แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Ailie662

หน้า: 1 ... 1015 1016 [1017] 1018 1019 ... 1032
18289
ลูกอมพระแม่ธรณี

จัดสร้างจากดินใต้ฐานพระแม่ธรณี ผงมหาจักรพรรดิ และมวลสารอื่น ๆ ช่วยในเรื่องการขายบ้าน ขายที่ดิน

18294


เมื่อภาคธุรกิจไม่ปล่อยให้ "วิกฤติ" โควิด-19 สูญเปล่า นำมาเป็น "บทเรียน" ปรับตัว สร้างสรรค์โมเดลใหม่ๆ ต่อลมหายใจกิจการ ยิ่งร้านอาหาร พยายามปั้นจิ๊กซอว์ สู่การเติบโต "โม โม พาราไดซ์" คิดใหม่ มองเงินสดไหลออก คือการลงทุนเพื่ออนาคต

วิกฤติโควิด-19 ระบาด รับงัดไม้แข็งบริหารจัดการไว้รัส มีคำสั่งเข้มงวดกับธุรกิจ“ร้านอาหาร”  รอบแรกเจอการ  “ล็อกดาวน์” ถ้วนหน้า ผู้ประกอบการเดือดร้อนเท่ากัน แต่ล่าสุด การห้ามร้านที่มีสาขาในห้างค้าปลีกเปิดบริการนั่งรับประทาน(Dine-in) ห้ามซื้อกลับบ้าน(Takeaway) ทำได้แค่ “เดลิเวอรี่” เท่านั้น เป็นการปิดตายยอดขายอย่างสิ้นเชิง 

“โม โม พาราไดซ์” ร้านชาบูชาบูและสุกี้ยากี้จากญี่ปุ่น ซึ่งมีสาขาทั้งหมดอยู่ในห้างค้าปลีก รับผลกระทบเต็มๆ และการปรับตัวทางธุรกิจไม่ง่าย แต่ไม่ทำย่อมไม่ได้ เพราะนั่นหมายถึงการสูญเสียโอกาสทำเงิน แม้มีอยู่เพียงน้อยนิด   

สุรเวช เตลาน เจ้าของร้านโม โม พาราไดซ์ บอกเล่าประสบการณ์ทำธุรกิจร้านอาหารในช่วงเวลาวิกฤติผ่านงานสัมมนาออนไลน์ “เปิดสูตรลับ!! ปรับกลยุทธ์ ธุรกิจอาหารต้องรอด” ว่า โม โมฯ มีร้านทั้งสิ้น 20 สาขา มีแบรนด์น้องใหม่ที่ยังไม่โปรโมทสร้างแบรนด์ และร้านอาหารพรีเมี่ยมอีก 2 สาขา แต่ผลกระทบการล็อกดาวน์ล่าสุด บริษัทต้องปิดให้บริการโมโมฯ 100% ถือว่าได้รับผลกระทบหนักมาก โดยยอดขายที่เคยมี ปัจจุบันทำได้เพียง 3-5% เท่านั้น สวนทางกับภาระค่าใช้จ่ายที่ไหลออกทุกวัน โดยเฉพาะต้นทุนคงที่จากการจ้างงาน ที่มีพนักงานนับ “ร้อยชีวิต”  

นอกจากนี้ ร้านอาหารมีวัตถุดิบเป็นของสดจำนวนมาก โดยเฉพาะ “ผักสด” ซึ่งมีการสูญเสียมากสุด เมื่อปิดให้บริการ จึงกระทบต้นทุนอย่างมาก 

สำหรับธุรกิจร้านอาหารถือว่ามีความโดดเด่นด้านการทำเงินหรือรายได้เข้ามา โดยแต่ละวันผู้ประกอบการจะได้รับเงินสดเข้ามาเต็มเม็ดเต็มหน่วย ส่วนค่าวัตถุดิบจะเป็นการนำผัก อาหารสดต่างๆมาใช้ก่อน แล้วจ่ายให้กับคู่ค้าซัพพลายเออร์ภายหลังหรือเครดิตเทอมนั่นเอง 


ทว่า ร้านอาหารจำนวนไม่น้อยที่ “ขายดีจนเจ๊ง” เนื่องจากผู้ประกอบการสนใจเพียงงบ “กำไร-ขาดทุน” เท่านั้น ไม่ดู “งบดุล” หรือสถานะทางการเงิน ไม่พิจารณารายจ่ายที่ออกไปแต่ละวัน เดือนมีมากแค่ไหน ซึ่งตามหลักการควรให้ความสำคัญ 3 ส่วนทั้ง กระแสเงินสด งบดุล งบกำไรขาดทุนใหถี่ถ้วน

นอกจากนี้ ในภาวะวิกฤติโควิด-19 ระบาด การตระหนักด้าน “การเงิน” ต้องเพิ่มทวีคูณ โดยเฉพาะกระแสเงินสดที่ไหลออก แต่ไม่มีรายรับเข้ามายังร้าน อย่างไรก็ตาม ห้วงเวลายากลำบากนี้ การบริหารสภาพคล่องเป็นเรื่องยากมาก แต่อยากให้ผู้ประกอบการมองเงินสดที่ไหลออกในเวลานี้ต่อยอดธุรกิจในอนาคตให้ได้ 

“การจัดการเงินสด หมุนเงินตอนนี้ลำบากมาก แต่บริษัทให้ความสำคัญในการบริหารอย่างเหมาะสมมาก่อนแล้ว หลักการง่ายๆคือต้องมีเงินเข้ามากกว่าออก ไม่ใช่ขายดี แล้วร้านจะฟุ่มฟือยเต็มที่จนเกิดปัญหาต้องมีทุนสำรองไว้ ส่วนท่ามกลางสถานการณ์โควิดระบาด มองอนาคตร้านอาหารจะมีทิศทางที่ดีขึ้น เงินที่ไหลออกเวลานี้ให้มองเป็นสิ่งที่ต่อยอดธุรกิจในอนาคตให้ได้หรือเป็น Investing clash flow เพื่อเดินต่อไปข้างหน้า เช่น โม โมฯ ที่ลุกขึ้นมาลุยบริการเดลิเวอรี่ได้จริง จากเดิมไม่คิดจะทำ เพราะไม่เหมาะกับบุฟเฟ่ต์ ที่ต้องมอบประสบการณ์ให้ผู้บริโภคทานในร้าน แต่จากการปรับตัวเดลิเวอรี่ สามารถสร้างยอดขายได้เท่ากับร้าน 1 สาขา รวมถึงการลงทุนขยายบริการส่งโมโม พาราไดซ์ทั่วไทยด้วย” 

ทั้งนี้ สุรเวช ย้ำว่า ร้านชาบูบุฟเฟต์ไม่โจทย์และไม่จำเป็นต้องมีบริการเดลิเวอรี่ แต่การล็อกดาวน์ครั้งแรก ทำให้บริษัทต้องปรับตัว ทดลองปรับเมนู รักษาคุณภาพอาหาร การบรรจุภัณฑ์ การควบคุณอุณหภูมิอาหาร รวมถึงใช้พันธมิตรในการขนส่ง ฯ เพื่อให้มาตรฐานยังทียบเท่าที่ร้านสูงสุด 

นอกจากนี้ ยังเปิดบริการโม โม พาราไดซ์ ส่งทั่วไทยไปเคียงข้างคุณ เพื่อเสิร์ฟชาบูให้กับลูกค้าทั่วประเทศไทยภายในระยะเวลา 2 วัน ซึ่งปัจจุบันเกือบครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้ง 77 จังหวัดแล้ว 

การพลิกหาโมเดลธุรกิจและบริการใหม่ๆ ตอบโจทย์ผู้บริโภค ไม่เพียงพอที่จะอยู่รอดในวิกฤติ จึงย้ำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารบริหารค่าใช้จ่ายให้ดี คุมต้นทุนเพื่อให้ร้านอยู่ให้ได้ รักษาคนให้ได้ดีที่สุด 

“เราโชคดีที่มีเงินทุนสำรอง เพื่อดูแลบริษัทไปได้ ส่วนจะยาวนานแค่ไหนตอบยาก แต่ละคนขึ้นอยู่กับสายป่านสั้นยาว สามารถพยุงตัวเองได้ไม่เท่ากัน แต่เรายังมุ่งลดต้นทุนให้ต่ำสุด เพราะยังไงต้องเผชิญขาดทุน แต่เชื่อว่าร้านอาหารยังมีแสงสว่างปลายอุโมงค์ วิกฤติโรคโควิดไม่อยู่ไปตลอด ตอนนี้ต้องทำยังไงให้มีลมหายใจยาวสุด” 

18295
ลูกอมพระแม่ธรณี

จัดสร้างจากดินใต้ฐานพระแม่ธรณี ผงมหาจักรพรรดิ และมวลสารอื่น ๆ ช่วยในเรื่องการขายบ้าน ขายที่ดิน

18297
ส่งรูปถ่ายภายนอก ภายใน พร้อมรายละเอียดของรถที่จะขายมาที่
ไลน์ : nopcartoday

18298


หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยข้อมูลทิศทางราคาน้ำมันดิบระยะสั้นปรับลด หลังกังวลความต้องการใช้น้ำมันอาจฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ จากผลกระทบของโควิด-19 โดยมีปัจจัยที่ส่งผมมาจาก ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงเล็กน้อย หลังสำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในหลายประเทศ อาทิเช่น จีน ส่งผลให้ IEA หวยออนไลน์ ปรับลดคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันในครึ่งปีหลังลง 0.55 ล้านบาร์เรลต่อวันจากการคาดการณ์ในรายงานฉบับก่อนหน้า โดยทั้งปี 2564 ความต้องการใช้น้ำมันจะเพิ่มขึ้นราว 5.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลง 0.1 ล้านบาร์เรลต่อวันจากรายงานฉบับก่อนหน้า

รวมถึง สหรัฐฯ ออกมาเรียกร้องให้กลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตร ผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นในระยะยาวเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเพื่อเป็นการควบคุมราคาน้ำมันเบนซินในประเทศสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ กลุ่มผู้ผลิตจะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 1 ก.ย.



นอกจากนี้ ในรายงานประจำเดือน ส.ค. กลุ่มโอเปกคาดความต้องการใช้น้ำมันในปี 2564 จะเพิ่มขึ้นที่ระดับเดิมที่ 5.94 ล้านบาร์เรลต่อวัน แม้ว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะเพิ่มขึ้น แต่เศรษฐกิจโลกยังคงเติบโตขึ้นต่อเนื่อง

โดยปิดตลาดเมื่อวันที่ 12 ส.ค.2564 ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส อยู่ที่ 69.09 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง 0.16 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ อยู่ที่ 71.31 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง 0.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบ อยู่ที่ 70.66 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.79 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล


ส่วนสถานการณ์ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ พบว่า ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงกดดันจากการส่งออกจากเอเชียเหนือที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคายังได้รับแรงหนุนจากตลาดน้ำมันเบนซินสหรัฐฯ ที่ยังปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ปรับลดลงกว่า 1.1 ล้านบาร์เรลจากสัปดาห์ก่อนหน้า

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงกดดันจากการส่งออกจากเอเชียเหนือที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่อุปสงค์ชะลอตัวลงตามฤดูกาล นอกจากนี้ ราคายังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังสิงคโปร์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์

โดยปิดตลาดเมื่อวันที่ 12 ส.ค.2564 ราคาน้ำมันเบนซิน อยู่ที่ 83.11 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.26 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดีเซล อยู่ที่ 74.81 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.17 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

18299


เมื่อวันที่ 12 ส.ค. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 4,566 ล้านโดส ใน 201 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 39.1 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 353 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 167 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว

ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 195.18 ล้านโดส โดยสิงคโปร์ฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (75.9% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 78.51 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2564 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 22,288,819 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 54.20%

ในการฉีดวัคซีน จำนวน 4,566 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ

1. ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2564
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 22,288,819 คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 17,068,105 โดส (25.8% ของประชากร)
-เข็มสอง 4,826,641 โดส (7.3% ของประชากร)
-เข็มสาม 394,073 โดส (0.6% ของประชากร)

2. อัตราการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ.- 12 ส.ค. 64 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 22,288,819 โดส ฉีดเพิ่มขึ้น 570,865 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 475,302 โดส/วัน

3. อัตราการฉีดวัคซีน ประกอบด้วย
วัคซีน Sinovac
- เข็มที่ 1 7,276,652 โดส
- เข็มที่ 2 3,443,314 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส

วัคซีน AstraZeneca
- เข็มที่ 1 8,526,768 โดส
- เข็มที่ 2 892,320 โดส
- เข็มที่ 3 190,288 โดส

วัคซีน Sinopharm
- เข็มที่ 1 1,222,497 โดส
- เข็มที่ 2 472,509 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส

วัคซีน Pfizer
- เข็มที่ 1 42,188 โดส
- เข็มที่ 2 18,498 โดส
- เข็มที่ 3 203,785 โดส

4. การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย
- บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่1 118.4% เข็มที่2 102.0% เข็มที่3 55.3%
- เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เข็มที่1 50.6% เข็มที่2 30.2% เข็มที่3 0%
- อสม เข็มที่1 54.7% เข็มที่2 24.7% เข็มที่3 0%
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่1 35.2% เข็มที่1 6.2% เข็มที่3 0%
- ประชาชนทั่วไป เข็มที่1 31.2% เข็มที่2 9.0% เข็มที่3 0%
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 32.8% เข็มที่2 2.5% เข็มที่3 0%
- หญิงตั้งครรภ์ เข็มที่1 1.6% เข็มที่2 0.1% เข็มที่3 0%
รวม เข็มที่1 34.1% เข็มที่2 9.7% เข็มที่3 0.8%

5. จังหวัดที่ฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 แบ่งเป็น 2 ชุดข้อมูล
กรุงเทพฯ และปริมณฑล เข็มที่1 53.6% เข็มที่2 12.5% เข็มที่3 0.8% ประกอบด้วย
- กรุงเทพฯ เข็มที่1 74.1% เข็มที่2 16.1% เข็มที่3 1.1%
- สมุทรสาคร เข็มที่1 33.7% เข็มที่2 13.5% เข็มที่3 0.5%
- นนทบุรี เข็มที่1 35.2% เข็มที่2 11.7% เข็มที่3 0.5%
- สมุทรปราการ เข็มที่1 34.7% เข็มที่2 6.8% เข็มที่3 0.4%
- ปทุมธานี เข็มที่1 30.5% เข็มที่2 6.8% เข็มที่3 0.3%
- นครปฐม เข็มที่1 19.9% เข็มที่2 4.8% เข็มที่3 0.4%

จังหวัดอื่น ๆ 71 จังหวัด เข็มที่1 15.9% เข็มที่2 5.2% เข็มที่3 0.5%
- ชลบุรี เข็มที่1 27.4% เข็มที่2 8.8% เข็มที่3 0.8%
- พระนครศรีอยุธยา เข็มที่1 15.6% เข็มที่2 4.0% เข็มที่3 0.3%
- สงขลา เข็มที่1 21.5% เข็มที่2 6.7% เข็มที่3 0.9%
- ยะลา เข็มที่1 24.3% เข็มที่2 7.5% เข็มที่3 0.6%
- ปัตตานี เข็มที่1 18.9% เข็มที่2 5.8% เข็มที่3 0.3%
- ฉะเชิงเทรา เข็มที่1 37.0% เข็มที่2 5.0% เข็มที่3 0.5%

6. ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 195,188,048 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 78,512,091 โดส (19%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Moderna และ Sinopharm
2. ฟิลิปปินส์ จำนวน 26,127,502 โดส (12.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna, J&J และ AstraZeneca
3. มาเลเซีย จำนวน 25,863,563 โดส (50%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac
4. ไทย จำนวน 22,288,819 โดส (25.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
5. กัมพูชา จำนวน 15.265,222 โดส (55.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca, J&J และ Sinovac
6. เวียดนาม จำนวน 12,098,821 โดส (11.3%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Sinopharm
7. สิงคโปร์ จำนวน 8,458,968 โดส (75.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
8. พม่า จำนวน 3,500,000 โดส (N/A* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
9. ลาว จำนวน 2,871,621 โดส (20.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V, Pfizer, J&J, Sinovac และ AstraZeneca
10. บรูไน จำนวน 201,441 โดส (35.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร/2 เหมือนกันทุกประเทศ

7. จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 66.46%
2. อเมริกาเหนือ 11.34%
3. ยุโรป 13.62%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 6.46%
5. แอฟริกา 1.74%
6. โอเชียเนีย 0.38%

8. ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 5 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 1,808.09 ล้านโดส (64.6% ของจำนวนการฉีดทั่วโลก)
2. อินเดีย จำนวน 519.08 ล้านโดส (19.0%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 353.21 ล้านโดส (55.2%)
4. บราซิล จำนวน 155.43 ล้านโดส (38.0%)
5. ญี่ปุ่น จำนวน 105.68 ล้านโดส (41.9%)

9. ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. มัลดีฟส์ (83.4% ของประชากร) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinopharm)
2. บาห์เรน (80.8%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)
3. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (80.2%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
4. สิงคโปร์ (75.9%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ Sinovac)
5. กาตาร์ (71.8%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
6. อุรุกวัย (70.4%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
7. ชิลี (68.8%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, CanSino, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
8. ภูฏาน (68.4%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Moderna)
9. เดนมาร์ก (68.0%) (ฉีดวัคซีนของ Moderna, Pfizer/BioNTech และ J&J)
10. แคนาดา (67.9%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford Moderna และ Pfizer/BioNTech) 

18300


วันนี้ (12 ส.ค.) เมื่อเวลา 14.30 น. นางวัลยา วัฒนรัตน์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ตรวจความพร้อมศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตสาทร โดยมี ดร.วัลลภ สุวรรณดี ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารเขตสาทร ทีมแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลเลิดสิน ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล ณ ศูนย์กีฬาเขตสาทร แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร

ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตสาทร ใช้พื้นที่อาคารศูนย์กีฬาเขตสาทร สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 166 เตียง แบ่งเป็น ผู้ป่วยชาย 60 เตียง ผู้ป่วยหญิง 106 เตียง โดยมีทีมแพทย์จากโรงพยาบาลเลิดสิน และศูนย์บริการสาธารณสุข 14 แก้วสีบุญเรือง เป็นผู้บริหารจัดการผู้ป่วย คาดว่า จะสามารถเปิดรับผู้ป่วยได้ในวันที่ 14 ส.ค. 64 นับเป็นศูนย์พักคอยฯ แห่งที่ 2 ในพื้นที่เขตสาทร โดยศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตสาทร แห่งที่ 1 ตั้งอยู่ที่อาคารศูนย์เรียนรู้พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม วัดสุทธิวราราม ซึ่งเป็นศูนย์พักคอย 1 ใน 7 แห่ง ที่กรุงเทพมหานครเตรียมขยายศักยภาพในการรองรับผู้ป่วย โดยได้ปรับเป็นศูนย์พักคอยกึ่งโรงพยาบาลสนาม (Community Isolation plus : CI plus) เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการระดับสีเหลืองได้รับการรักษาเพิ่มขึ้น

กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ หรือ Community Isolation เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีผลตรวจรับรองว่า ติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต โดยมีเป้าหมายเปิดศูนย์พักคอยฯ ให้ได้มากที่สุด เพื่อแยกผู้ป่วยโควิด-19 ออกมาจากบ้าน นำมาพักคอยที่ศูนย์ฯ มีการคัดกรองอาการและดูแลเบื้องต้น เพื่อรอการส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาล หากมีอาการแย่ลง ลดปัญหาการแพร่ระบาดและติดเชื้อของคนในครอบครัวและชุมชน ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับการยืนยันว่า ติดเชื้อโควิด-19 สามารถโทร.ติดต่อสายด่วน 1330 หรือ สายด่วนโควิด 50 เขต เขตละ 20 คู่สาย ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับการประเมินเข้าสู่ระบบการรักษาแบบแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation : HI) หรือเข้าพักที่ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation : CI) หรือโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

18304


นางลินดา ลีสหะปัญญา กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)หรือ BH แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาส2ปี2564 จำนวน 216.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้น387.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 44.42 ล้านบาท เนื่องจากมีรายได้รวม3,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.2% โดยเป็นรายได้จากกิจการโรงพยาบาลจำนวน 2,980 ล้านบาท เพิ่มขึ้น23% จาก2,422 ล้านบาท ในไตรมาส 2 ปี 2563

ทั้งนี้สาเหตุหลักเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากกลุ่มผู้ป่วยชาวไทยและชาวต่างประเทศ 27.3%และ 18.5% ตามลําดับ เป็นผลให้รายได้จากกลุ่มผู้ป่วยชาวไทยคิดเป็นสัดส่วน 53.6%จากทั้งหมด ในขณะที่รายได้จากกลุ่มผู้ป่วยต่างประเทศคิดเป็น46.4% ในไตรมาส 2 ปี 2564 เทียบกับ 51.8% และ 48.2%ตามลําดับในไตรมาส 2 ปี 2563

ส่วนผลการดำเนินงานงวดครึ่งปีแรก2564 มีกำไรสุทธิ 307.59 ล้านบาท ลดลง 62%จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 809.62 ล้านบาท เนื่องจากมีรายได้ 5,694 ล้านบาท ลดลง13.5% จากครึ่งปีแรก2563 ที่มีรายได้รวม 6,586 ล้านบาท 

ทั้งนี้สาเหตุหลักเป็นผลจากการลดลงของรายได้จากกลุ่มผู้ป่วยชาวต่างชาติ 32.3% หักลบกับการเพิ่มขึ้นของราไยด้จากกลุ่มผู้ป่วยชาวไทย13.1% เป็นผลทำให้รายได้จากลุ่มผู้ป่วยชาวไทยคิดเป็น53.7% จากทั้งหมด ในขณะที่รายได้จากกลุ่มผู้ป่วยต่างประเทศคิดเป็น46.3%ในครึ่งปีแรกของปี2564เทียบกับ41%และ59%ตามลำดัล ในครึ่งปีแรกของปี2563

ขณะที่คณะกรรมการบริษัท (บอร์ด)อนุมัติจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสดสำหรับผลดำเนินงานงวดครึ่งปีแรกปี 2564 (1ม.ค.-30มิ.ย.2564) ในอัตรา1.15 บาทต่อหุ้น โดยกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับปันผล (Record date) วันที่ 26 ส.ค. 2564 และวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล(XD) วันที่ 25 ส.ค. 2564 กำหนดจ่ายวันที่ 8 ก.ย.2564

18306
ลูกอมพระแม่ธรณี

จัดสร้างจากดินใต้ฐานพระแม่ธรณี ผงมหาจักรพรรดิ และมวลสารอื่น ๆ ช่วยในเรื่องการขายบ้าน ขายที่ดิน

หน้า: 1 ... 1015 1016 [1017] 1018 1019 ... 1032