ผู้เขียน หัวข้อ: จำหน่าย เครื่องบดยางหรือเครื่องรีไซเคิลยาง ขนาดตั้งแต่ 1-20 ตัน/ชั่วโมง  (อ่าน 1046 ครั้ง)

ออฟไลน์ mplexre

  • Flat TV member
  • *
  • กระทู้: 58
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
จำหน่าย เครื่องบดยางหรือเครื่องรีไซเคิลยาง ขนาดตั้งแต่ 1-20 ตัน/ชั่วโมง



เครื่องบดยาง
หรือ เครื่องรีไซเคิลยาง ที่ทางบริษัทเราจำหน่าย เป็นเครื่องบดยางแบบเพลาคู่ ใบมีดในการบดยางนำเข้ามาจากประเทศอเมริกามีความทนทานสูง สามารถบดยางได้ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ยางที่เราหมายถึงนั้นคือยางรถยนต์ ชิ้นงานที่บดออกมาสามารถกำหนดขนาดได้ว่าต้องการได้ขนาดเท่าไหร่วิธีทั่วไปที่คนส่วนใหญ่ใช้ในการกำจัดยาง

คนส่วนใหญ่จะเรียกขั้นตอนของการนำขยะกลับมาใช้ใหม่นี้ว่า การรีไซเคิล ในทางปฏิบัติแล้ว การรีไซเคิลขยะยางสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมบางประเภท,การนำยางที่กำจัดแล้วไปใช้ทำเป็นน้ำมันและอีกๆหลายอย่าง การนำกลับมาประยุกต์ใช้ใหม่ (reuse) และการนำไปผ่านกระบวนการเพื่อแปรรูปหรือเพื่อให้ได้ส่วนประกอบดั้งเดิมของผลิตภัณฑ์เก่านั้นกลับคืนมา ตัวอย่างของการนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น การนำโครงยางล้อที่ผ่านการใช้งานแล้วแต่ยังคงมีสภาพดีไปหล่อดอกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือการนำยางล้อเก่าไปประยุกต์ทำเฟอร์นิเจอร์ เหล่านี้เป็นต้น

ยางทีบดหรือผ่านการไรไซเคิลยางแล้วเอาไปทำอะไรต่อ?
ยางที่บดหรือผ่านการไรไซเคิลยางแล้วเราจำนำไปเป็นเชื้อเพลงในการทำอย่างเช่นอย่างเช่นกระบวนการไพโรไลซิส กระบวนการไพโรไลซิส คือ กระบวนการให้ความร้อนกับวัสด่ที่อุณหภูมิประมาณ 450-700°C ในสภาวะที่ปราศจากออกซิเจนหรือมีออกซิเจนเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ความร้อนจะทำให้วัสดุเกิดการสลายตัวกลายเป็นก๊าซหรือของเหลว เมื่อนำยางที่ใช้งานแล้วไปผ่านกระบวนการไพโรไลซิส ความร้อนจะทำให้โมเลกุลของยางเกิดการสลายตัว กล่าวคือ เกิดการตัดขาดของโมเลกุลซึ่งแต่เดิมที่เป็นโมเลกุลสายโซ่ยาวให้เป็นโมเลกุลสายโซ่สั้นลง ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการนี้ประกอบไปด้วยก๊าซเชื้อเพลิงซึ่งเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำที่ระเหยได้ น้ำมัน และยังมีส่วนของแข็งที่เหลือจากกระบวนการนี้อันได้แก่ เขม่าดำ (carbon black) และถ่าน

การนํายางผงไปใช้งาน

ปัจจุบันมีการนํายางผงที่ได้จากการรีไซเคิลไปประยุกต์ใช้งานในหลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ใน อุตสาหกรรม ได้แก่
1. อุตสาหกรรมยาง ใช้ยางผงเป็นสารตัวเติมแบบไม่เสริมแรงทั้งในอุตสาหกรรมยางล้อและผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เช่น แผ่นยางและบล็อกยางปูพื้น พรมปูพื้น ยางบังโคลน ทุอยาง ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต แต่เนื่องจากยางผงมีขนาด อนุภาคค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับเขม่าดําหรือซิลิกา ดังนั้นการเติมลงไปในยางอาจทําให้สมบัติเชิงกลของยางด้อยลง ซึ่งจะ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
1) ชนิดของยางผงต้องเข้ากันได้กับยางที่นําไปใช้
2) ขนาดของอนุภาคของยางผงที่เติมลงไปควรมีขนาดเล็ก เพราะจะทําให้ประสิทธิภาพในการเสริมแรงสูงขึ้น
3) ปริมาณยางผงที่เติมลงไปจะมีผลต่อสมบัติเชิงกลของผลิตภัณฑ์ เช่น ความทนต่อแรงดึง การยืดตัว ณ จุดขาด และความต้านทานต่อการขัดถู
อย่างไรก็ตามยางผงมีความแข็งสูงกว่ายางดิบค่อนข้างมากเนื่องจากผ่านการวัลคาไนซ์แล้ว การเติมยางผงลงไปใน สูตรยางคอมพาวด์จะทําให้ยางคอมพาวด์มีความหนืดสูงขึ้น มีฟองอากาศน้อยลง มีการบวมตัวหลังเอกซ์ทรูดผ่านดายหรือหลัง รีดด้วยเครื่องคาเลนเดอร์ลดลง
2. งานวิศวกรรมโยธา มีการนํายางผงไปใช้ในงานวิศวกรรมโยธาหลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในงาน สําคัญ คือ การนําไปผสมกับยางมะตอยเพื่อปูพื้นถนน ซึ่งจะช่วยทําให้พื้นผิวถนนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และเมื่อใช้งานที่ อุณหภูมิสูงสามารถลดปัญหาการเกิดร่องหรือหลุมบนพื้นผิวถนน มีการรายงานว่าการเติมยางผงลงไปในยางมะตอยประมาณ 20% จะช่วยให้ยางมะตอยมีความทนต่อการล่าตัวสูงขึ้น 2-3 เท่า


เรียบเรียงโดย : https://www.cctgroup.co.th