ผู้เขียน หัวข้อ: “พาณิชย์” แนะผู้ส่งออกศึกษาประกาศอียูห้ามสารตะกั่ว-แคดเมียมในอาหาร  (อ่าน 80 ครั้ง)

ออฟไลน์ Ailie662

  • Hologram 3D TV member
  • ******
  • กระทู้: 18,558
    • ดูรายละเอียด


น.ส.ฐะปะนีย์ เครื่องประดิษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบูดาเปสต์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2021/1317 ว่าด้วยการแก้ไขปริมาณตกค้างสูงสุด (MLs) ของสารตะกั่ว (Lead) ในอาหาร และ Commission Regulation (EU) 2021/1323 การแก้ไขปริมาณตกค้างสูงสุด (MLs) ของสารแคดเมียม (Cadmium) ในอาหาร ตามลำดับ โดยปรับปรุงเพิ่มเติมจากระเบียบเก่า เนื่องจากสารดังกล่าวเป็นพิษต่อระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ อีกทั้งเป็นสารก่อมะเร็ง จึงปรับปริมาณ MLs ในสินค้าอาหารกลุ่มเสี่ยง และอาหารที่บริโภคโดยทารกและเด็กเล็ก เช่น น้ำนม นมสำหรับทารก อาหารทารก เนื้อสัตว์ ธัญพืช น้ำมัน ผัก ผลไม้ น้ำผลไม้ ไวน์ [^_^] สมุนไพร เกลือ เป็นต้น ทั้งนี้ สินค้าที่ผลิตขึ้นก่อน 31 ส.ค. 2564 (วันที่ระเบียบข้างต้นมีผลบังคับใช้) อนุโลมให้จำหน่ายในท้องตลาดได้จนถึงวันที่ 28 ก.พ. 2565

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปรายงานว่า การบังคับใช้กฎระเบียบดังกล่าวเป็นไปเพื่อลดปริมาณสารก่อมะเร็งในสินค้าอาหาร และส่งเสริมให้ผู้บริโภคเข้าถงอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น อันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการต่อสู้กับโรคมะเร็ง Europe’s Beating Cancer Plan ปี 2564 เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประชากรทั่วโลก โดยปัจจุบันผู้ป่วยโรคมะเร็งราว 1 ใน 4 จากทั้งโลกอยู่ในพื้นที่สหภาพยุโรป โรคมะเร็งที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ โดยจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี

น.ส.ฐะปะนีย์กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกสินค้าทางการเกษตรและสินค้าอาหารไปยังสหภาพยุโรปเป็นอันดับต้นๆ ของอาเซียน โดยในปี 2563 สินค้าหมวดอาหารและสัตว์มีชีวิต เครื่องดื่มและยาสูบ และน้ำมัน ไขมันจากพืชและสัตว์ คิดเป็นร้อยละ 9 ของสินค้านำเข้าทั้งหมดจากประเทศไทยไปยังสหภาพยุโรป จึงนับว่าสินค้าอาหารจากไทยยังมีโอกาสทางการค้าในสหภาพยุโรปอยู่มาก แต่ผลจากสหภาพยุโรปให้ความสำคัญต่อสวัสดิภาพและสุขอนามัยของผู้บริโภคอย่างมาก จึงมีการทบทวนระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของสินค้าอุปโภคบริโภคตลอด ผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะส่งสินค้าไปขายในฮังการีและโรมาเนีย ควรติดตามข่าวการควบคุมด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของอาหารจากคณะกรรมาธิการยุโรปอยู่อย่างสม่ำเสมอ

ก่อนหน้านี้ หน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority หรือ EFSA) แถลงในรายงานประเมินความปลอดภัยของสารไทเทเนียมไดออกไซด์ในวัตถุเจือปนอาหารฉบับล่าสุดว่า ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันยืนยันว่าสารไทเทเนียมไดออกไซด์มีความเสี่ยงที่เป็นพิษต่อพันธุกรรม (Genotoxicity) เป็นเหตุให้ไม่สามารถยืนยันปริมาณที่มนุษย์สามารถรับประทานและสะสมเข้าในร่างกายได้ทุกวันโดยไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติใดๆ ต่อสุขภาพอนามัย จึงให้ถือว่าสารไทเทเนียมไดออกไซด์ไม่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค (Unsafe) ข้อมูลชุดนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญให้แก่คณะกรรมาธิการยุโรปในการพิจารณาห้ามใช้สารดังกล่าวในการผลิตอาหารทั้งสหภาพยุโรปในอนาคต ขณะที่ฝรั่งเศสได้ห้ามใช้สารดังกล่าวในสินค้าอาหารที่จำหน่ายในประเทศตั้งแต่ปี 2562 โดยชี้แจงว่าไม่มีหลักฐานยืนยันความปลอดภัยของสารดังกล่าวต่อผู้บริโภคในระยะยาว

สารไทเทเนียมไดออกไซด์ (Titanium dioxide : TiO2) หรือมักเรียกในวงการอุตสาหกรรมอาหารว่า E171 โดยทั่วไปมีสีขาว ทึบแสง ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เนื่องจากไม่มีกลิ่น และดูดซับได้ดี ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอาหารมักใช้สารไทเทเนียมไดออกไซด์ในสารแต่งสีขาว เช่น ซุป น้ำสต๊อก ซอสปรุงรส ลูกกวาด หมากฝรั่ง แป้ง น้ำตาลตกแต่งหน้าเค้กและขนมอบต่างๆ รวมทั้งน้ำตาลไอซิ่ง เป็นต้น ปรุงแต่งสีอาหารให้มีสีนวลขึ้น และใช้เคลือบฟิล์มบนพื้นผิวผลิตภัณฑ์ขนมไม่ให้ขนมติดกัน แต่มิได้มีคุณค่าทางโภชนาการแต่อย่างใด และยังใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอื่นๆ เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ ยาสีฟัน เครื่องสำอาง ครีมกันแดด สีทาบ้าน เป็นต้น เนื่องจากมีคุณสมบัติเพิ่มความข้นหนืด ทำให้ผิวกระจ่างใส นุ่มลื่น และป้องกันแดดจากคุณสมบัติทึบแสงและการดูดกลืนรังสี UV ได้