ผู้เขียน หัวข้อ: ขมิ้นชันสมุนไพรไทย มากมายคุณประโยชน์  (อ่าน 336 ครั้ง)

ออฟไลน์ parple1199

  • Flat TV member
  • *
  • กระทู้: 45
  • ?????????????????????
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
สรรพคุณขมิ้นชัน
ตำรายาไทย: ใช้ภายใน ช่วยเจริญอาหาร ยาบำรุงธาตุ ฟอกเลือด แก้ท้องอืดเฟ้อ แน่น จุกเสียด [^_^] ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาผิดปกติ อาการดีซ่าน แก้อาการวิงเวียน แก้หวัด แก้อาการชัก ลดไข้ ขับปัสสาวะ รักษาอาการท้องมาน แก้ไข้ผอมแห้ง แก้เสมหะและโลหิตเป็นพิษ โลหิตออกทางทวารหนักและเบา แก้ตกเลือด แก้อาการตาบวม แก้ปวดฟันเหงือกบวม มีฤทธิ์ระงับเชื้อ ต้านวัณโรค ป้องกันโรคหนองใน แก้ท้องเสีย แก้บิด รักษามะเร็งลาม ใช้ภายนอก ช่วยลดอาการฟกช้ำบวม ปวดไหล่และแขน บวมช้ำและปวดบวม แก้ปวดข้อ สมานแผลสดและแผลถลอก ผสมยานวดคลายเส้นแก้เคล็ดขัดยอก แก้น้ำกัดเท้า แก้ชันนะตุ แก้กลากเกลื้อน แก้โรคผิวหนังผื่นคัน สมานแผล รักษาฝี  แผลพุพอง  ลดอาการแพ้  อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย  ตำใส่แผลห้ามเลือด รักษาผิว บำรุงผิว


  • รักษาโรคน้ำกัดเท้า โดยนำขมิ้นชันสดมาปอกเปลือกหรือขยี้ส่วนปลาย ก่อนใช้ทาบริเวณที่เกิดโรคน้ำกัดเท้า ซึ่งจะช่วยเยียวยาอาการให้หายเร็ว
  • ลดอาการปวดบวมจากแมลงกัดต่อย ด้วยการนำขมิ้นชันสดบดผสมกับน้ำเล็กน้อย ก่อนนำมาประคบบริเวณถูกกัด
  • รักษาฝี ด้วยการใช้ขมิ้นชันบดให้ละเอียดก่อนนำมาประคบที่ฝี
  • ยาสตรีคลอดบุตร ด้วยการใช้ขมิ้นชันบดให้ละเอียดผสมกับดินสอพอง ทาบริเวณท้องหลังการคลอดบุตร ซึ่งจะช่วยทำให้ท้องยุบตัวเร็ว และช่วยลดหน้าท้องลายได้
  • รักษาสภาพฟัน และลดกลิ่นปาก ด้วยการนำขมิ้นชันสดมาเคี้ยว และอมค้างไว้ 1-2 นาที ซึ่งจะช่วยรักษาสภาพฟันให้แข็งแรง และช่วยลดกลิ่นปาก


นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา  ปรากฏการใช้ขมิ้นชัน ในยาเยียวยากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ"ยาเหลืองปิดสมุทร" มีส่วนประกอบของขมิ้นชันเป็นองค์ประกอบหลัก ร่วมกับสมุนไพรอื่นอีก 12 ชนิดในตำรับ มีคุณสมบัติบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปนและท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้ นอกจากนี้ยังจัดอยู่ในบัญชียาพัฒนาจากสมุนไพรที่สามารถใช้เดี่ยว เพื่อลดอาการแน่น จุกเสียด
ตารางที่ 1 การใช้เหง้าขมิ้นชันในการเยียวยาโรคต่างๆ ตามแนวทางการแพทย์แผนโบราณ





ประเทศ




สรรพคุณทางยา




อินเดีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 


    - ให้กลิ่นหอม เป็นยากระตุ้น และช่วยขับลม
    - ผงขมิ้นผสมกับน้ำมะนาวใช้พอกเพื่อรักษาอาการ  บาดเจ็บ เคล็ด ขัด
      ยอก บวม
    - รักษาความผิดปกติของระบบน้ำดี
    - รักษาอาการเบื่ออาหาร
    - โรคหวัด
    - แก้ไอ
    - แผลจากโรคเบาหวาน
    - ความผิดปกติของตับ
    - โรคข้อรูมาติซึม (rheumatism)
    - ไซนัสอักเสบ (sinusitis)
 
 





ประเทศ




สรรพคุณทางยา




จีน
 
 
 


    - ปวดท้อง (abdominal pain)
    - ท้องมาน (ascites)
    - ดีซ่าน (icterus)




ไทย
 
 
 
 
 


    - แก้ไข้เรื้อรัง
    - รักษาอาการผอมเหลือง
    - แก้โรคผิวหนัง
    - แก้ท้องร่วง
    - สมานแผล
    - ขับลม
    - รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย
    - รักษาแผลในกระเพาะอาหาร




 


องค์ประกอบทางเคมีของขมิ้นขัน
สารกลุ่มเคอร์คิวมินนอยด์ (curcuminoids) ประกอบด้วย เคอร์คิวมิน (curcumin), monodesmethoxycurcumin, bisdesmethoxycurcumin
           น้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) มีสีเหลืองอ่อน สารหลักคือเทอร์เมอโรน (turmerone) 60%, ซิงจิเบอรีน (zingiberene) 25%, borneol, camphene, 1, 8 ciniole , sabinene, phellandrene
องคประกอบทางเคมีที่เกี่ยวของกับการรักษาอาการ dyspepsia
        การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันพบว่า เหง้าขมิ้นชัน ประกอบด้วยสารสําคัญ 2 กลุ่มคือcurcuminoids ซึ่งเป็นกลุ่มสารที่ให้สีเหลืองส้ม มีประมาณ 1.8 - 5.4%  ประกอบด้วย  curcumin  และสารอนุพันธ์ของ curcumin ได้แก่ desmethoxycurcumin และ bisdesmethoxycurcumin และสารสําคัญอีกกลุ่มหนึ่งคือน้ำมันหอมระเหย (volatile oils) สีเหลืองอ่อน ที่มีอยู่ประมาณ 2 - 6% ประกอบด้วยสารประกอบmonoterpenes และ sesquiterpenes เช่น turmerone, zingeberene, curcumene, borneol เป็นต้น