ผู้เขียน หัวข้อ: 4 วิธีการใช้ เครื่องมือวัด fluke สำหรับช่างไฟฟ้าทั่วไป  (อ่าน 3761 ครั้ง)

ออฟไลน์ lnwneverdie2015

  • Full LED TV member
  • ****
  • กระทู้: 2,191
  • ?????????????????????????????????????????????? BMW R 1200 GS ?????????????????? 2017
    • ดูรายละเอียด
อุปกรณ์สำหรับช่างไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ช่างไฟทั่วไป หรือคนทำงานทั่วไป จำเป็นต้องฝึกซ้อมใช้งานให้คล่อง มากกว่าคอนเซ็ปต์การใช้งานเท่านั้น และเครื่องมือวัดไฟ เป็นอีกเครื่องมือไฟฟ้าอีกตัวที่สำคัญอย่างมากสำหรับมือใหม่ เพราะเป็นเครื่องมือชิ้นต้นๆ ที่ช่วยให้เพื่อนๆเข้าใจเรื่องทฤษฏีไฟฟ้า แต่ก่อนอื่นท่านต้องเลือกซื้อหา มัลติมิเตอร์ มาใช้งานก่อน ซึ่งมีอยู่มากมายหลายตราในตลาด ทั้งที่ราคาถูก และราคาสูงแตกต่างกัน บางรุ่นจะมีฟังค์ชั่นพิเศษ เช่น วัดอุณหภูมิเซลเซียสได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมัลติมิเตอร์ จีนแดงจะจะแสดงค่าคลาดเคลื่อนมากนัก เราขอแนะนำดิจิตอลมัลติมิเตอร์ยี่ห้อ fluke ซึ่งแม้จะมีราคาค่างวดที่สูงสักนิด แต่มีความทนทาน มีมาตรฐาน และอ่านค่าได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเรียกว่าซื้อทีเดียวจบ โดยเพื่อนๆสามารถซื้อหาผ่าน ตัวแทนจำหน่าย fluke ได้ สำหรับการใช้งานแบบบ้านๆ แนะนำรุ่น FLUKE 117 ซึ่งมีรูปแบบการวัดพื้นฐานครบถ้วนเหมาะกับมือสมัครเล่นมากครับ
มัลติมิเตอร์ คืออะไร
มัลติมิเตอร์ เป็นเครื่องมือช่างไฟฟ้า ที่ช่วยให้เราสามารถวัดค่าไฟฟ้าต่างๆ เช่น โวลต์, แอมแปร์, ค่าความต้านทานและความต่อเนื่อง เครื่องมือวัด fluke 117 มีฟังชันก์ เหล่านี้ทั้งหมดนี้ หน้าจอ fluke 117 แสดงผลตัวเลข 4 หลัก ซึ่งเพียงพอแล้วสำหรับผู้เริ่มต้น ดิจิตอลมัลติมิเตอร์จะมีโหมดย่านต่างๆ ให้เลือก โดยการปรับหน้าปัดไปที่โหมดย่านเหล่านั้น ตามสัญลักษณ์ ดังนี้
V วัดค่าโวลต์ ทั้งแบบกระแสไฟตรง และไฟฟ้ากระแสสลับ
mV วัดแรงดันไฟฟ้า มิลลิแอมป์ แบบกระแสตรง และไฟฟ้ากระแสสลับ
Ohm วัดค่าความต้านทาน
A ตรวจสอบแอมแปร์ แบบDC และAC
และย่านวัดความต่อเนื่องสำหรับ ไว้สำหรับเช็คสายไฟ
สำหรับวิธีการการตรวจสอบย่านทั่วไปต่างๆ เราได้รวบรวมวิธีการไว้ดังต่อไปนี้
การวัดค่าแรงดันไฟฟ้า
การวัดโวลต์ หรือการวัดแรงดันไฟฟ้า ก่อนอื่นคุณต้องหาแบตเตอรี่ 9v ที่ใช้งานมาทำการทดลองต่อจากนั้น
1.เสียบสายดำเข้ากับช่อง COM (common) ที่ตัวเครื่องมือวัด fluke
2.เสียบขั้วบวกสีแดงเข้าช่อง V
3.บิดลูกบิดไปยังสัญลักษณ์ V โวลต์ แรงดันกระแสไฟตรงสูง หรือDCต่ำ mV จอจะขึ้นสัญลักษณ์ DC
4.นำสายสีแดงสัมผัสที่ขั้วบวก แท่งสายสีดำแตะขั้วลบ ของแบตเตอรี่
5.ค่าของแรงดันไฟฟ้า ของแบตเตอรี่จะแสดงที่หน้าจอบนดิจิตอลมัลติมิเตอร์
6.สำหรับกรณีวัดไฟบ้าน ให้ปรับลูกบิดไปที่โหมด V โวลต์ AC สูง Hz เท่านั้น ซึ่งที่หน้าจอดิจิตอลจะแสดงสัญลักษณ์ AC
7.เสียบสายดำแดงที่ปลั๊กไฟฟ้าในบ้าน แต่ควรระวังอย่าให้ทั้งสองเส้นสัมผัสกัน หรือนิ้วไปถูกบริเวณปลายเหล็ก ซึ่งไฟกระแสตรงเมืองไทยจะขึ้นค่าประมาณ 220V
การปริมาณไฟฟ้า
1.เสียบสายดำเข้ากับช่อง COM (common)
2.ต่อขั้วบวกของสายสีแดงที่ช่องเสียบ A ซึ่งเครื่องมือวัด fluke 117 มีลิมิตวัดปริมาณกระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน 10A
3.บิดลูกบิดไปยังย่านโหมด A กระแสไฟ DC
4.นำสายทั้งสองสีต่อ เข้าโหลดกับวงจรแบบอนุกรม ค่าปริมาณไฟฟ้าที่ผ่านดิจิตอลมัลติมิเตอร์จะขึ้นค่าตัวเลขที่หน้าจอ
5.หากคุณต้องการวัดไฟกระแสสลับ ให้บิดลูกบิดไปที่ สัญลักษณ์วัดกระแสสูง หรือสัญลักษณ์ A Hz ต่อสายแดงดำ เข้าโหลดกับเครื่องใช้แบบอนุกรม ค่ากระแสไฟฟ้าจะแสดงที่หน้าจอเครื่องมือวัดไฟ กระนั้นควรพึงระวังเสมอว่าสามารถวัดกระแสได้มากสุดเพียง 10A เท่านั้น ถ้านำไปตรวจสอบกระแสไฟที่มากกว่านั้น ฟิวส์ภายในดิจิตอลมัลติมิเตอร์จะระเบิด ทำให้เครื่องมือวัดไฟเจ๊งได้
การตรวจสอบตัวต้านทาน
การวัดตัวต้านทาน หรือ R คือ ตัวต้านทาน ไฟฟ้า เพื่อปรับลดปริมาณไฟให้เหมาะกับอุปกรณ์หรือวงจรต่างๆ
1.เสียบสายดำแดง เหมือนการตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า เส้นสีแดงแทงเข้ากับสัญลักษณ์ Ohm โอห์ม เครื่องหมายกรีกโบราณ ที่ตัวเครื่องมือวัด fluke
2. บิดลูกบิดไปยังย่านโหมด Ohm วัดค่าโอห์ม และหากเอาสายแดงดำมาแตะกันจะไม่มีความต้านทาน เครื่องมือวัดไฟจะขึ้นค่า 0 โอห์ม คือความต้านทานไม่มี
3.นำเอาสายขั้วบวกลบ ไปแตะยังปลายสองข้างของอุปกรณ์ที่จะตรวจสอบความต้านทาน
4.จากนั้นหน้าจอมัลติมิเตอร์จะแสดงตัวเลขค่าโอห์มของวัสดุนั้นๆ ซึ่งถ้าไม่มีความต้านทานแล้ว ค่าโอห์มจะเท่ากับ 0
การตรวจสอบความต่อเนื่อง หรือวิธีเช็คสาย
ตรวจสอบความต่อเนื่อง เป็นวัดความสามารถในการนำไฟฟ้าของสายไฟ หรือเช็คอุปกรณ์นำไฟฟ้าว่าต่อกัน ตรวจสอบว่าสายไฟขาดในหรือไม่ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.เสียบสายดำ เข้าช่อง COM (common)
2.เสียบสายแดงเข้า ช่องโอห์ม ที่ตัวเครื่องมือวัด fluke
3.บิดลูกบิดไปที่โหมดย่านความต่อเนื่อง ลักษณะคล้ายสัญญาณมือถือ
4.ตรวจสอบโดยการนำปลายทั้งสองสายมาสัมผัสกัน ซึ่งเครื่องจะส่งเสียงเตือน ปี๊บ แสดงว่าสายเชื่อมต่อกัน
5.จากนั้นเอานำขั้วสายทั้งสองเส้น แตะที่ปลายวัสดุที่เราจะตรวจสอบสองข้าง ถ้าหากได้ยินเสียงดังบี๊บๆ แสดงว่าสายไม่ขาด นั่นเอง แต่ถ้าไม่มีเสียง แสดงว่าสายอาจจะขาดใน
ตรวจสอบวัดไฟไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ทั้งนี้ท่านต้องทำการปฏิบัติฝึกซ้อมให้รู้เรื่อง ให้แตกฉาน และต้องพึงระวังเสมอเวลาจะตรวจไฟกระแสสลับ ซึ่งเป็นไฟฟ้าที่มีกระแสสูง อันตรายอย่างมาก และหากเรามีงบไม่จำกัด การซื้อหาเครื่องดิจิตอลมัลติมิเตอร์แบรนด์ fluke จากตัวแทนจำหน่าย fluke ใกล้บ้านท่าน จะช่วยให้ท่านตรวจวัดไฟได้ไม่ยากเลย เพราะแบรนด์ทั่วไปแล้วจะมีช่วงพิสัยที่สับสนกว่านี้ แต่กับของ fluke มีดีไซน์ระบบทำให้มือใหม่ตรวจวัดไฟได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ความทน fluke ถือเป็นหมายเลขหนึ่งของโลก

ที่มา : http://www.meterdd.com

Tags : fluke,เครื่องมือวัด fluke,ตัวแทนจำหน่าย fluke
GSA1200 Adventure
[img]http://ep.yimg.com/ay/yhst-66049453130018/rox-adjustable-2-inch-pivoting-risers-for-bmw-r1200gs-r1200gsa-liquid-cooled-2013-newer-made-in-usa-28.gif[/img