น”

เทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทเร็วเกินคาด!  ดีมานด์เพิ่ม 10 เท่าจากเดิมทันทีเมื่อธุรกรรมทางโลกออฟไลน์ต้องหยุดชะงัก

ขณะเดียวกัน แรงกระแทกต่อธุรกิจทุกๆ มิติ ทำให้ช่องว่างระหว่าง “ผู้นำ” กับ “ผู้ตาม” กว้างขึ้น แน่นอนว่า การปรับตัวได้ทันเวลา ตอบรับสถานการณ์ได้มากที่สุด จะเป็นตัวชี้วัดว่าใครจะอยู่หรือใครจะไป!!??   ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบ “K-curve” นี้

จะเห็นว่า ในทุกห้วงวิกฤติธุรกิจต้องรับมือพร้อมๆ กัน 2 ด้าน คือ “การอยู่รอด” ที่จะต้องปรับตัวเร็วและมีความยืดหยุ่น ขณะที่ยัง “ต้องชนะ” ด้วย ความคิดที่แตกต่างและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ให้ธุรกิจคงอยู่ได้โควิดให้บทเรียนว่าเราไม่สามารถอยู่รอดได้คนเดียว แต่ทั้งซัพพลายเชนต้องรอดไปด้วยกัน ตั้งแต่ซัพพลายเออร์ ลูกค้า พนักงาน

ประการสำคัญ “วันนี้เราอยู่บนโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ฉะนั้น การตอบสนอง ปรับตัว ยืดหยุ่นอย่างว่องไว เพื่อวิ่งตามลูกค้าให้ทัน เพราะตอนนี้ลูกค้ามองหาสิ่งที่ ‘มากกว่า’ จากการลงทุนที่ ‘น้อยกว่า’ พวกเขามองหามูลค่าที่มากขึ้น ตัวเลือกที่มากขึ้น และความสะดวกสบายที่มากขึ้น ภายใต้ความเรียบง่าย อุปสรรค และข้อจำกัดที่น้อยลง เราต้องพร้อมที่จะนำเสนอรูปแบบธุรกิจที่จะตอบโจทย์ความไม่แน่นอนเหล่านั้น”

การปรับตัวอยู่ตลอดเวลาของ “เซ็นทรัล รีเทล” ซึ่งได้เริ่มพัฒนา “แพลตฟอร์มออมนิแชนแนล” เชื่อมโลกการค้าและประสบการณ์ชอปปิงแบบไร้รอยต่อของร้านค้าออฟไลน์และออนไลน์ มาตั้งแต่ปี 2560 ภายใต้ยุทธศาสตร์ “New Central, New Retail” เป็นโรดแมพในการดำเนินธุรกิจ และทำให้ เซ็นทรัล รีเทล ก้าวสู่การเป็นบริษัทค้าปลีกแบบออมนิแชนแนลที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Omnichannel customer-centric retailer) อย่างเต็มรูปแบบตอบโจทย์ยุคโควิดได้อย่างทันท่วงที  

ขณะเดียวกัน มุ่งสร้างประสบการณ์แบบ “Personalization” โดยนำเสนอรูปแบบการชอปปิงแบบ “เฉพาะเจาะจง” สำหรับแต่ละบุคคล และให้บริการที่สะดวก ตรงความต้องการ และรวดเร็วแก่ลูกค้า เช่น บริการซื้อก่อนจ่ายทีหลัง บริการส่งสินค้าเร็วภายใน 3 ชั่วโมง พร้อม ๆ กับสร้างความมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูล การขนส่ง และความรวดเร็ว รวมถึงการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ด้านสุขภาพ เช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ โรงพยาบาลพญาไท และโรงพยาบาลเปาโล เพื่อให้บริการเข้าถึงลูกค้า ผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ได้มากขึ้น และการจับมือกับพาร์ทเนอร์ควิกคอมเมิร์ซอย่าง แกร็บ ฟู๊ดแพนด้า และไลน์

ญนน์ ย้ำว่า ภาคธุรกิจจะต้องปรับตัวเข้าสู่ยุค “Next Normal” โดยโฟกัสที่เทรนด์ด้านสุขภาพ และประสบการณ์เป็นหลัก พร้อมยึดหลักการทำธุรกิจบนความเติบโตอย่างยั่งยืน เพราะผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเรื่องชุมชนและสิ่งแวดล้อม ให้คุณค่ากับจริยธรรมขององค์กร และคาดหวังให้แบรนด์เป็นผู้นำในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดี ดังนั้นแบรนด์จะต้องวางเป้าหมายให้ชัดเจน และแสดงให้เห็นถึงความยึดมั่นต่อเป้าหมาย โดยไม่ว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด แบรนด์ก็ยังต้องเน้นการให้คุณค่าและการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคในเชิงลึก 

“แม้ขณะนี้ ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในเรื่องการจับจ่ายมากขึ้น แต่ก็ให้ความสำคัญต่อสุขภาพ ผู้บริโภคยินดีใช้จ่ายในด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยมากขึ้น พร้อมทั้งมองหาประสบการณ์ที่จะช่วยเชื่อมต่อโลกเสมือนจริงกับโลกที่เป็นอยู่ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน”

เป้าหมายของ “เซ็นทรัล รีเทล” มุ่งรักษาความเป็นผู้นำในธุรกิจค้าปลีก โดยให้ความสำคัญกับเรื่องความหลากหลายของผู้คนในโลกแบบ “ไฮบริด” ทั้งลูกค้า พนักงานในองค์กร โดยวางกรอบแนวทางดำเนินงานต้องเป็นองค์กรที่รับฟังเข้าอกเข้าใจ มีการสื่อสารที่ชัดเจนกับกลุ่มคนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย ต้อง "ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่" โดยโฟกัสไปที่จุดแข็ง เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับองค์กร เช่น

ด้านความเร็ว-กล้าตัดสินใจเพื่อตามการเปลี่ยนแปลงให้ทัน

ด้านสินทรัพย์-พยายามทำตัวให้เบา เลือกเก็บสิ่งที่มีค่า และกระจายความเสี่ยงออกไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน

ด้านการจ้างงานภายในและภายนอก-การมองหาพาร์ทเนอร์

ด้านการปรับทีมทำงาน-ทำให้องค์กรเคลื่อนตัวได้เร็ว และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเผชิญความท้าทายจากปัจจัยภายนอก

เซ็นทรัลรีเทล ยังมุ่งปรับเป้าหมายธุรกิจไม่ได้มุ่งเน้นแค่ยอดขายหรือกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำให้กับลูกค้า และประสบการณ์ที่สร้างเสริมทักษะให้กับพนักงาน เพื่อเพิ่มคุณค่า และสร้างความจงรักภักดีต่อองค์กร อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว

เมื่อเราไม่สามารถย้อนเวลากลับไปสู่สิ่งที่เคยเป็นได้ ต้องมองไปข้างหน้า และปรับเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจ เพื่อที่จะอยู่ร่วมกับโควิด-19 ไปอีกนาน!!

แน่นอนว่า การใช้ชีวิตแบบ “10X DNA” จะเข้ามาเป็นตัวเปลี่ยนเกม! และกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จที่มากขึ้น และยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย D-Daring กล้าที่จะลอง N-Never Stop ไม่หยุดยั้ง และ A-Agile ยืดหยุ่น ปรับตัวเร็ว  

“เราต้องกล้าคิดการใหญ่ แต่ทำให้ใหญ่กว่าที่คิด” ญนน์ กล่าวย้ำ 

นอกจากนี้ ต้องยอมรับข้อผิดพลาดและพร้อมแก้ไขทันที กล้าที่จะล้มเพื่อเรียนรู้และทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม เราต้องไม่หยุดพัฒนา และไม่เดินหน้าเพียงคนเดียว การจับมือก้าวไปพร้อมกันทำให้เราไปได้ไกลกว่า และมั่นคงกว่า และนี่คือเวลาของการเริ่มต้นใหม่ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในยุคที่จะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป (Never-normal World)

ปัจจุบัน อาณาจักร “เซ็นทรัล รีเทล” เรือธงด้านค้าปลีกซึ่งเป็นรากฐานของกลุ่มเซ็นทรัล  ดำเนินธุรกิจใน 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย ครอบคลุม 54 จังหวัด เวียดนาม ขยายตลาดอยู่ใน 39 จังหวัด และ อิตาลี ปักหมุดเมืองท่องเที่ยวหลักทั่วประเทศ

โดย ณ 30 มิ.ย.2564  มีเครือข่ายร้านค้าภายใต้แบรนด์ค้าปลีก 3,687 ร้านค้า นำเสนอสินค้าหลากหลายประเภท (Multi-category) ผ่านรูปแบบและช่องทางที่หลากหลาย (Multi-format) อาทิ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายสินค้าเฉพาะทาง ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต พลาซ่า และการจำหน่ายสินค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มออมนิแชนแนล ครอบคลุม 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 

“กลุ่มแฟชั่น” เน้นสินค้าเสื้อผ้าและเครื่องประดับ ภายใต้ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล,ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน,ซูเปอร์สปอร์ต,เซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป (CMG)และรีนาเชนเต (Rinascente) 

“กลุ่มฮาร์ดไลน์” เน้นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าตกแต่งซ่อมแซมบ้าน ภายใต้ ไทวัสดุ,บ้านแอนด์บียอนด์,เพาเวอร์บาย,เหงียนคิม,ออฟฟิศเมท,บีทูเอส,และเมพ (e-book) 

“กลุ่มฟู้ด” เน้นสินค้าของสดและของใช้บริโภคในครัวเรือน ภายใต้ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์,ท็อปส์ มาร์เก็ต,ท็อปส์ เดลี่,แฟมิลี่มาร์ท,บิ๊กซี/โก! และลานชี มาร์ท 

“กลุ่มพร้อพเพอร์ตี้” เน้นให้เช่าพื้นที่ค้าปลีกแก่บุคคลภายนอกและร้านค้าในเครือฯ ภายใต้ โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์,ท็อปส์ พลาซ่า,และบิ๊กซี/โก! 

17145
การรับประทานข้าวอินทรีย์กินแทนยา

ข้าวเกษตรอินทรีย์  ข้าวกล้องหอมมะลิอินทรีย์ส่งทั่วไทย   ข้าวออแกนิคคือ การตรวจสอบข้าวปลอดสาร    จากนาข้าวเคมีสู่นาข้าวปลอดสาร   วิธีปลูกข้าวปลอดสาร   ถ้าไม่อยากกินยาตลอดชีวิตให้กิน “ข้าวกล้อง” เป็นยาการที่ข้าวเปลือกอินทรีย์ถูกขัดสี ทำให้สูญเสียสารอาหารที่จำเป็นออกไปเป็นจำนวนมาก ยิ่งขัดสีเป็นข้าวขาวหลายครั้งเท่าไร สารอาหารยิ่งเหลือน้อยลงไป การหันกลับมากินข้าวกล้อง เหมือนบรรพบุรุษของเรา จึงเป็นวิถีชีวิตที่ถูกต้อง ช่วยไม่ให้เป็นโรคอันไม่ควรจะเป็น เนื่องจากขาดสารอาหาร
 

การฝึกกินข้าวกล้องออแกนิค ( การผลิตข้าวอินทรีย์ )
1. คนที่เพิ่งหัดกินข้าวกล้อง ( ข้าวออร์แกนิค
) อาจใช้วิธีง่ายๆ คือนำข้าวกล้องผสมกับข้าวขาวในอัตราส่วน 1 : 2 โดยแช่ข้าวกล้องก่อนนำไปหุงรวมกับข้าวขาว เพื่อจะได้สุกพร้อมๆ กัน และค่อยๆ เพิ่มปริมาณข้าวกล้อง จนเปลี่ยนเป็นข้าวกล้องทั้งหมด ท่านก็จะกินข้าวที่ได้คุณค่าอาหารอย่างเต็มที่ 
2. การกินข้าวกล้องก็คือควรกินขณะยังอุ่นๆ โดยทั่วไป พอข้าวสุก ทิ้งไว้ให้ข้าวระอุประมาณ 5-10 นาทีแล้วควรรีบกิน ข้าวจะนุ่มกินได้ง่าย และให้ค่อยๆ เคี้ยวพอละเอียด จะได้รสชาติหวานอร่อยของข้าวกล้อง ตาม  ส่งออกข้าวออร์แกนิค
3. ควรกินข้าวกล้องที่สุกแล้วให้หมดในมื้ออาหารนั้น เพราะข้าวกล้องบูดเสียได้ง่ายกว่าข้าวขาวทั่วๆ ไป

วิธีหุงข้าวกล้องอินทรีย์  การปลูกข้าวออร์แกนิค

1. ก่อนซาวข้าวควรเก็บสิ่งแปลกปลอมออกเสียก่อน และซาวข้าวเบาๆ ด้วยเวลาสั้นๆ เพียงครั้งเดียว เพื่อไม่ให้วิตามินสูญเสียไปกับน้ำซาวข้าว
2. การหุงข้าวกล้องนั้น ต้องใส่น้ำมากกว่าหุงข้าวขาว การหุงข้าวกล้อง 1 ส่วนจึงควรเติมน้ำประมาณ 2-3 เท่า ถ้าจะให้ประหยัดเวลาหุง ควรแช่ข้าวกล้องก่อนประมาณครึ่งชั่วโมง วิธีนี้อาจทำให้สูญเสียวิตามินบางอย่างที่ละลายน้ำไปบ้าง แต่ไม่แนะนำให้แช่ข้าวเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะข้าวที่มีสี แต่ถ้าจำเป็นต้องแช่ข้าว แนะนำให้ใช้น้ำที่แช่ข้าวนำกลับไปใช้ในการหุ้ง เพื่อลดการสูญเสียสารต้านอนุมูลอิสระในข้าว โดยเฉพาะข้าวสี
3. สำหรับข้าวใหม่หรือข้าวเก่านั้น จะมีผลต่อการหุงต้มเช่นกัน เพราะข้าวใหม่เมื่อหุงสุกจะมีลักษณะเมล็ดข้าวติดกันมาก ส่วนข้าวเก่าเมื่อหุงสุกการติดกันของเมล็ดข้าวจะน้อย เนื่องจากข้าวเก่าเมล็ดข้าวจะแห้งกว่าข้าวใหม่
เหตุนี้จึงทำให้บางท่านหุงข้าวแล้วบอกว่าใช้น้ำมากเท่าเดิมทำไมข้าวจึงแฉะหรือร่วน ซึ่งก็ต้องถามผู้ขายว่า เป็นข้าวเก่าหรือข้าวใหม่ ส่วนจะให้แฉะหรือร่วนแล้วแต่จะชอบ ผู้หุงข้าวจึงต้องใส่น้ำให้เหมาะสมหรือต้องใช้ศิลปะในการหุงเช่นกัน
 

ข้าว Hor.Boutique ข้าวอินทรีย์สุรินทร์  จากนาข้าวเคมีสู่นาข้าวอินทรีย์

277 หมู่ 14 ถ.พิชิตชัย ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
โทร. 092-8245655
website : https://www.hor.boutique
Facebook : https://www.facebook.com/Rice.For.Infant/
Twitter : https://twitter.com/hor_boutique
IG : https://www.instagram.com/hor.boutique/
Line: @Hor.Boutique ส่งเสริม ผลิตข้าวอินทรีย์

เรามีข้าวอินทรีย์ 7 ประเภทครับ1.ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ 2.ข้าวกล้องหอมมะลิสุรินทร์   ขายข้าวกล้องหอมมะลิอินทรีย์ 3.ข้าวปกาอำปึลอินทรีย์ (#ข้าวพื้นถิ่นจังหวัดสุรินทร์) 4.ข้าวผสมห้าสายพันธุ์อินทรีย์ 5.ข้าวกล้องมะลิแดงอินทรีย์ 6.ข้าวมะลินิลอินทรีย์สุรินทร์ 7. ข้าวไรซ์เบอรี่

#ข้าวกล้องอินทรีย์สุรินทร์ #ข้าวกล้องออแกนิคสุรินทร์ #ข้าวกล้องปลอดสารสุรินทร์ #ข้าวกล้องเพื่อสุขภาพสุรินทร์ #ข้าวกล้องหอมมะลิสุรินทร์ #ข้าวกล้องเมืองสุรินทร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 

17146


นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นการเร่งพัฒนายกระดับเอสเอ็มอีไทย เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างขีดความสามารถทางทำธุรกิจในระดับสากลมาก ซึ่งกลุ่มเอสเอ็มอีนับเป็นฐานเศรษฐกิจหลักที่สำคัญของประเทศที่ทาง สสว. ให้การส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดได้จัดกิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์ Digital Content ภายใต้โครงการสนับสนุนและพัฒนาคลัสเตอร์เอสเอ็มอีประจำปีงบประมาณ 2564 ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 

โดยเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่ม ดิจิทัล คอนเทนท์ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอร์สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยฝีมือและผลงานคุณภาพระดับสากลของผู้ประกอบการไทยกลุ่มดิจิทัล คอนเทนท์ทำให้สามารถสร้างเม็ดเงินในอุตสาหกรรมฯ ได้ปีละหลายหมื่นล้านบาท

อ้างอิงข้อมูลจากการสำรวจและคาดการณ์ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลกับสถาบันไอเอ็มซีมีการคาดการณ์ว่าในปี 2565 มูลค่าอุตสาหกรรม อยู่ที่ 45,094 ล้านบาทและเติบโต 15% ซึ่งมีการเติบโตทั้งในส่วนแอนิเมชั่น เกมและคาแรคเตอร์


“การพัฒนาดิจิทัล คอนเทนท์ คลัสเตอร์และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้เข้มแข็ง มุ่งให้เกิดการขยายสัดส่วนมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมของเอสเอ็มอีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ดังนั้นการสร้างกลุ่มหรือคลัสเตอร์ทำให้เกิดความเข้มแข็งและอยู่รอดได้”

สำหรับการจัดกิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์ดังกล่าว  ภายใต้โครงการสนับสนุนและพัฒนาคลัสเตอร์เอสเอ็มอีปี 2564 ถือเป็นโอกาสสำคัญอีกครั้งหนึ่ง ในการสร้างความร่วมมือของหน่วยงานรัฐสองหน่วยงาน ระหว่าง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กับ มหาวิทยาลัยศิลปากร รวมถึงการไปร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก

อาทิ สมาคมดิจิทัลคอนเทนท์ไทย (DCAT) สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) รวมทั้งพันธมิตรในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ได้นำผลงานของผู้ประกอบการในเครือข่ายดิจิทัลคอนเทนต์ไปต่อยอด ทั้งด้านการผลิต และการจัดจำหน่ายอี-คอมเมิร์ซ 

โดยในการพัฒนาศักยภาพเอสเอ็มอีและคลัสเตอร์ดิจิทัล คอนเทนท์ให้มีความเข้มแข็งจะต้องอาศัยการร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานภาคีต่างๆ หลายหน่วยงาน

ที่ผ่านมากิจกรรมนี้ได้สนับสนุนให้ประกอบการในคลัสเตอร์ดิจิทัล คอนเทนท์ ได้มีเวทีและโอกาสในการนำเสนอผลงานต่อนักลงทุน สื่อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมเชื่อมโยงไปยังเครือข่ายผู้ประกอบการในคลัสเตอร์อื่น รวมทั้งกลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่กิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสามารถกระตุ้นและต่อยอดให้เกิดมูลค่าในอุตสาหกรรมไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท

17149


นับถอยหลังอีกไม่กี่วัน “ศบค.” (ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) เตรียมผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ธุรกิจน้อยใหญ่หลายระลอก หวังลดแรงกดดันจากภาคธุรกิจที่ร้อนรนจนนั่งไม่ติด ขณะที่ภาคประชาชนเอง ก็กำลังจะอกแตกตาย เพราะไม่ได้ช้อปปิ้ง กินข้าวนอกบ้าน ระบายความเครียดสะสมจากสถานการณ์โควิด-19

ประกอบกับ “คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ” ประเมินว่า โควิด-19 น่าจะแตะจุดพีคไปแล้ว ประเทศไทยสมควรจะปรับโหมดการเปลี่ยนผ่านจาก “ภาวะวิกฤต” มาสู่ “ฤดูกาลแห่งการเรียนรู้” ที่จะใช้ชีวิตร่วมกันกับโควิด-19 ต่อไป (Smart Control and Living with Covid-19)

ดูเหมือนว่าในก้าวจังหวะที่โควิด-19 กำลังเปลี่ยนสถานะจาก “โรคระบาด” มาสู่ “โรคประจำถิ่น” ในโลกของธุรกิจเองก็กำลังสปีดตัวเอง เปลี่ยนผ่านองค์กรจาก “ปัจจุบัน” สู่ “อนาคต” เพื่อการเรียนรู้ และใช้ชีวิตร่วมกับดิจิทัลราวกับสมูทตี้

“ถ้าองค์กรจะผ่านโควิด-19 ไปให้ได้ ต้องดูประโยชน์หลักๆ ในภาพรวม แล้วจัดลำดับความสำคัญ เอาเทคโนโลยีโลยีมาประยุกต์ใช้กับข้อมูลที่มันซ้ำๆ อย่าสิ้นเปลืองแรงงานคน” ปฐมา จันทรักษ์ Vice President for Indochina Expansion & Managing Director IBM มองทางรอดเพียงหนึ่งเดียว ท่ามกลางสถานการณ์ที่เดายาก

ถึงแม้โควิด-19 จะสร้างความมึนอึนไปทั่วโลก แต่ยุคเฟื่องขององค์กรและพนักงานหลังโควิด-19 จบซีซันส์ ก็ยังเป็นไปได้ ท่ามกลางคนตกงานนับล้านคน ทั้งหน้าใหม่หน้าเก่าที่เดินชนกันให้ควั่ก

ปฐมาวิเคราะห์แนวโน้มที่สำคัญ จากการบรรยายในหัวข้อ “Thriving in the Post Covid-19 Era : Organizations & Workforce” (virtual conference) ในงาน Learning Development Forum 2021 จัดโดย สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) เมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2564 ว่า

องค์กรเริ่มเหนื่อยล้าจากการมาของโควิด-19 เปรียบเหมือนก็อตซิลล่าที่ฟาดหัวฟาดหางถล่มเมือง พ่นไฟทำลายล้างแล้วจากไป ทิ้งโลกที่ไม่เหมือนเดิมเอาไว้ข้างหลัง

“โลกเปลี่ยนแปลงไป ทุกสิ่งทุกอย่างปิด เราไม่เคยเจอแบบนี้ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น วันนี้โลกชัทดาวน์ สายการบินชะงัก การเดินทางหยุดนิ่ง โรคระบาดสร้างการช็อกโลก เกิดอะไรขึ้นบ้าง? สถานการณ์คนตกงาน รอตังค์ รอความช่วยเหลือ รอติดโควิด-19 รอตรวจ รอเตียง โรงพยาบาลเต็ม รอเตาเผา

ทำยังไงถึงจะผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ด้วยกัน หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น องค์กรพยายามปรับตัว แต่ผลกระทบมันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ในอเมริกาเองในบางรัฐ ช่วงนี้ก็ต้องกลับมาใส่หน้ากากอนามัยกันใหม่ ผู้คนเริ่มติดเชื้อมากขึ้น เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการปรับตัวในหลายองค์กรอย่างมาก”

การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนคือ การปรับกลยุทธ์เป็นพัลวัน พนักงานต้องเปลี่ยนเก้าอี้นั่งจากที่ทำงานเป็นที่บ้าน การใช้เทคโนโลยีไม่ซ้ำแบบในองค์กร ทั้งระบบการทำงานอัตโนมัติ การจัดเก็บเนื้องานไว้ที่คลาวด์ และมีคนทำงานไม่น้อยกว่า 340 ล้านคนทั่วโลก ตกงานในชั่วข้ามคืน

แนวโน้มการจัดการองค์กรปี 2020 แม้ว่าจะมีโควิด-19 มาฮึ่มๆ แต่หลายองค์กรก็ยังมองโลกสวย มองไปที่การแข่งขัน การสร้างแพลทฟอร์ม การเอาเทคโนโลยีควอนตัมมาจัดเก็บข้อมูล การสร้างพนักงานให้เก่งและเข้าถึงใจลูกค้า และเรื่องของทักษะการทำงานที่บ้าน แต่พอมาปี 2021 นี้ สถานการณ์ที่บีบรัด ทำให้ทั้งคนและองค์กรต้องขยันปรับตัว ภายใต้ 5 เทรนด์ที่สำคัญคือ

1. ความไม่เท่าเทียมกันของแต่ละประเทศ ความแตกต่างทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบให้บริการและสวัสดิการภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการกักตุนวัคซีน เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด

“ไอบีเอ็มให้พนักงานทำงานที่บ้านมา 19 เดือนแล้ว เป็นการเตรียมความพร้อม ก่อนที่เหตุการณ์จะบานปลาย จนกลายเป็น black swan event (เหตุการณ์ที่มีความร้ายแรง แต่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน เหมือนที่คนคิดว่าโลกนี้มีแต่หงส์ขาว แล้วจู่ๆ หงส์ดำก็โผล่มา) ความรุนแรงที่ฉุดไม่อยู่นี้ แม้แต่ดิสนีย์ยังต้องตัดใจเลย์ออฟพนักงานสวนสนุก บางองค์กรก็ให้พนักงานลาออกแบบสมัครใจ หรือไม่ก็พักงานโดยไม่มีค่าจ้าง บางประเทศพิมพ์แบงก์เพิ่มขึ้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่าผู้นำต้องเตรียมความพร้อมไว้เสมอ เผื่อเจอเหตุการณ์ไม่คาดคิด”

2. Work From Home (WFH) ไม่ได้เวิร์กสำหรับทุกคน บางคนสนุกกับการทำงานจากบ้านในช่วงแรกๆ เพราะไม่ต้องเดินทาง แต่พอต้องนั่งติดเก้าอี้เป็นวันๆ ก็เริ่มตระหนักว่า การทำงานจากบ้าน งานไม่ได้น้อยลงเลย ติดแหง็กกับการประชุมและงานตรงหน้า กระดิกไปไหนไม่ได้ กระทบกับสุขภาพ และภาวะจิตใจจนแทบซึมเศร้า

3. Supply Chain เริ่มส่งผลกระทบรุนแรง หลายโรงงานต้องปิดตัวลง เพราะพนักงานติดโควิด-19 ทำให้อยู่นอกเหนือการควบคุม ทำอย่างไรให้องค์กรสามารถกำหนดอนาคตตัวเองได้ หรือนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อไม่ให้กระบวนการผลิตสะดุด

4. แพ้หรือชนะขึ้นกับเทคโนโลยี หลายองค์กรจะแพ้หรือชนะ หรือจะผ่านจากฝันร้ายโควิด-19 ไปได้ ขึ้นกับการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ สร้างการแข่งขันให้เกิดขึ้น โดย 400% ขององค์กร ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ สามารถก้าวข้าม หรือรับมือกับสถานการณ์ตึงเครียดได้

“วันนี้โลกเสมือนกลายเป็นของจริง เกิดการยอมรับมากขึ้น ฟิตเนสออนไลน์ทำให้ราคาถูกลงจาก 3,000 บาท เหลือ 89 บาท”

5. เหตุการณ์หลักยังคงต่อเนื่อง แม้โควิด-19 จะหายไปแล้ว แต่การปรับเปลี่ยนจะยิ่งเห็นได้ชัดเจนใน 5 เหตุการณ์ย่อยคือ

5.1 โควิด-19 เป็นตัวเร่งการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ ทั้งในแง่ความเร็ว การอัดฉีดเงินลงทุนทางด้านดิจิทัล โดยไม่ได้ช้อปปิ้งเทคโนโลยีแบบไก่กา แต่เลือกเอาตัวท็อปๆ มาใช้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้องค์กร โดยเฉพาะเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติ

5.2 การทำงานทางไกลจะมาแรง (remote working) การทำงานร่วมกันทั้งองค์กรแต่ไม่เจอกันตัวเป็นๆ HR จะบริหารแรงงานที่กระจัดกระจายอย่างไร?

“กรมสรรพากร เป็นตัวอย่างที่ดี ในการใช้เทคโนโลยีโลยีเข้ามาปรับกระบวนการทำงาน โดยเริ่มต้นจากให้ผู้บริหารเปลี่ยนชุดความคิด (mindset) เอาผู้บริหารมาทำเวิร์กชอป เอาแนวคิด outside in มาช่วยขับเคลื่อนระบบการให้บริการ ที่ตรงเป้า ตรงกลุ่ม ตรงใจ ช่วงเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด กรมสรรพากรเตรียมความพร้อม จนไม่สะดุดงานบริการเสียภาษี”

การที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงประสบความสำเร็จ ในกรณีที่ผู้บริหารเอาเทคโนโลยีมาใช้ แต่คนในองค์กรยังไม่พร้อม คือ

1. เพิ่มความสามารถ

2. ลองผิดลองถูก

3. เปลี่ยนแปลงปรับตัว

“ความท้าทายขององค์กร ที่เป็นเรื่องสลับซับซ้อนขององค์กรเอง ทักษะพนักงานที่ไม่เพียงพอ การทำงานล้นมือ จะไม่เกิดถ้าเอาเทคโนโลยีมาใช้ และฝึกฝนพนักงานให้มีความพร้อม ซึ่งจะทำให้อีก 2 ปีข้างหน้า องค์กรได้ปรับปรุงเรื่องการให้บริการ และทำให้พนักงานพึงพอใจเพิ่มขึ้นถึง 23%”

“Spotify” เป็นตัวอย่างขององค์กรที่ mix & match พนักงานกับเทคโนโลยีเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว โดยใช้แนวคิด people driven เปลี่ยนวัฒนธรรมการคิด เปลี่ยนมุมมองการทำงาน รองรับความแตกต่างของผู้ใช้งานยุคใหม่ โดยตั้งทีมเล็กๆ ที่เรียกว่า “speed boat” ให้ทำงานคล่องตัวมากขึ้น ทำงานแบบเร็วๆ ใช้กำลังคนเพียงแค่ 6-12 คน

การขับเคลื่อนองค์กร เริ่มจากคำแรกคือ ทำอย่างไรให้ง่ายขึ้น ผู้ฟัง Spotify สามารถปรับเลือกฟังเฉพาะเพลงที่ชอบ เปิดกว้างให้พนักงานบริหารเวลาทำงานได้เอง ให้พนักงานแสดงความคิดเห็นได้เสรี โดยไม่ตีค่าว่าความคิดเห็นอันไหนผิด ทำให้พนักงานหัดทดลองทำ ต่อให้สถานการณ์ย่ำแย่ขนาดไหน พนักงานก็ไม่หยุดลองผิดลองถูก ทำให้ Spotify เป็นองค์กรก้าวผ่าน เตรียมความพร้อมให้พนักงานทำงานได้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

5.3 ความเครียดเป็นสาเหตุสังเกตุได้ ไอบีเอ็มมองว่าความเครียดไม่ใช่เรื่องเล่นๆ มันสามารถ hijack กลยุทธ์องค์กรได้ ความเครียดจากการทำงานหนัก ทำให้พนักงาน 60% ยื่นข้อเรียกร้องว่า ถ้าสถานการณ์โควิด-19 กลับมาปกติ คนกลุ่มนี้ขอทำงานที่บ้าน 1 วัน เพื่อบำบัดภาระงานที่ตึงเครียด

“วันนี้ลูกค้าสั่งซื้อออนไลน์มากขึ้น supply chain หลายองค์กรเตรียมความพร้อมให้องค์กรลดต้นทุน มีกระแสเงินสด ปตท.เทรดดิ้ง เป็นอีกตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีโลยี และ AI มาใช้ เสริมประสิทธิภาพใหม่ๆ สนับสนุนกระบวนการ ที่ช่วยให้พนักงานลดขั้นตอนการทำงาน ลดโหลดการทำงานจากที่บ้าน ได้ 5 เท่า ภายใน 3 ปี และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้องค์กรได้ 17 ล้านบาท”

5.4 ไม่มีองค์กรไหนทำงานเพียงลำพังอีกต่อไป ทำอย่างไรองค์กรถึงจะเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อสร้างโอกาส “Airbnb” เป็นตัวอย่างที่ดีของการอธิบายแนวคิดนี้

ผู้บริหาร Airbnb ประกาศว่า แม้บริษัทจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่เราจะกลับมาใหม่ และถึงแม้ว่าโรคระบาดจะยังคงมีต่อเนื่อง และวันนี้ถึงแม้ลูกค้าจะไม่ได้ใช้บริการ Airbnb แต่ก็ขอให้เชื่อมั่นในเรา

Airbnb มองว่า โลกยุคใหม่ เทคโนโลยีสามารถเป็นได้ทุกอย่าง ไม่ใช่แค่อำนวยความสะดวกให้กับพนักงาน แต่สามารถเอาแนวคิดภูมิทัศน์ มาปรับใช้กับการทำงานทุกภาคส่วน ร่วมกับธนาคาร เปิดให้บริการต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก จับมือไขว้กันไปมาระหว่างอสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร และเอ็นจีโอ มองเป็นภาพเดียวกันคือ ระบบนิเวศทางธุรกิจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

5.5 นำความยั่งยืนมาใช้กับกลยุทธ์องค์กร เหตุการณ์ไฟไหม้ป่าที่แคลิฟอร์เนีย น้ำแข็งขั้วโลกละลาย วิกฤติสภาพอากาศ ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องเร่งด่วน ต้องแก้ไข ไม่ใช่มีแต่โรคระบาด การจัดการภัยพิบัติโดยใช้เทคโนโลยีโลยีจึงสำคัญ

“ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ก๊าซเรือนกระจก ดักจับคาร์บอน เอาเทคโนโลยี เอา AI มาเร่งหาดักจับคาร์บอนในพื้นที่ต่างๆ จะเห็นได้ว่าไม่ใช่แค่เอาเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร แต่มาใช้ในการรวบรวมข้อมูลสภาพอากาศ ดาวเทียม แพลทฟอร์มต่างๆ เพื่อแจ้งเตือนภัยพิบัติ”

อีกตัวอย่างอินเทรนด์ที่ไม่ควรมองข้ามคือ ยุคเรืองรองของ gig economy (เทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่ โดยเน้นการจ้างงานในรูปแบบชั่วคราว สัญญาจ้าง ฟรีแลนซ์ หรือแม้แต่คนที่ทำธุรกิจส่วนตัวแบบที่ไม่มีลูกน้อง)

gig economy ก่อร่างสร้างตัวจาก 3 ปัจจัยคือ

1. สังคมออนไลน์ งานฟรีแลนซ์

2. เศรษฐกิจแบ่งปัน เอาของที่มี มาให้คนอื่นได้ใช้

3. ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่

แมกเคนซี่ บอกว่า gig economy มีประชากรสายพันธุ์นี้อยู่ทั่วโลก 68 ล้านคน แต่ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับอาชีพอิสระ

งานวิจัยในออสเตรเลีย บอกว่า คนอายุ 18-19 ปี เริ่มเข้าสู่การทำงาน และ 70% ของงาน ถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ

การที่จะทำให้คนทำงานวัยใสมีลู่วิ่งต่อไปได้ องค์กรต้องคำนึง 3 เรื่องคือ

1. เอาระบบอัตโนมัติมาใช้

2. ให้คนทำงานทำอยู่ที่ไหนก็ได้บนโลกใบนี้

3. ทำอะไร? ทำที่ไหน? ทำอย่างไร?

ถือเป็น 3 เรื่องที่สำคัญสำหรับเด็กรุ่นใหม่ ในยุคที่ความมั่นคงไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งงานที่เดียวอีกต่อไป

“ถ้าองค์กรจะผ่านโควิด-19 ไปให้ได้ ต้องดูประโยชน์หลักๆ ในภาพรวม แล้วจัดลำดับความสำคัญ เอาเทคโนโลยีโลยีมาประยุกต์ใช้กับข้อมูลที่มันซ้ำๆ อย่าสิ้นเปลืองแรงงานคน”

อย่าลืมนะ

URL



 

17150


กรมการค้าต่างประเทศจับมือสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และทูตพาณิชย์จัดประชุมหารือกับสมาคมผู้นำเข้าข้าวสิงคโปร์ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ติดตามสถานการณ์ความต้องการ และแนวโน้มการส่งออกข้าว ผู้นำเข้าเผยหลังบาทอ่อนข้าวไทยจะแข่งขันได้ดีขึ้น หลังราคาปรับตัวลดลง ข้าวหอมมะลิมีโอกาสมาก เหตุคุณภาพดี และจะมีการเลิกล็อกดาวน์ ก.ย.นี้ ชี้ข้าวกล้อง ข้าวเพื่อสุขภาพกำลังมาแรง

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2564 ที่ผ่านมากรมฯ ได้ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยและสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ กรุงสิงคโปร์ จัดการประชุมหารือกับสมาคมผู้นำเข้าข้าวสิงคโปร์ (Singapore General Rice Importers Association) ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เพื่อติดตามสถานการณ์ข้าวไทยในตลาดสิงคโปร์ ความต้องการนำเข้าข้าวของสิงคโปร์ และการผลักดันการส่งออกข้าวไทยไปยังสิงคโปร์ในช่วงที่เหลือของปีนี้

ในการประชุม ทั้ง 2 ประเทศได้แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ตลาดข้าว โดยไทยได้แจ้งสถานการณ์การผลิตข้าวของไทยในปี 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอ ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงอยู่ที่ประมาณ 32.00-33.00 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ปัจจุบันราคาข้าวไทยปรับตัวลงมาอยู่ในระดับที่แข่งขันกับประเทศคู่แข่ง เช่น อินเดีย และเวียดนามได้มากขึ้น จึงขอให้สมาคมผู้นำเข้าข้าวสิงคโปร์นำเข้าข้าวจากไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงครึ่งปีแรกสิงคโปร์นำเข้าข้าวจากไทยลดลงมากเมื่อเทียบกับปี 2563

ทั้งนี้ ผู้แทนสมาคมผู้นำเข้าข้าวสิงคโปร์ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ตลาดข้าวในสิงคโปร์ว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 สิงคโปร์นำเข้าข้าวรวมลดลง เนื่องจากยังมีสต๊อกข้าวที่เหลือจากปี 2563 ที่ผู้นำเข้าได้เร่งนำเข้าข้าวในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีปริมาณข้าวมากเกินความต้องการในตลาด ส่วนสาเหตุที่สิงคโปร์นำเข้าข้าวจากไทยลดลงมาจากราคาข้าวไทยมีความผันผวนมาก ทำให้ผู้นำเข้าข้าววางแผนการตลาดค่อนข้างยาก ผู้นำเข้าข้าวบางส่วนจึงหันไปนำเข้าข้าวจากเวียดนามที่มีเสถียรภาพด้านราคา แม้ว่าคุณภาพจะด้อยกว่าข้าวไทย และยังมีการนำเข้าข้าวจากอินเดียเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของแรงงานอินเดียในสิงคโปร์ที่มีมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้นำเข้าข้าวสิงคโปร์เห็นว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ความต้องการของข้าวไทยจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาข้าวไทยปรับตัวลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิไทยที่ปรับตัวลดลงในระดับที่จูงใจให้นำเข้าเพิ่มขึ้น และนอกจากปัจจัยบวกทางด้านราคาแล้ว ผู้บริโภคในสิงคโปร์ยังคงเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานของข้าวไทยที่สูงกว่าข้าวจากแหล่งอื่น ประกอบกับคาดว่ารัฐบาลสิงคโปร์จะผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในช่วงเดือน ก.ย. 2564 เป็นต้นไป ทำให้มีความต้องการข้าวไทยจากอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ข้าวกล้อง ข้าวเพื่อสุขภาพของไทย ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภค และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องหลังจากรัฐบาลสิงคโปร์ได้รณรงค์ให้ชาวสิงคโปร์หันมาบริโภคข้าวกล้องแทนข้าวขาวเพื่อลดอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศ โดยมีการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้นำเข้าในการประชาสัมพันธ์ข้าวดังกล่าวแก่ผู้บริโภค หากราคาข้าวไทยมีเสถียรภาพและยังปรับตัวอยู่ในระดับที่แข่งขันได้เช่นในปัจจุบัน คาดว่าครึ่งปีหลังจะมีการนำเข้าข้าวจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

17151
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 812

17152


วันที่ 25 สิงหาคม 2564 กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานด้านพลังงานชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ร่วมเป็นเจ้าภาพการจัดงาน  “Future Energy Asia 2021” (FEA 2021) นิทรรศการและการประชุมด้านพลังงาน ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ภายใต้แนวคิด “ASEAN Region’s Energy Transition post COVID and towards net zero” โดยมีนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดและร่วมบรรยายพิเศษ

แผนพลังงานลดมลพิษ
นายกุลิศ บรรยายพิเศษในหัวข้อ “ประเทศไทย 4.0 กับการฟื้นตัวกิจการพลังงานและนวัตกรรมในยุคโควิด” (Thailand 4.0 & Energy Resilience and Innovation Amidst the COVID Era) ตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีทิศทางนโยบายพลังงานหรือ National Energy Plan (NEP 2022) ซึ่งได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน


NEP 2022 นี้จะมุ่งเน้นขับเคลื่อนให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่พลังงานสีเขียวและพลังงานสะอาด มีแผนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ในปี 2065-2070 โดยผลักดันให้ภาคพลังงานลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการลงทุนในพลังงานสะอาด เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของโรงไฟฟ้าใหม่ ไม่ต่ำกว่า 50% พร้อมๆ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานให้รองรับการกระจายศูนย์ของระบบ microgrid ทั่วประเทศ ขณะเดียวกันจะแก้ไขข้อจำกัดกฎการซื้อขายไฟฟ้าและข้อกำหนดที่เป็นอุปสรรค

“เราจะเปลี่ยนผ่านการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในภาคขนส่งให้ใช้พลังงานไฟฟ้า ในปี 2030 จะมีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศเป็นสัดส่วน 30% ซึ่งนโยบายนี้ไม่เพียงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่ยังช่วยลดปัญหา pm2.5 อย่างไรก็ตาม ต้องมีการจัดการให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างราบรื่น มีนโยบายที่ก่อให้เกิดการสมดุลระหว่างการใช้รถยนต์เชื้อเพลิงและรถยนต์ไฟฟ้าความพยายามการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ ในช่วง 2065-2070 จะสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การสนับสนุนด้านการเงิน และความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผมเชื่อว่านี่เป็นโอกาสอันดีที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาลงทุนในโครงการพลังงานสะอาด”

กฟผ. ดันโปรเจคพลังงานสะอาด

ด้านนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. ร่วมบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การผลักดันการบูรณาการพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนการใช้พลังงาน” (Accelerating the Integration of Renewables into the Energy Mix) ระบุว่า ขณะนี้หลายประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญการบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ พลังงานหมุนเวียนมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น โดย กฟผ. พร้อมผลักดันให้การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดเป็นไปอย่างคล่องตัว ส่งเสริมการเติบโตของพลังงานสีเขียว ซึ่งได้ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าไฮบริดซึ่งผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ลอยน้ำร่วมกับพลังน้ำที่เขื่อนสิรินธร ขนาด 45 เมกะวัตต์ (MW) ถือเป็นโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยนำระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System) มาใช้ควบคุมและบริหารจัดการ ช่วยเพิ่มเสถียรภาพให้แก่พลังงานหมุนเวียน โดยมีแผนดำเนินการใน 9 เขื่อนของ กฟผ. ทั่วประเทศ รวม 2,725 MW ภายในปี 2580 รวมถึงโครงการ Wind Hydrogen Hybrid ซึ่งเป็นระบบกับเก็บพลังงานด้วยเซลล์เชื้อเพลิงร่วมกับพลังงานลมในรูปแบบก๊าซไฮโดรเจน โดยไฟฟ้าที่ได้จะถูกนำไปใช้ที่ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง จ. นครราชสีมา



ระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อความมั่นคง
นายบุญญนิตย์  กล่าวเพิ่มเติมว่า การเผชิญกับความท้าทายในยุคเปลี่ยนผ่านนี้จำเป็นต้องพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศให้มีความมั่นคง ยืดหยุ่น และมีราคาที่เหมาะสม ดังนั้น กฟผ. จึงพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศให้มีความทันสมัย (Grid Modernization) รองรับพลังงานหมุนเวียน โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ เช่น สถานีส่งไฟฟ้าดิจิทัล การจัดตั้งศูนย์พยากรณ์พลังงานหมุนเวียน (RE Forecast Center) รวมถึงพัฒนาการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าในภูมิภาค เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันไทยมีการขายไฟฟ้าในรูปแบบทวิภาคีและพหุพาคี กับ สปป. ลาว และมาเลเซีย กฟผ. มุ่งหวังที่จะสร้างระบบโครงข่ายไฟฟ้าแห่งอนาคตเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย ดังแนวคิด “EGAT for All”


สำหรับการจัดงาน  “Future Energy Asia 2021” (FEA 2021) เป็นงานนิทรรศการและการประชุมสุดที่มุ่งเน้นจุดสนใจไปที่แผนการเปลี่ยนถ่ายพลังงานของภูมิภาคในยุคหลังโควิด และการสร้างกรอบการพัฒนา หรือ Road map เพื่อมุ่งไปสู่ยุคของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net zero  ซึ่งผู้กำหนดนโยบายระดับกระทรวง ผู้นำด้านพลังงานของโลก ผู้พัฒนาโครงการ และผู้ลงทุน จะมาร่วมปรึกษาหารือและวางแนวทางของแผนยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาการใช้พลังงานแบบผสมผสานของภูมิภาคไปสู่เส้นทางของพลังงานที่สะอาดและยั่งยืนต่อไป 

17153


หลังจากที่มีการประกาศ 'คลายล็อกดาวน์ 1 ก.ย.'  ซึ่งมีกิจการ กิจกรรมบางประเภทที่ได้รับการผ่อนคลาย อาทิ ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ซึ่งเปิดได้ถึงเวลา 20.00 น. ร้านเสริมสวย ร้านนวด เป็นได้เฉพาะนวดเท้า คลินิกเสริมความงาม เปิดจำหน่ายสินค้าเท่านั้น และต้องนัดหมายล่วงหน้า ร้านเสริมสวย และร้านนวด (นวดได้เฉพาะเท้า) ที่อยู่นอกห้างด้วย 

ทั้งนี้ กิจการ กิจกรรมที่ได้รับการ คลายล็อก ยังคงต้องคุมมาตรการอย่างเข้มงวด โดยใช้แนวปฏิบัติ COVID-Free Setting เพื่อแนวปฎิบัติของมาตรการองค์กรด้วยหลัก COVID-Free Setting protocol ต้องประกอบด้วย


COVID-Free Environment : จะต้องดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม ต้องมีการระบายอาการ สุขอนามัยที่เหมาะสม สะอาดปลอดภัย และต้องเว้นระยะห่าง

ADVERTISEMENT


 

COVID-Free Personnel : มาตรการในส่วนของผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการ พนักงาน จะต้องมีการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ และตรวจ ATK ทุกสัปดาห์ ซึ่งจะมีการเร่งรัดให้ทุกคนได้รับวัคซีนครอบคลุม 2 เข็มมากที่สุด 


COVID-Free Customer :  ลูกค้า ผู้ใช้บริการเข้าร้านไหน ต้องร่วมมือกับมาตรการตามร้านนั้นๆ และลูกต้องมี Green Card (วัคซีนครบตามเกณฑ์) Yellow Card (เคยติดเชื้อ หรือ ATK เป็นลบภายใน 7 วัน)

ซึ่งล่าสุด นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้ออกมาย้ำว่า  มาตรการที่ออกไป ในเดือน ก.ย. เป็นมาตรการในการขอความร่วมมือกับพี่น้องประชาชน ขณะนี้มีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน เช่น สมาคมภัตตาคารไทย สมาคมศูนย์การค้า ที่มีการหารือร่วมกันกับ สธ. เป็นความร่วมมือทั้งสองฝ่าย แม้เราจะไม่ได้บังคับแต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยืนยันว่าจะทำตามมาตรการนี้


เช่น การตรวจหาเชื้ออย่างง่าย ATK มาตรการนี้จะต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชนและการตรวจที่มากพอ หากมาตรการนี้เป็นมาตรการเชิงบังคับ อาจจะไม่สะดวกต่อพี่น้องประชาชน ดังนั้น ในเดือน ก.ย. ก็จะเป็นมาตรการในเชิงขอความร่วมมือมากกว่า แต่หากคุ้นกับมาตรการเหล่านี้แล้ว มีการฉีดวัคซีน หรือ ตรวจ ATK ที่มากพอ ซึ่งคาดว่าจะประมาณ ต.ค. นั้นอาจจะเป็นจุดมาตรฐานที่ทุกหน่วยงานร่วมกันทำและประชาชนให้ความร่วมมือ


อย่างไรก็ตาม แม้ในช่วงแรก มาตรการที่ออกมาจะยังไม่ใช่ภาคบังคับ แต่เป็นการขอความร่วมมือ แต่ก็เห็นแล้วว่าแนวโน้มการใช้ ATK ยังเป็นสิ่งจำเป็นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการ 'คลายล็อกดาวน์ 1 ก.ย.' ที่จะถึงนี้ เพื่อให้การควบคุมการระบาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับเดินหน้าเศรษฐกิจ และใช้ชีวิตวิถีใหม่ได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด

ATK ได้รับอนุญาตจาก อย. 45 รายการ 
สำหรับรายชื่อชุดตรวจสำหรับ COVID-19 ประเภท Rapid Test Antigen หรือ Antigen Test Kit แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen Test Self-Test Kits) ที่ได้รับการอนุญาตให้ผลิต/นำเข้า จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 26 ส.ค. 64 พบว่ามีทั้งหมดกว่า  45 รายการ ดังนี้ --- > เช็กที่นี่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สมัครผ่อนของ 0% 40 เดือนกับ Citi คลิกเลย

แนวทางการกระจาย ATK 8.5 ล้านชุด
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ครั้งที่ 8/2564 (วาระพิเศษ) เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2564 ที่ผ่านมา ได้อนุมัติจัดซื้อชุดตรวจโควิดกว่า 8.5 ล้านชุด วงเงิน 1,014 ล้านบาท เพื่อจัดหาชุดตรวจ Antigen Test Kit ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงใช้ตรวจเอง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

สำหรับแนวทางการกระจายชุดตรวจ ATK เพื่อบริการประชาชนในพื้นที่ "นพ.กรกฤช ลิ้มสมมุติ" ผู้อำนวยการกองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข เผยเมื่อต้นเดือนสิงหาคมว่า ปัจจุบัน ได้มีการแบ่งระดับพื้นที่ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุด 36 จังหวัด และ พื้นที่ควบคุม 11 จังหวัด โดยแบ่งพื้นที่ 3 ส่วน และดูตามจำนวนประชากรของแต่ละจังหวัดในการจัดสรร และ 8.5 ล้านชุด เป็นครั้งแรกในการจัดสรร และอยากให้แต่ละจังหวัดเตรียมบริหารจัดการ


หลักการกระจาย ATK
ทั้งนี้ หลักการกระจาย ATK จำนวน 8.5 ล้านชุด ได้แก่

1. สำรองคงคลังเพื่อจัดสรรตามสถานการณ์จำนวน 1.5 ล้านชุด

2. จัดสรรให้กทม. จำนวน 1 ล้านชุด

3. จัดสรรให้กับจังหวัดที่เหลือ 76 จังหวัด จำนวน 6 ล้านชุด

4. จัดลำดับการจัดส่งโดยเรียงจากกลุ่มพื้นที่สีแดงเข้ม


"เป็นการจัดสรรครั้งแรก แต่ก็อยากให้ทุกจังหวัดมีความพร้อมในการบริหารจัดการในส่วนของ ATKที่จะลงไป โดยกระบวนการส่งมอบจะส่งมอบครั้งละ 1 ล้านชุด และส่งครั้งสุดท้าย 1.5 ล้านชุด ซึ่งจะเก็บไว้สำรอง หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงจะจัดสรรให้ทันที" นพ.กรกฤช กล่าว



กรอบการจัดสรร 76 จังหวัด
สำหรับกรอบการจัดสรรใน 76 จังหวัด ได้แก่

1. จากการคำนวณขั้นต้น หากประชากรไม่มาก และผู้ป่วยไม่มาก จะได้ขั้นต่ำประมาณ จังหวัดละ 40,000 ชุด

2. จัดสรรในพื้นที่สีแดงเข้มก่อน

3. จำนวนประชากร น้อยกว่า 5 แสนคน 40,000 ชุด , 5 แสน -  8 แสนคน 60,000 ชุด , 8 แสน – 1 ล้านคน 70,000 ชุด , 1 ล้าน – 1.3 ล้านคน 80,000 ชุด และ มากกว่า 1.3 ล้านคน 90,000 ชุด




แผนการจัดสรรภาพรวม
การจัดสรร หลักๆ จะมี 8 รอบ โดย 7 รอบแรก แบ่งเป็น รอบที่ 1-2  จัดสรรให้กับพื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัด จำนวน 2 ล้านชุด , รอบที่ 3 – 6 พื้นที่จังหวัดสีแดงเข้ม และพื้นที่สีแดง 30 จังหวัด จำนวน 4 ล้านชุด , รอบที่ 7 เพิ่มเติมจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม (กทม.) จังหวัดพื้นที่สีแดง 6 จังหวัด และจังหวัดพื้นที่สีส้ม 11 จังหวัด 1 ล้านชุด ทั้งนี้ หากเป็นไปตามคาด ATK จะมาทุกวัน วันละ 1 ล้านชุด และวันสุดท้าย จะมา 1.5 ล้านชุด สำหรับสำรองเพื่อจัดสรรตามสถานการณ์




แผนการจัดสรร ATK รายจังหวัด
นพ.กรกฤช กล่าวต่อไปว่า จากแผนการจัดสรร ATK เบื้องต้นในรายจังหวัด หากจังหวัดใดไม่เพียงพอ จะเร่งนำที่สำรอง 1.5 แสนชุด จัดสรรให้ในส่วนที่ขาดหรือมีความจำเป็นเร่งด่วน ขณะที่จังหวัดที่ได้จำนวน ATK น้อย คือจังหวัดที่มีขนาดเล็ก เช่น กระบี่ น่าน ซึ่งแม้จะดูมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นแต่ยังถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น เพราะฉะนั้น ในระยะแรกขอจัดสรรแบบนี้ไปก่อน

17154


บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เดินหน้าส่งเสริมพลังของคนรุ่นใหม่ในการเป็นผู้นำออกแบบเมืองแห่งอนาคตและเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด โดยส่งทีม Global Minds ซึ่งประกอบด้วยเยาวชนไทยจากหลากหลายมหาวิทยาลัยเป็นตัวแทนเข้าแข่งขัน Imagine the Future Scenarios Competition 2020/2021 และคว้ารางวัลชนะเลิศพร้อมเงินรางวัล 4,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ด้วยแนวคิด “Modern Dragon vs Blind Falcon”

Imagine the Future Scenarios Competition 2020/2021 เป็นโครงการให้คนรุ่นใหม่จากทวีปเอชียแปซิฟิกและตะวันออกกลาง นำเสนอสถานการณ์จำลองในอนาคต ทั้งการดำรงชีวิตและการทำงาน ในปีนี้มีเยาวชนจำนวน 277 ทีม จากอียิปต์ สิงคโปร์ และไทย เข้าร่วมแข่งขัน

เยาวชนในปัจจุบันมองโลกของเราใน พ.ศ 2593 อย่างไร โลกของเราจะเป็นอย่างไรใน พ.ศ 2593 บ้านเราจะจมอยู่ใต้น้ำหรือไม่ ชีวิตของเราจะถูกปกครองโดยปัญญาประดิษฐ์หรือไม่ เหล่านี้คือคำถามที่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ได้สำรวจ และจำลองสถานการณ์ เพื่อเสนออนาคตที่มีความสมเหตุสมผล โดยเชลล์ได้จัดการแข่งขันนี้ขึ้นเป็นเวลา 5 ปีติดต่อกัน เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการได้รับมอบหมายให้จินตนาการถึงพลังงานที่สะอาดยิ่งขึ้นของเมืองในทวีปเอเชียหรือตะวันออกกลางในพ.ศ 2593 รวมถึงวิธีที่เมืองจะเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตและการทำงาน





ภาพการนำเสนอผลงานจากทีม Global Minds
ภาพการนำเสนอผลงานจากทีม Global Minds

การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศแบบเสมือนจริง เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 นอกจากเยาวชนจากประเทศไทยจะได้รับรางวัลชนะเลิศแล้ว ยังมีเยาวชนจาก American University Cairo ประเทศอียิปต์ที่จำลองสถานการณ์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ณ เมืองอเล็กซานเดรียในพ.ศ. 2593 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง และ Nanyang Technological University จากสิงคโปร์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง นำเสนอแบบจำลอง Sang Kancil vs Buto Ijo

ทีม Global Minds ตัวแทนประเทศไทย ซึ่งมีสมาชิกในทีม 5 คน ประกอบด้วย น.ส.นัชชา ยงพิพัฒน์วงศ์ จาก University of Oxford นายคณิน ตั้งชาติสิริ จาก University of Illinois at Urbana Champaign นายอยุช โคการ์ จาก University of British Columbia น.ส.ชนารดี ลีลาแม้นเทพ จาก Carnegie Mellon University และ น.ส.แครี่ เหล่าฤกษ์อุทัย จาก University of British Columbia เปิดเผยความรู้สึกหลังคว้ารางวัลชนะเลิศ ว่า “พวกเราภูมิใจและดีใจที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ เพราะการแข่งขัน IMAGINE THE FUTURE ทำให้เปิดโอกาสให้ได้คิด และขยายมุมมองโลกทัศน์ของพวกเราให้กว้างขึ้น โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญของพลังงาน การพัฒนากระบวนการคิด และการจำลองสถานการณ์อย่างถูกต้องและครอบคลุม ผ่านการตีโจทย์ต่างๆ รวมถึงการได้ทำโปรเจกต์ การเรียนรู้การใช้เครื่องมือการทำ scenarios เพื่อวางรูปแบบของเมืองในอนาคตที่ต้องการเห็น และได้พบกับผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ ที่มาให้ความรู้และคำแนะนำต่างๆ เป็นอย่างดี”

ทีม Global Minds ได้นำเสนอแบบจำลองสถานการณ์เมืองแห่งอนาคต “ฮ่องกง” ด้วยแนวคิด “Modern Dragon vs Blind Falcon” โดยคาดการณ์ถึงความท้าทายต่างๆ ในอนาคตที่ฮ่องกงจะต้องเผชิญหน้าในพ.ศ. 2593 ตามหลักการ “1 ประเทศ 2 ระบบ” ด้วยการฉายภาพอนาคต 2 รูปแบบภายใต้เงื่อนไขการปกครองต่างกัน ซึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออนาคตของฮ่องกง คืออำนาจการปกครองของจีนต่อฮ่องกงใน 2 รูปแบบ คือ 1. “มังกรยุคใหม่” (Modern Dragon) หมายถึงฮ่องกงภายใต้การปกครองของจีนอย่างเต็มรูปแบบ เป็นเมืองที่มีอัตราภาษีสูง เป็นรัฐสวัสดิการที่แข็งแกร่ง มีการอุดหนุนโครงการการศึกษา STEM ในฮ่องกงและเชินเจิ้น รวมถึงการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศด้วยแรงงานที่มีทักษะ และการนำเทคโนโลยีใหม่รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้อย่างรวดเร็ว โดยฮ่องกงจะยังคงรักษาเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในฐานะเมืองท่าสำคัญ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม และ 2. “เหยี่ยวตาบอด” (Blind Falcon) คือฮ่องกงยังคงเป็นเขตปกครองพิเศษของจีนต่อไปอีก 50 ปี โดยผู้คนค่อยๆ ยอมรับการปกครองของปักกิ่ง อย่างไรก็ตาม สังคมยังคงแบ่งแยกความเชื่อ ในเชิงเศรษฐกิจ ฮ่องกงยังคงรักษาสถานะเป็นศูนย์กลางทางการเงินของเอเชีย และกลายเป็นศูนย์กลางสำหรับความร่วมมือเชิงนวัตกรรมระหว่างตะวันออกและตะวันตก



นายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “เชลล์ขอแสดงความยินดีกับทีมเยาวชนทุกคนที่เข้าร่วมโครงการนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเมือง ขณะที่ตอบรับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายที่ทุกคนเผชิญทั้งในปัจจุบันและอนาคต เชลล์ ประเทศไทย มีความมุ่งมั่นในการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อ Powering Progress อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน สำหรับการสานต่อเจตนารมณ์ Trusted Partner for .ter Life พันธมิตรที่ไว้วางใจได้นั้น โครงการประกวดแนวคิดมีส่วนสนับสนุนและเปิดเวทีให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างอนาคตในแบบที่คนรุ่นใหม่จิตนาการและทำให้เกิดขึ้นร่วมกันได้ ผมเชื่อมั่นในพลังของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่จะร่วมมือกันพัฒนาเมืองแห่งอนาคตและสร้างเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดต่อไป
สำหรับตัวแทนทีมเยาวชนไทย ผมมีความภูมิใจและหวังว่าน้องๆ จะนำองค์ความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนมิตรภาพในระดับภูมิภาคนี้ ไปต่อยอดทางความคิดและส่งต่อพลังงานที่สร้างสรรค์ของพวกเขา เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและดียิ่งขึ้นบนความร่วมมือของทุกคนในสังคม”

ภาพบรรยากาศการแข่งขันโครงการ IMAGINE THE FUTURE SCENARIO COMPETITION 2021 APAC & ME ในรูปแบบ Virtual 
ภาพบรรยากาศการแข่งขันโครงการ IMAGINE THE FUTURE SCENARIO COMPETITION 2021 APAC & ME ในรูปแบบ Virtual

สำหรับสถานการณ์จำลองอื่นๆ ได้แก่

American University Cairo จากอียิปต์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง นำเสนอแบบจำลอง Modern Atlantis vs Green Osiris จากคำถามที่ว่า อเล็กซานเดรียสามารถหลีกเลี่ยงภัยพิบัติจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นในพ.ศ. 2593 ได้หรือไม่ ในอนาคตที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทีมจากอียิปต์ได้พิจารณาตัวแปรต่างๆ เช่น ระบบเศรษฐกิจที่มีอำนาจมากขึ้น การดำเนินการด้านสภาพอากาศ ความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม และการแปลงสู่การเป็นดิจิทัล เพื่อกำหนด 2 รูปแบบที่เกี่ยวกับอนาคตที่อเล็กซานเดรียในพ.ศ. 2593 รูปแบบที่ 1 “แอตแลนติสยุคใหม่” (Modern Atlantis) คือแอตแลนติสสมัยใหม่ที่ระบบทุนนิยมจะช่วยให้สิ่งแวดล้อมฟื้นตัวและยกระดับคุณภาพชีวิตของแต่ละบุคคล เมืองอเล็กซานเดรียจะเป็นเมืองอัจฉริยะที่มีคาร์บอนต่ำ โดยใช้ประโยชน์จากเทรนด์ดิจิทัลล่าสุดและเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนต่างๆ นอกจากนี้ยังจะกลายเป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศที่เป็นสากลเนื่องจากระบบเครือข่ายใต้ทะเลแบบไฮเปอร์ลูปที่เชื่อมต่อประเทศอเล็กซานเดรียและเมดิเตอร์เรเนียน รูปแบบที่ 2 “เทพเจ้าโอไซริสที่สมบูรณ์” (Green Osiris) โดยประชาคมระหว่างประเทศรวมถึงอเล็กซานเดรียจะใช้ระบบเศรษฐกิจสังคม 2.0 ของอียิปต์ โดยจะปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ด้วยการใช้นโยบายที่ก้าวหน้าและใช้พลังงานนิวเคลียร์ สังคมจะเปลี่ยนจากการบริโภคนิยมแบบตามใจชอบ เป็นวิถีชีวิตที่ร่ำรวยซึ่งเต็มไปด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความอยากรู้ และการแสดงออกที่เน้นความเป็นตัวของตัวเอง

Nanyang Technological University จากสิงคโปร์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง นำเสนอแบบจำลอง Sang Kancil vs Buto Ijo ที่มาจากคำถามว่า กรุงจาการ์ตาจะทำอะไรได้บ้างเพื่อให้อยู่รอดในพ.ศ. 2593 ทีมสิงคโปร์มุ่งเน้นไปที่วิธีที่กรุงจาการ์ตาสามารถปรับตัวให้เข้ากับปัญหา 2 ประการคือการที่เมืองจะจมน้ำและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ที่สะท้อนถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่โลกกำลังเผชิญ ซึ่งอาจนำไปสู่การที่เมืองใหญ่ ๆ จะจมอยู่ใต้น้ำในช่วงกลางศตวรรษ โดยกำหนดแนวคิด 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 คือ “กวางเมาส์” (Sang Kancil) แสดงให้เห็นถึงกรุงจาการ์ตาที่ทนต่อการทรุดตัวของที่ดิน ผ่านนโยบาย การวางแผน และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยจะตรวจสอบแนวทางต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้ ตั้งแต่สิ่งก่อสร้างทางวิศวกรรมไปจนถึงการแก้ปัญหาทางสังคมเชิงระบบ เพื่อเอาชนะการทรุดตัว รูปแบบที่ 2 คือ “ยักษ์ใหญ่สีเขียว” (Buto Ijo) ที่จำลองกรุงจาการ์ตาที่กำลังปรับตัวเข้ากับความปกติใหม่ - ของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และสำรวจว่าอิทธิพลจากต่างประเทศและในประเทศสามารถช่วยให้จาการ์ตายังคงความก้าวหน้าในพ.ศ. 2593 แม้จะมีปัญหาการทรุดตัวก็ตาม

ติดตามข้อมูลรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่ https:// www.facebook.com/imaginethefuturecompetition/

หน้า: 1 ... 951 952 [953] 954 955 ... 977