ผู้เขียน หัวข้อ: เทคโอเวอร์ นิวคาสเซิ่ล มหาเศรษฐีใหม่ พรีเมียร์ลีก  (อ่าน 120 ครั้ง)

ออฟไลน์ Prichas

  • Hologram 3D TV member
  • ******
  • กระทู้: 18,386
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
เมื่อเดือนเมษายน ปีที่แล้ว ผมเขียนเรื่องการเทก โอเวอร์ นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด เอาไว้ในน.ส.พ.สตาร์ซอกเกอร์ หลังจากการเข้าซื้อกิจการทีมฟุต.ของกลุ่มทุนจากซาอุดีอาระเบียนำโดยเจ้าชายโมฮัดเหม็ด บิน ซัลมาน ไม่เป็นผล ติดเรื่องเดียวคือ "คุณสมบัติ" เจ้าของทีม

    1 ความเหมาะสมจากซาอุดีอาระเบีย ดินแดนที่ถูกมองเรื่อง "สิทธิมนุษยชน" (ราชวงศ์ซาอุฯ พัวพันกับการอุ้มฆ่านักข่าวซาอุในสถานทูตซาอุที่อิสตันบุล ประเทศตุรกี) และการละเมิดลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีก 

    2คำถามของพรีเมียร์ลีกในตอนนั้นคือ "ใครคือเจ้าของทีม" กันแน่

Ads by AnyDigital
You can close Ad in 4 s

    ข้อ 1 ไม่เท่าไหร่ครับ เพราะมันเป็นปัญหาที่คลี่คลายได้ และการพัวพันของราชวงศ์ซาอุฯ ต่อการสังหารนักข่าวซาอุฯ ไม่มีหลักฐานเพราะกลุ่มคนที่ลงมือโดนลงโทษไปแล้ว (แม้จะไม่ได้ประหารชีวิต) ในกระบวนการยุติธรรมที่ไม่มีอะไรแตะถึงเจ้าชาย  ทว่าข้อ 2 น้ำหนักเยอะสุด เลยครับ เพราะคือเรื่องที่พรีเมียร์ลีกต้องการคำตอบ

    วันนี้ข่าวใหญ่เกรียวกราวไปทั่วโลกเมื่อกลุ่มทุนจากซาอุดีอาระเบียภายใต้การนำของเจ้าชาย โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ได้รับการรับรองจากพรีเมียร์ลีกให้เข้ามาบริหารสโมสรต่อจากไมค์ แอชลีย์ ที่โดนแฟนสาลิกาแช่งเช้าแช่งเย็น และก็ไม่แปลกเมื่อทั้งผลสำรวจความคิดเห็น 93% เห็นชอบที่กลุ่มทุนซาอุฯเข้ามาเป็นเจ้าของทีมและเมื่อข่าวนี้ออกมา แฟนๆสาลิกาดงกว่า 15,000 คน แห่กันไปที่หน้าสนามเซนต์ เจมส์ พาร์ค ฉลองกันใหญ่โต

    ความเคลื่อนไหวล่าสุด...อแมนดา สเตฟลีย์ ผู้เป็นตัวกลางสำคัญในการดีลเรื่องนี้ จนลุล่วง (นางรวยเละ) เดินทางมาถึงสโมสรเรียบร้อยพร้อมให้สัญญากับแฟน.ว่า....

ADVERTISEMENT


    "Newcastle United deserves to be top of the Premier League. We want to get there. It will take time, but we will get there,"

    ชัดเจนนะครับ....

    งานนี้สาวกทูน อาร์มี ปลาบปลื้มและแฮปปี้อย่างไร้ข้อสงสัย 

    เรื่องราวของการซื้อกิจการของ นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด นี่เหมือนเป็นสตอรี ยาวๆสักเรื่องหนึ่ง เพราะมันเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่ ไมค์ แอชลีย์ เจ้าของเดิมยังบริหารทีมอยู่ ทั้งโดนแฟนเริ่มขับไล่ และตัวเขาเองก็อยากขายให้ได้ราคาระดับ 350-400 ล้านปอนด์ แต่ไม่มีใครซื้อ กลุ่มทุน ซาอุดีอาระเบียเอง แม้มีเงินเยอะ แต่มองว่า "แพงไป"  พอมาถึงช่วงโควิด กลุ่มทุน ซาอุดีอาระเบีย เห็นช่องเลยยื่นเข้นมาในวงเงินที่ต่ำกว่าที่แอชลีย์ ต้องการ...ภาวะนี้ ไมค์ จำใจต้องขายละ ไม่งั้นแบกหลังอาน

ADVERTISEMENT


เทคโอเวอร์ นิวคาสเซิ่ล มหาเศรษฐีใหม่ พรีเมียร์ลีก
    เรื่องราวทั้งหมดผมขัดเกลาๆจากข้อมูลเดิมของผมเมื่อปีที่แล้วในหนังสือพิมพ์ ต่อเติมของใหม่เมื่อวานนี้นิดหน่อย เพราะพลอตเรื่องมันคงเดิม แค่เพิ่มเติมว่า "ดีล ดัน" และ ทำไมถึง "done"

    ไทม์ไลน์เทกโอเวอร์

    13 มิ.ย. 2017 มีข่าวกลุ่มทุนจีนพร้อมยื่นข้อเสนอซื้อนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด จาก ไมค์ แอชลีย์ ไปบริหาร ในวงเงิน 300 ล้านปอนด์ หลังจากประธานาธิบดี สี จิ้ง ผิง เปิดตลาดธุรกิจข้ามชาติและมีโครงการพัฒนาฟุต.จีน โดยเริ่มจากธุรกิจสโมสรฟุต.อาชีพก่อน ไมค์ แอชลีย์ ไม่ปฏิเสธและตอบรับข่าวนี้...ก่อนเงียบหายไป

    22 ต.ค. 2017 ปีเดียวกันนั้นมีข่าวว่า ราฟาเอล เบนิเตส มีส่วนในการเชิญกลุ่มทุนที่ชื่อ  PCP Capital Partners  ที่บริหารโดย มิส อแมนดา สเตฟเวอรีย์  มาชมเกมในเซนต์ เจมส์ พาร์ค นัดเสมอลิเวอร์พูล 1-1 ซึ่ง อแมนด้า รู้จักกับ ราฟา สมัยที่เขาคุมลิเวอร์พูล แล้ว บริษัททึ่ปรึกษาด้านการลงทุนของ อแมนด้า เคยยื่นซื้อลิเวอร์พูล แต่ ทอม ฮิคส์ กับ จอร์ช จิลเลต ไม่ขาย หลังมาดู.ที่เซนต์ เจมส์ พาร์ค ตามด้วยข่าวว่า PCP ยื่นข้อเสนอวงเงิน 300 ล้านปอนด์  ก่อน แอชลีย์ ปฏิเสธอีกครั้ง
ข่าวระบุว่าแอชลีย์ ต้องการประมาณ 400 ล้านปอนด์

    ม.ค. 2020 วงเงิน 340 ล้านปอนด์จาก กลุ่มทุนเจ้าเดิมถูกปฏิเสธ 

    14เม.ย. 2020  มีข่าวรั่วออกมาว่า กลุ่มทุนซาอุดีอาระเบียโดยเจ้าชาย ซัลมาน ทำเอกสารยื่นข้อเสนอซื้อนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด ในวงเงิน 310 ล้านปอนด์ โดยมีสามหุ้นส่วนด้วยกัน

1 Public Investment Funds (PIF) ของเจ้าชาย ซัลมาน ซาอุฯ 80% 
2 Reuben Brothers 10% (บริษัทลงทุนนอกตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์) 
3 PCP 10% (อะแมนด้าผู้บริหาร) 

    ดูแล้วเที่ยวนี้เป็นจริงจังและมีโอกาสที่สุดแต่พอการตรวจสอบหลักฐานและพิจารณาโดยพรีเมียร์ลีกต่อการซื้อขายครั้งนี้ และต้องล่าช้าเป็นธรรมชาติเพราะ "โควิด-19" ทำให้การทำงานไม่สะดวกมากนัก รวมทั้งเรื่องคุณสมบัติของเจ้าของทีม ก่อนสรุปว่า "คุณสมบัติ" เจ้าของทีมไม่ชัดเจนและใครคือเจ้าของทีมตัวจริงกันแน่ และถ้าเป็นราชวงค์ซาอุดีอาระเบีย เข้าข่าย รัฐบาล (state) เข้ามาบริหารทีมฟุต. ซึ่งผิดหลัก  fit and proper  (ธรรมาภิบาล)ของพรีเมียร์ลีกที่ไม่อนุญาติให้รัฐบาลชาติไหนมาเป็นเจ้าของทีม. จึงไม่สามารถ "เทก โอเวอร์ "ได้

    ผ่านไปหนึ่งปีเที่ยวนี้ ดีล ลุล่วงเรียบร้อย เพราะพรีเมียร์​ลีกได้คำยืนยันจากรัฐบาลซาอุดีอาระเบียแล้วว่าจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจการสโมสรนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด เป็นลายลักษณ์อักษร 

    งานนี้ว่ากันว่าหายไปหนึ่งปีเต็มๆนั้น "ลอบบียิสต์" ทำงานกันอย่างสนุกเลยละครับ จนบรรลุการรับรองจากพรีเมียร์ลีกในท้ายที่สุด 

    มีกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องใน "ดีล" นี้ หนึ่งในนั้นชื่อ อแมนดา สเตฟลีย์ และ "ปัญหา" สองสามประการที่ทำให้เป็นอุปสรรค ก่อนทลายมันลงไปได้ในท้ายที่สุด 

     อแมนดาเป็นใคร?

    อแมนดา สเตฟลีย์ พื้นเพเป็นคนท้องถิ่นละแวกริพอน เมือง ฮาร์โรเกต แคว้นยอร์คเชียร์ตอนเหนือ เรียนหนังสือเกือบจบปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ แต่เธอลาออกก่อนเพื่อไปทำธุรกิจ เคยมีข่าวออกเดตกับเจ้าชายแอนดรูว์ พระโอรสของสมเด็จพระราชินี เอลิซาเบธที่สอง ก็พระอนุชาของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ นั่นเอง

    เธอเปิดร้านอาหารใกล้ๆกับสนามแข่งม้า "นิว มาร์เก็ต" ที่มีชื่อเสียง ซึ่งห่างจากลอนดอนไปทางทิศเหนือ 100 กว่ากิโลเมตร อยู่พื้นที่ซัฟโฟลค์ ฝั่งตะวันออกของอังกฤษนั่นแหละ ที่นี่เป็นแหล่งรวมคนมีเงิน ไฮโซ นักธุรกิจ ที่มีทั้งคอกม้าและทีมม้าแข่ง มากมาย นั่นเองที่ทำให้เธอได้พบปะกับคนระดับไฮแรงค์ของโลกอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้เกิด "คอนเนคชั่น" โดยเฉพาะกลุ่มมหาเศรษฐีจากตะวันออกกลาง 

    จุดเปลี่ยนสำคัญคือการเล่นหุ้นและเปิดบริษัทที่ปรึกษาด้านการเงิน แล้วก็ขายทำกำไร ระหว่างนั้นเธอรู้จักกับหลายๆกลุ่มทุนจาก ดูไบ รวมทั้ง ราชวงค์ อัลมาคทูม แห่งดูไบ 

    นั่นจึงทำให้ชีวิตของเธอก้าวไปข้างหน้าบนเส้นทางสายการเงิน บินไปมาระหว่าง ดูไบ-ลอนดอน จนเปิดบริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนที่ชื่อ  PCP Capital Partners รับหน้าที่เจรจาธุรกิจจากตะวันออกกลางกับอังกฤษโดยเฉพาะ

    อะแมนด้า เคยแนะนำ ชีค มานซูร์ และที่ปรึกษาของเขาให้ลงทุนซื้อหุ้นในธนาคาร บาร์เคลย์ ของอังกฤษกว่า 3,500 ล้านปอนด์ ช่วงวิกฤตการณ์ ด้านการเงินของอังกฤษ คือช้อนซื้อหุ้นถูกๆ จากนั้นขายทำกำไร

    ส่วนตัวเธอฟันค่าธรรมเนียมในการดีลครั้งนั้น 30 ล้านปอนด์ หรือ 1,500 ล้านบาท  จากธุรกิจบริษัทการเงิน  เธอเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังในสังคมอังกฤษ เมื่อกระโดดเข้ามาวงการฟุต.เธอเป็นที่ปรึกษาในการซื้อลิเวอร์พูลปี 2008 แต่ล้มเหลวจนกระทั่ง อาบูดาบี ยูไนเต็ด กรุ๊ป ใช้บริษัทเธอช่วยเดินเรื่องซื้อแมนฯซิตี้ ต่อจากคุณทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2008 มีข่าวจากไฟแนนเชียล ไทม์ ระบุว่าบริษัทของเธอได้ค่านายหน้า 10 ล้านปอนด์ (500 ล้านบาทตอนนั้น)

    ปีเดียวกันเธอติดต่อซื้อลิเวอร์พูลให้กลุ่มทุนดูไบของ อัล มาคทูม แต่สุดท้ายการเทก โอเวอร์ ไม่เป็นผลสำเร็จกระทั่งมีข่าวกับนิวคาสเซิล ในท้ายที่สุด 

เทคโอเวอร์ นิวคาสเซิ่ล มหาเศรษฐีใหม่ พรีเมียร์ลีก
    ปัจจุบัน อะแมนด้า อายุ 48ปี มีทรัพย์สินกว่า 115 ล้านปอนด์ (4,000 ล้านกว่าบาท) มีบ้านอยู่ที่ดูไบ และ ลอนดอน แถว พาร์ค เลน (ย่านไฮโซ คนรวยระดับโลกอยู่กัน) เธอบินไปบินมาระหว่าง ดูไบกับลอนดอน เพื่อเจรจาธุรกิจ ต่อเนื่อง

    โดยการซื้อนิวคาสเซิล เที่ยวนี้ เธอเป็นที่ปรึกษาของ PIF ของเจ้าชายซัลมานแห่งซาอุ พร้อมทั้งมีระบุในเอกสารซื้อขายว่า บริษัทของเธอได้ลงหุ้น 10%  ในการซื้อครั้งนี้ อีกสิบเปอร์เซนต์ เป็นของ รอยเบน บราเธอร์ส กลุ่มทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่บริหารโดยพี่น้อง ไซมอน และ เดวิด รอยเบน ชาวอินเดียที่มาตั้งรกรากในอังกฤษ และถูกจัดลำดับมหาเศรษฐีจาก ซันเดย์ ไทมส์ เป็นอันดับสองในเกาะอังกฤษ มีมูลค่าทรัพย์สิน 1,866 ล้านปอนด์ (7.5 แสนล้านบาท) 

    หลังจาก "ดีล" นี้บรรลุเรียบร้อย เธอมีชื่อเป็นบอร์ดบริหารคนหนึ่งของนิวคาสเซิล ยูไนเต็ดด้วยเพราะเธอมีส่วน 10% ผ่านบริษัท PCP PCP Capital Partners นั่นเอง

    อ้อ...เมื่อหลายปีก่อน..เธอให้สัมภาษณ์ว่าเธอเป็นแฟน.นิวคาสเซิล อีกด้วย

    อะไรคือปัญหาของดีลนี้

    1 คุณสมบัติเจ้าของทีม....fit and proper owner

    หลักเกณฑ์ธรรมภิบาล  (the owners' and directors' test) นี้ สมาคมฟุต.อังกฤษร่างเอาไว้เมื่อปี 2013 นะครับ โดย ริชาร์ด สกิวดามอร์ อดีตประธานบริหารพรีเมียร์ลีกให้สัมภาษณ์กับบีบีซีเมื่อปี 2017ว่า "การวัดคุณสมบัติเจ้าของและผู้บริหาร ขึ้นกับพื้นฐานสำคัญสองเรื่องคือ คุณมีความผิดเรื่องอาชญากรรมใดๆจนเป็นเหตุให้คุณไม่สามารถเป็นเจ้าของสโมสรได้ และเรื่องการเงิน

    ดังนั้นเมื่อเม.ย.2020 ดีล ระหว่าง  PCP กับ แอชลีย์ บรรลุแล้วแต่ขั้นตอนจากนั้นคือการตรวจสอบสัญญาและตรวจสอบคุณสมบัติของเจ้าของใหม่ (ขั้นตอนสำคัญ)

    fit and owner คงเป็นหลักเกณฑ์ทาง "ธรรมาภิบาล"  ของเจ้าของทีมและผู้บริหารระดับสูงทั้งหมด  มันคือเชิงคุณค่า ซึ่งแน่นอนมัน "สำคัญ" และมี "ความหมาย" เชิงภาพลักษณ์ นี่คือ "มาตรฐาน" ที่สร้างขึ้นมาตรวจสอบคุณสมบัติเจ้าของทีม นั่นคือประเด็นสำคัญในการเป็นเจ้าของหรือไม่เป็นของ เจ้าชาย ซาอุ นี่คือด่านยากที่สุดในการเป็นเจ้าของทีมนิวคาสเซิล ยูไนเต็ดของ เจ้าชาย ซัลมาน เพราะคำว่า "เหมาะสมและถูกต้อง"  

    อ้อ... Fit and Proper นี้ไม่ใช่วัดแค่ "เจ้าของทีม" หากแต่ยังคลอบคลุมไปถึงทีมผู้บริหาร หรือ  directors ทั้งหลายอีกด้วย เราเรียกว่า  the owners' and directors' test นั่นเอง

    เช่นเดียวกันกับที่ บริษัทที่ปรึกษาด้านการเงินของ อะแมนด้า ถูกติดตามว่าเป็น บริษัทนายหน้า หรือร่างทรงของนักลงทุนตะวันออกกลาง หรือแหล่งฟอกเงินหรือไม่ ด้วยเพราะ บริษัทนี้ไม่มีพนักงานและสำนักงาน มีแต่ทรัพย์สินมูลค่า 2800 ล้านปอนด์ อะแมนด้า ในฐานะผู้บริหารก็เข้าข่าย "ธรรมาภิบาล" นี่จึงเป็นการตรวจสอบระดับชั้นนำทั้งระบบ

    ดังนั้นเมื่อ เม.ย. 2020 จึงเป็นดีลที่ไม่ปกติสักเท่าไหร่ ใช่ครับ ดีล ไม่ปกติมาในเวลาที่ไม่ปกติ...นั่นยิ่งทำให้ง่ายต่อการพิจารณาเอกสาร ตรวจสอบคุณสมบัติ ผลคือเมื่อปีก่อนจึงไม่ผ่านการพิจารณาจากพรีเมียร์ลีก 

    เรื่องอะแมนด้าไม่เท่าไหร่ครับ เรื่องของ เจ้าชาย ซัลมาน นี่น่าติดตาม

    2ปัญหาของเจ้าชาย

    ปีที่แล้วกลุ่ม Fair/Square ทำหนังสือถึงประธานบริหารพรีเมียร์ลีก นาย ริชาร์ด มาสเตอร์ และประธานคณะกรรมการบริหารสมาคมฟุต.อังกฤษ นาย มาร์ค บิลลิงแฮม โดยเน้นสองส่วนสำคัญในการตรวจสอบคุณสมบัติเจ้าของทีมและผู้บริหารพร้อมทั้งสรุปว่ามันมีเหตุให้กลุ่มทุนซาอุฯ​ไม่ผ่านคุณสมบัติในการเป็นเจ้าของทีมนิวคาสเซิล

    ขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับ  F.1.2  ระบุว่า เจ้าชาย โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน แห่งราชวงค์ซาอุดีอาระเบีย และเจ้าของกลุ่มทุน  PIF อาจใช้อำนาจในการกำหนดหรือมีอิทธิพลต่อสโมสรอื่นในอังกฤษ ซึ่งกรณีนี้ คือทีม เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด ซึ่งเจ้าของคือเจ้าชาย อับดุลลาห์ แห่งซาอุดีอาระเบีย

    ไม่เท่านั้น....เจ้าชายซัลมาน ยังมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับเจ้าของทีมแมนฯซิตี้ โมฮัมเหม็ด บิน ซายเอ็ด แห่งอาบูดาบี อีกต่างหาก

    ข้อบังคับนี้...เป๊ะเวอร์

    อีกคุณสมบัติหนึ่งที่ขาด...ตามข้อบังคับ F.1.6 เจ้าชายซาอุดีอาระเบียอาจขัดต่อหลักกฏหมายอังกฤษโดยที่แม้ว่ายังไม่ต้องโทษคดีความ เนื่องจากมีการกล่าวหาเรื่องการฆาตกรรมนาย ยามาล คาชอกกี้ นักข่าวซาอุดีอาระเบียในสถานทูตซาอุ ประจำกรุงอิสตันบุล เมื่อ ต.ค. 2018 แม้ว่าเจ้าชายทรงปฏิเสธก็ตาม ซึ่งเรื่องฆาตกรรมนั้นทางการซาอุ ระบุว่าเป็น  "rogue operation". ปฏิบัติการแหกคอก หรือปฏิบัติการที่ทำเกินอำนาจหน้าที่ โดยคนระดับสูงไม่รู้ไม่เห็น ไม่ได้สั่ง 

    อ้อ...เรื่อง คาชอกกี้ สรุปสั้นๆนะครับ เป็นนักข่าว, คอลัมนิสต์ชาวซาอุฯ เขียนวิจารณ์ราชวงค์ซาอุฯ ลี้ภัยออกจากประเทศตัวเอง และเขียนคอลัมน์ให้กับ วอชิงตัน โพสต์  ก่อนโดนฆาตกรรมโหดเ.้ยมในสถานทูตซาอุฯ ประจำกรุงอิสตันบุล ประเทศตุรกี

    ข่าวใหญ่ของโลกเมื่อสองปีก่อน ที่ตุรกีและซาอุฯ ต่างปฏิเสธความรับผิดชอบ ซึ่งแน่นอน สถานทูตซาอุ แม้อยู่ในกรุงอิสตันบุล แต่นั่นคือพื้นที่เอกสิทธิ์ เหมือนเป็นประเทศซาอุดีอาระเบีย (ก็เหมือนกันทั่วโลก) อยู่ในตุรกี

เทคโอเวอร์ นิวคาสเซิ่ล มหาเศรษฐีใหม่ พรีเมียร์ลีก
    นึกภาพออกนะครับคดีนี้ว่าใครต้องรับผิดชอบ...

    นอกจากนี้นาย นิโคลัส แมกกีฮาน ของ  Fair/Square บอกกับบีบีซีว่า "รัฐสภาอเมริกันลงมติเอกฉันท์ว่า เจ้าชาย ซัลมาน ต้องรับผิดชอบต่อการฆาตกรรมนาย คาชอกกี้ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษของยูเอ็น ได้ติดตามสอบสวนเรื่องนี้และพบว่ามีคำสั่งพิเศษให้สังหารนาย คาชอกกี้"

    ส่วนคำสั่งพิเศษ....นั้นมาจากไหนและใครอยู่ในข่ายต้องสงสัย ก็ลอยตามพายุทะเลทรายไปแล้ว....

    3บีอิน สปอร์ต 

    ทีวีช่องกีฬาของกาตาร์ เจ้าของลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีกในตะวันออกกลางและ.โลก 2022 ที่กาตาร์ ทำหนังสือส่งถึง20 สโมสรในพรีเมียร์ลีก ว่ามีการลักลอบนำสัญญาณพรีเมียร์ลีกถ่ายทอดสดในซาอุดีอาระเบียโดยเจ้าของบริษัทที่ชื่อ  beoutQ  เรื่องนี้ทางสถานีโทรทัศน์ของซาอุฯ คือ Arabsat ปฏิเสธเรื่องนี้ และไม่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสัญญาณความถี่ให้ beoutQ นำไปใช้งานส่งสัญญาณต่อ พร้อมทั้งโจมตีว่า บีอิน สปอร์ต พยายามนำเรื่องความขัดแย้งระหว่างกาตาร์ กับ ซาอุ มาขยายผลโดยใช้
    เรื่องนี้ชี้นำ เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างสองชาติทำให้ซาอุดีอาระเบียปิดกั้นไม่ให้ บีอิน สปอร์ต แพร่ภาพ.พรีเมียร์ลีกในประเทศตัวเองเมื่อปี 2018 โดยก่อนฟ้องพรีเมียร์ลีก บีอิน ฟ้อง องค์กร การค้าโลก  WTO ก่อนแล้ว และฟ้องเรียกค่าเสียหาย 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ 

    แน่นอนนี่ก็เป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักอีกข้อหนึ่งแต่อาจไม่เท่าสองข้อแรก

    แล้วแก้ปัญหายังไง

    ทั้ง3 ข้อนั้น ข้อแรกยากสุดครับ เพราะ "คุณสมบัติ" เจ้าของทีมและผู้บริหารต้องมี "ธรรมาภิบาล" และการบริหารทีมนั้นรัฐบาลซาอุดีอาระเบียต้องไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งการที่เจ้าชายหรือมกุฏราชกุมาร บิน ซัลมาน ถือหุ้นใหญ่ใน  PIF มันก็เชื่อมโยงได้ ตรงนี้ต้องตรวจสอบคุณสมบัติกันละเอียด....

    ข้อ2 ก็เอาคำสั่งศาลตัดสินออกมา เจ้าชายก็ไม่เกี่ยว ไม่มีอะไรพัวพันถึงเจ้าชายเรื่องการสั่งฆ่า คาซอกกี้

    ข้อ3 เคลียร์ง่ายสุดเลย  beIn กับ beoutQ อะไรเนี่ย ก็บีอิน สปอร์ต ถอนฟ้อง และซาอุดีอาระเบีย ก็ยุติความขัดแย้งกับบีอิน สปอร์ต ก็ทางทีมลอบบียิสต์ เจรจาให้ได้ประโยชน์ทั้งสองฝั่งนั่นแหละ 

    ระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมาทีมทำงานของ อะแมนด้า สเตฟลีย์ คงติดต่อพูดคุยกันอย่างหนักเพื่ออุดช่องโหว่สามข้อให้ได้ ซึ่ง "ลอบบียิสต์" มีส่วนสำคัญอยู่แล้วครับ เรื่องจึงมาจบได้อย่างรวดเร็วในวันสองวันที่ผ่านมา

    PIFคือใคร

    Public Investment Fund (PIF) กองทุนแห่งชาติซาอุดีอาระเบีย ประธานคือ เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน  ส่วนผู้ว่าการ กองทุนคือ ยาซีร์ อัล รูเมยยาน (ว่าที่ประธานสโมสรนิวคาสเซิล) ทรัพย์สินมูลค่า 320,000 ล้านปอนด์ (ล้านล้านบาท) เทียบกันแล้วก็เป็นเจ้าของทีมที่รวยที่สุดในโลก รวยกว่า QIA เจ้าของทีมเปแอสเช (220,000 ล้านปอนด์)จากกาตาร์ และ  ชีค มันซูร์ ของแมนฯซิตี้ (2,300 ล้านปอนด์)

เทคโอเวอร์ นิวคาสเซิ่ล มหาเศรษฐีใหม่ พรีเมียร์ลีก
    PIF ไม่ได้ลงทุนกับทีม. (เงินก้อนเล็กมาก) พวกเขาลงทุนกับโบอิง (เครื่องบิน), ธนาคาร ซิตี้กรุป, เฟสบุ้ก, บริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอีกเพียบ มันคือ VISION2030 ที่พวกเขาตั้งเป้าเอาไว้ว่าเป็นศูนย์กลางด้านการลงทุน นับจาก อดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมพ์ มาเยือนเมื่อปี 2017 

    แอชลีย์ฟันกำไรเท่าไหร่?

    ไมค์ แอชลีย์ เป็นเจ้าของธุรกิจ บริษัทจำหน่ายผลิตภัณฑ์กีฬาชื่อดัง สปอรต์ ไดเรกต์  ของอังกฤษ เขาซื้อนิวคาสเซิล ปี 2007 ในราคา 134 ล้านปอนด์ ค่าเงินตอนนั้น 55 บาทต่อหนึ่งปอนด์ จากตระกูล ฮอลล์ ซึ่งตอนนั้น ดักลาส ลูกชายคนโตของ ท่านเซอร์ จอห์น ฮอลล์ ถือหุ้นใหญ่ 

    สาลิกาดง ยุค เซอร์ ฮอลล์ ลุ้นแชมป์กับแมนฯยูไนเต็ด จากการทุ่มทุนมหาศาล แต่ได้แค่รองแชมป์ในปี 1996

    ตลอดระยะเวลา 14 ปี แฟน.สาลิกาดงรับรู้ว่า แอชลีย์ ซื้อทีมเพื่อปั่นราคาขาย ให้ได้กำไร และจะไม่ลงทุนอะไรมากมาย ทำให้ทีม ตกชั้น เลื่อนชั้นและไม่ใช่ทีมที่จะไปลุ้นแชมป์อะไรเหมือนสมัย เซอร์ จอห์น ฮอลล์ เป็นเจ้าของทีมช่วงต้นพรีเมียร์ลีก ตัวเลขที่กำหนดเอาไว้พุ่งไปถึง 400 ล้านปอนด์ แต่เขาก็ยังไม่ขาย กระทั่ง อะแมนด้า ติดต่อเมื่อสองปีก่อนวงเงิน 340 ล้านปอนด์ ปรากฏว่าเขาก็ไม่ขาย และวิจารณ์ว่า "เสียเวลามากมาย" ในการไปคุยกับ อะแมนด้า 

    สุดท้ายวิกฤตการณ์โควิด-19 ทีมเริ่มประสบปัญหาสภาพคล่องและมีวี่แววขาดทุนไปอีกสองปี กระบวนการเจรจาเริ่มต้นขึ้นและทำท่าว่าจะจบลงด้วยการ "ขาย" ทีม ในราคา305ล้านปอนด์ คาดว่าเขาจะได้กำไรมากเกือบ200 ล้านปอนด์
#แฟนนิวคาสเซิลมีความสุข

    ยืนยันว่าแฟน.นิวคาสเซิล "เหนียวแน่น" และ "รักทีม" ไม่แพ้ทีมไหนในอังกฤษ 

    ก็อยากยืนยันด้วยประสบการณ์ของผมเอง ในฐานะที่ผมเคยไปทำข่าวฟุต.พรีเมียร์ลีกระหว่างปี 1996-1998 ภายใต้บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคต จำกัด (มหาชน) ที่มีสำนักงานที่ลอนดอน ปัจจุบันยังมีนักข่าวอยู่ครับ "ลิตเติลโจ" สุรศักดิ์ มากทวี และ "ไก่ป่า" เอกราช นิติสุทธิ์สกุล ยังทำงานหาข้อมูลทั้งน.ส.พ. เวบไซด์,​ไลฟ์ มาจากที่โน่นตามปกติ

    ตอนทำงานผมนั่งรถไฟจาก ลอนดอน คิงส์ครอส ไปฝั่งตะวันออกของอังกฤษขึ้นถึงนิวคาสเซิล 3 ชั่วโมงรถไฟจอดประมาณ 7-8 ป้ายของสัมปทานของค่าย GNER  เร็วดี ถึงสถานีรถไฟนิวคาสเซิล ต่อเมโทร (ใต้ดิน) ขึ้นที่ป้าย เซนต์เจมส์​ โผล่มาเห็นสนามตรงหน้า เดินขึ้นพร้อม ทูน อาร์มี ร้องรำทำเพลง สร้างบรรยากาศก่อนเกม บิลด์ อัพ สร้างกำลังใจทั้งที่ทีมก็ไม่ได้จะโอเคเท่าไหร่ ช่วงผมทำงานคือยุคปลายของ เซอร์ จอห์น ฮอลล์ นักธุรกิจอสังหา ชาวนิวคาสเซิลที่ทุ่มเงินให้ทีมจากดิวิชั่นสาม เลื่อนชั้นจนถึงการลุ้นแชมป์พรีเมียร์ลีก โดยมี เควิน คีแกน ตำนานนักเตะขวัญใจทีมนิวคาสเซิล เป็นโค้ช แต่สุดท้ายก็เจอทีเด็ดความเขี้ยวลากดินของแมนฯยูไนเต็ด ที่ไล่แซงปาดหน้าคว้าแชมป์ในปี 1996 อย่างน่าเสียดาย 

เทคโอเวอร์ นิวคาสเซิ่ล มหาเศรษฐีใหม่ พรีเมียร์ลีก
    ช่วงผมไปทำงานปีแรกนิวคาสเซิล ขอให้นิวคาสเซิล เป็นเจ้าบ้าน ขอตั๋วนักข่าวทั้ง สุดสัปดาห์และ กลางสัปดาห์ โดยเฉพาะหน้าหนาว นั่งบ๊อกส์นักข่าว -4 องศา น้ำมูกไหล ปากกาเขียนไม่ติด ปากสั่น รายงานเข้าวิทยุ 99 สมัย "สปอร์ต เรดีโอ" 
แม้ช่วงนั้น "สาลิกา" เริ่มถดถอยอย่างรวดเร็ว จากทีมลุ้นแชมป์มาเป็นทีมหลุดทอปโฟร์  คีแกน ลาออก, เทอร์รี แมคเดอร์มอตต์ รักษาการก่อนตั้ง เคนนี ดัลกลิช คุมทีม ช่วงม.ค. 1997 แต่แฟนก็ยังรักทีมเหมือนเดิม ไม่มีเสื่อมคลาย เต็มความจุตลอด ในเวลาหลังจากนั้น เซอร์ จอห์น ฮอลล์ ให้ลูกชายดูแล ก่อนขายหุ้นให้ ไมค์ แอชลีย์ เมื่อ 14 ปีก่อนจนหมดสิ้น เหลือไว้แค่ตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ของสโมสรเท่านั้น

    การไปทำข่าวคือประสบการณ์ที่ทำให้เราได้สัมผัสถึง "หัวใจ" ของมัน ใครจะอ่านหนังสือร้อยเล่มพันเล่มก็คือไม่ได้เจอด้วยตัวเอง ผมก็ยืนยันในฐานะคนข่าวที่ชอบไป เซนต์ เจมส์ พาร์ค และผมจัดให้เป็นสนามที่เปี่ยมด้วยบรรยากาศอย่างสนุกสนาน น่าตื่นเต้นที่สุดแห่งหนึ่งในอังกฤษ โดยเฉพาะ "วันมี." ทั้งวันเสาร์และกลางสัปดาห์บรรยากาศในเมืองนี่คือที่สุดของสาลิกาเลยละครับ ทั้งเมืองเห็นแต่คนใส่เสื้อขาวดำเต็มไปหมด เพราะเมืองนี้มีทีม.อาชีพในลีกสูงสุดทีมเดียว มันคือทีมของคนทั้งเมือง ไม่ต้องแปลกใจหากมีข่าว "ตั๋วนัดเหย้า" ของเซนต์ เจมส์ พาร์ค ขายเกลี้ยงก่อนเปิดซีซั่น 

    พวกเขารักทีมมาก เชียร์แบบไม่มีความหวังอะไร ตกชั้น, เลื่อนชั้น โดนถล่มยับ แต่ก็ยังเหนียวแน่นเข้าสนามมาเชียร์ทีมของตัวเองอย่างไม่มีเงื่อนไข ถ้าแฟนหงส์จะบ่นโน่น นี่ สารพัด หรือ แฟนผี ไม่ชอบ โซลชา เชื่อว่าทูน อาร์มี คงตั้งคำถามในใจ
 "แล้วทีมของพวกกูละ"

    ดังนั้นภาพแฟน. 15,000 คนไปรวมตัวหน้าสนาม ตะโกนเชียร์อย่างมีความสุข ที่มีการเทก โอเวอร์ ไม่ใช่ดีใจที่ได้เจ้าของรวยกว่า แมนฯซิตี้ และเปแอสเชอย่างเดียว หากแต่พวกเขาดีใจที่ "ใครก็ได้" มาเอา ไมค์ แอชลีย์ ออกไป เขาคือเจ้าของทีมที่มาบริหารทีมแล้วมีแต่ "เรื่องตกต่ำ" ส่วนความร่ำรวยของ เจ้าชายซาอุ ผ่าน PIF เป็นผลพลอยได้ มันคือ "ความหวังใหม่" ของทีมที่มีศักยภาพทางการเงินเพื่อมาแข่งขันฟุต.และมีโอกาสยกระดับนิวคาสเซิล ยูไนเต็ดให้ก้าวขึ้นมาต่อสู้ในระดับชั้นนำของลีกและไป.สโมสรยุโรป

    อีกสองประเด็นที่น่าติดตามนะครับ

    1 ทำไมเจ้าชายถึงได้ซื้อทีมนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด ผมได้มีโอกาสคุยกับ  คุณนฤดล วรรณรัตน์ ที่เชี่ยวชาญเรื่องการลงทุน ตำแหน่ง Assistant Vice President Securities Trading CGS-CIMB Securities (Thailand) Co.,Ltd 
และเป็นแฟน.อีกต่างหาก (แฟนหงส์แดงด้วย)

     วิเคราะห์เรื่องเทก โอเวอร์ นี้ว่าเพราะอะไร.... 

    เศรษฐีที่มาซื้อทีมส่วนใหญ่นั้น...กีฬาไม่ใช่ธุรกิจหลัก และเป็นส่วนน้อยด้วยซ้ำ ปัญหาของประเทศซาอุคือมีเงิน แต่ไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไร  คนรวยไม่เอาเงินไปใช้เล่นๆแน่นอน ต้องมีรีเทิร์นกลับมาตามนิสัยคนมีเงิน (คือไม่ได้โง่)แต่ประเทศอื่นคือไม่มีเงิน จะหาเงินอย่างไร

เทคโอเวอร์ นิวคาสเซิ่ล มหาเศรษฐีใหม่ พรีเมียร์ลีก
    ซาอุมีแผนลดการพึ่งพารายได้จากน้ำมันภายในมา 20 ปีแล้ว

    เรื่องนิวคาสเซิล มองว่าเป็นความท้ายทาย ทีมมีชื่อมีประวัติ เอามาปั้นแบรนด์ใหม่ได้รวมทั้งอาจมีการโยกย้ายทรัพย์สินในอนาคต

    การเอากองทุนแห่งชาติไปลงทุนในสโมสรฟุต. ก็น่าจะมีอยู่ในแผนมานานแล้วเขาไม่ได้ทำในนามส่วนตัว แต่เอากองทุนแห่งชาติ เข้าไปซื้อ แถมซื้อมาได้ราคาถูกด้วยแล้วเดี๋ยวเอาเม็ดเงินไปอัดสร้างทีม แล้วทำกิจการต่อได้

    เหมือนซื้อตึกเก่าใจกลางเมือง มารีโนเวทนั่นเอง 

    2 ฟุต.จะยังไงต่อไป

    สตีฟ บรูซ เตรียมตัวตกงานได้ ด้วยสไตล์การทำทีม "เพลย์ เซฟ" แม้แฟน.นิวคาสเซิล เข้าใจ บรูส แต่ถ้าอยากไปไกลกว่านี้ คงไม่ใช่ บรูส ซึ่งใครตามดู.อังกฤษมานานจะทราบว่า นิวคาสเซิล คือทีมที่เล่น. มันสนุก ยิ่งในบ้านด้วย บุกแหลก ทีมต้องมีกองหน้า หรือมีเบอร์9 เป็นหัวใจมาตั้งแต่ไหนแต่ไร จาก มัลคอล์ม แมคโดนัลด์ , เควิน คีแกน จนถึง อลัน เชียเรอร์ นักเตะเก่งๆ ชั้นเชิงสูงก็มาจากที่นี้เยอะ คริส วอดเดิ้ล,  ปีเตอร์ เบียร์ดสลีย์, พอล แกสคอยน์...พวกเขาเหล่านี้คือความสุขของแฟนสาลิกาดง

    ลงทุนโค้ช...มีบิ๊กเนมเข้ามาพัวพันเพราะยังไง "เงินถึง" จ้างยอดฝีมือแน่นอน มันก็แบบแผนเดียวกับ เชลซี, แมนฯซิตี้ แต่บริษัท รับ.ที่ถูกต้องตามกฏหมายอังกฤษล่าสุดเขาเต็งไว้สามคนหลักๆ ที่เชื่อว่าแฟนนิวคาสเซิล ชื่นชอบด้วย

เต็ง1 .....สตีเวน เจอร์ราร์ด
เต็ง2.... อันโตนีโอ คอนเต้
เต็ง3...เอ็ดดี ฮาว

    ส่วนนักเตะก็ต้องรอดูนะครับ ตามโซเชียลล้อเลียนว่า เอ็มบัปเป จะมานิวคาสเซิล 5555 

    นักเตะระดับบิ๊กๆ ต้องโค้ชบารมีถึงด้วยเช่นกัน กรณี เจอร์ราร์​ด ชั่วโมงบินในสกอตแลนด์ พอได้ แต่ก็ต้องถามว่า...นิวคาสเซิล มีเป้าหมายอะไรให้ เจอร์ราร์ด ทำ ถ้าเรื่องแชมป์พรีเมียร์ลีก ก็ต้อง "ให้เวลา" และ "นักเตะ" ที่จะนำมาต้องคุณภาพ แต่เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่แฟนนิวคาสเซิล ชอบคือ "แพสชั่น" และ "สปิริตการต่อสู้" มาพร้อมกับ เจอร์ราร์ด อย่างไม่ต้องสงสัย 

    แต่ถ้าอยากได้แชมป์เร็วที่สุด....เจอร์ราร์ด อาจไม่ใช่คำตอบนั้น

    เอาละครับ....จากนี้นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด กำลังจะถีบตัวเองด้วยพลังอย่างแรง เพื่อก้าวขึ้นมาจากหล่มลึกแห่งโซนตกชั้น ก่อนมุ่งหน้าขึ้นไปท้าทายกลุ่มอำนาจเก่าข้างบน...

    ที่ตอนนี้เหลือเพียงแค่ท็อปโฟร์ เท่านั้น สาลิกาดง มีโอกาสจะกลับไปเหมือนยุค เซอร์ จอห์น ฮอลล์ (1992-97) อย่างไม่ต้องสงสัย