ผู้เขียน หัวข้อ: มาทำความรู้จักฟันชนิดที่สามของชีวิต ซึ่งก็คือการทำฟันปลอมนั่นเอง  (อ่าน 120 ครั้ง)

ออฟไลน์ guupost

  • Full LED TV member
  • ****
  • กระทู้: 1,853
    • ดูรายละเอียด


ฟันปลอม หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า ฟันเทียม หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นเลียนแบบฟันแท้เพื่อใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป ไม่ว่าจะเพื่อความสะดวกในการบดเคี้ยวหรือกินอาหาร เสริมบุคลิกภาพ ทำให้การออกเสียงชัดเจนขึ้น ป้องกันปัญหาการล้มเอียงของฟันซี่ที่เหลือไปยังช่องว่างของเหงือก รวมทั้งปัญหาเรื่องขากรรไกรที่อาจเกิดขึ้น

ฟันปลอมแบ่งได้กี่ประเภท
ทำฟันปลอมชนิดถอดได้
อาจใช้ทดแทนซี่ฟันที่หายไปเพียงบางซี่ หรือมากกว่านั้น กรณีที่สูญเสียฟันแท้ไปเพียงบางซี่ หมอฟันจะกรอแต่งรูปร่างของฟันในบางตำแหน่งให้เป็นที่อยู่ของฐานฟันเทียมและตะขอ เพื่อให้ฟันปลอมสามารถใช้งานได้โดยไม่หลุดออกจากปาก หรือหากเป็นกรณีที่ทำทั้งขากรรไกรก็อาจเป็นการพิมพ์ปากทั้งแนว (บน หรือล่าง) เพื่อเสริมวัสดุเป็นฐานรากไม่ให้ฟันปลอมหลุด ส่วนวัสดุที่ใช้ทำฟันปลอมมักทำจากอะคลิลิก (พลาสติก) หรือโลหะผสม

ทำฟันปลอมชนิดติดแน่น
มีหลายชนิด ถ้าใช้ในการซ่อมแซมฟันซี่ใดซี่หนึ่งเพียงซี่เดียวจะเรียกว่า “ครอบฟัน” แต่ถ้าหากใช้แทนซี่ฟันที่หายไปด้วยจะเรียกว่า “สะพานฟัน” หรือ "สะพานฟันติดแน่น"  ซึ่งหมอฟันจะกรอแต่งฟันซี่ข้างเคียงเพื่อสวมสะพานฟัน

รากเทียม
การรักษาเพื่อทดแทนซี่ฟันที่หายไปเพียงบางซี่ หลายซี่ หรือทั้งปาก โดยรากเทียม ทำจากโลหะ ไทเทเนียมซึ่งมีคุณสมบัติเข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อของมนุษย์ ทันตแพทย์จะผ่าตัดรากเทียมฝังไว้ในกระดูกขากรรไกรเพื่อทดแทนรากฟันธรรมชาติที่หายไปจากการถอนฟัน จากนั้นจะรอระยะเวลาให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกดีแล้วหมอฟันจึงสามารถใช้รากเทียมเป็นฐานยึดครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอมได้

หลังการถอนฟันหลายๆ ซี่ เหงือก และกระดูกจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างค่อนข้างเร็ว ทันตแพทย์จึงปล่อยให้ช่องเหงือกรักษาและเปลี่ยนรูปร่างตัวเองก่อนเป็นเวลาหลายเดือน ก่อนจะทำฟันปลอมให้ การใส่ฟันปลอมในระยะแรก ๆจะมีความรู้สึกแปลกๆ เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาอยู่ในปาก จากนั้นเมื่อใส่ฟันปลอมเป็นประจำทุกๆ วัน คุณจะค่อยๆ ชินไปเอง ทั้งนี้ทันตแพทย์จะแนะนำให้สวมฟันปลอมตลอดเวลา ยกเว้นเวลานอนเพื่อให้เหงือกได้พัก

การทานอาหารด้วยฟันปลอม
เมื่อคุณเริ่มใส่ฟันปลอมครั้งแรก คุณควรรับประทานแต่อาหารอ่อนๆ ที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ และค่อยๆ เคี้ยวโดยใช้ฟันทั้งสองฟาก หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่งและอาหารที่มีความเหนียว แข็ง หรือมีความคม ค่อย ๆ ปรับตัวให้สามารถรับประทานอาหารประเภทอื่น ๆ ได้ และไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันทำความสะอาดฟันปลอมในช่องปาก

หากฟันปลอมของท่านติดกาวอย่างพอดีก็ไม่จำเป็นต้องใช้กาวติดฟันปลอมแต่อย่างใด แต่หากกระดูกกรามของคุณเกิดหดตัวจนรู้สึกว่า ฟันปลอมหลวม ควรกลับไปพบหมอฟันเพื่อทำการแก้ไข หรือใช้กาวช่วยติด บางท่านอาจรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเมื่อใช้กาวติดฟันปลอม อย่างไรก็ตาม ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์และหลีกเลี่ยงการใช้กาวปริมาณมากเกินไป ทั้งนี้สามารถกำจัดกาวติดออกจากฟันปลอมได้ด้วยสบู่และน้ำ ส่วนคราบกาวที่ติดอยู่ในช่องปากก็สามารถล้างออกด้วยกระดาษทิชชู่ชุบน้ำ หรือด้วยผ้าเนื้ออ่อนชุบน้ำสะอาดนำมาเช็ดฟันปลอมให้ทั่ว

ดู การดูแลช่องปากและทำความสะอาดและข้อเขียนสาระดี ๆ ได้ที่
เว็บไซต์ : https://www.honestdocs.co/denture