ผู้เขียน หัวข้อ: การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ของสมอไทย  (อ่าน 468 ครั้ง)

ออฟไลน์ iAmtoto007

  • Full LED TV member
  • ****
  • กระทู้: 2,885
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ของสมอไทย
« เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2017, 09:25:35 pm »

การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ของสมอไทย
            พืชพันธุ์ต่างๆที่เป็นสมุนไพรนั้นเกือบทั้งหมด จะมีกระบวนการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์หรือที่เราเรียกว่ามีการศึกษาทดลองและวิจัยเพื่อให้ได้รู้ถึงข้อจำกัดรวมถึงส่วนประกอบต่างๆที่มีในตัวสมุนไพรนั้นๆ เช่น สารออกฤทธิ์  ฤทธิ์ทางยาของสมุนไพร ความเป็นพิษของสมุนไพรนั้นๆ รวมถึงข้อจำกัดต่างๆอาทิเช่น ควรใช้ในปริมาณเท่าใด  ใช้ในระยะเวลานานเท่าใด  มีฤทธิ์เสริมหรือต้านกับสารออกฤทธิ์ชนิดไหนบ้าง ฯลฯ ต่างๆเหล่านี้ต้องอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาตอบโจทย์ และทดลองให้เห็นสามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงถึงคุณสมบัติและวิธีใช้ของสมุนไพรแต่ละจำพวกได้ ซึ่งก็มีสมุนไพรไทยหลายๆจำพวกที่ได้ผ่านการค้นพบและทดลองทั้งในการศึกษาค้นคว้าโดยนักวิจัยชาวไทย และนักทดสอบในต่างประเทศ เช่น กระชายดำ กระเทียม ว่านชักมดลูก ขิง ขมิ้น ฯลฯ จนทำให้สมุนไพรไทยเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างและเป็นที่ยอมรับกันในสากล ในบทความนี้เราจะมาดูว่าชนิดทางวิทยาศาสตร์ของสมอไทยนั้น จะมีอะไรบ้างทั้งในแง่ของฤทธิ์ทางยาของสมอไทย รวมถึงความเป็นพิษของสมอไทย ซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยอยู่หลายชิ้นพอสมควร โดยในการศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ทางยาของสมอไทยนั้นพบว่าจากการสกัดผลของสมอไทยมีสารชนิดหนึ่ง (สาร 1,2,3,4,6 -penta-O-galloyl-B-D-glucose) สามารถยับยั้งเอนไซม์ acetylcholinesteraseและ butyrylcholinesteraseได้ซึ่งเอนไซม์เหล่านี้เป็นเอนไซม์ที่ทำลายการนสื่อประสาทในสมองที่ชื่อAcetylcloine ที่เป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ และยังมีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่พบว่าสารสกัดสมอไทยมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Shigella ที่เป็นสาเหตุของโรคบิด และยังมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Salmonella ที่เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษอีกด้วย ส่วนในด้านการค้นพบในเรื่องพิษวิทยาหรือความเป็นพิษในสมอไทยนั้น ก็มีผลงานการลองหลายชิ้นเหมือนกัน เช่น มีการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูวิจัย โดยให้หนูกินสารสกัดผลสมอไทยด้วยเอทานอล 50% ในขนาด 10 กรัม/น้ำหนัก 1 กก.นาน 7 วัน พบว่าไม่พบอาการเป็นพิษในหนูทดลอง และเมื่อเปลี่ยนวิธีการจากการให้บริโภคสารสกัดสมอไทยเป็นการฉีดใต้ผิวหนังแก่หนูทดลองอีกลุ่มในขนาดเท่าเดิมนานเท่าเดิม ก็ไม่พบความเป็นพิษเช่นกัน รายงานการศึกษาวิจัยอีกชิ้นหนึ่งระบุมีการใช้ผงแห้งของสมอไทยในหนูทดลองโดยให้หนูเพศผู้และเพศเมียได้รับสารในรูปผงจากผลแห้งของสมอไทย ขนาด 0.5 , 2.5 , และ 5.0 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก. โดยให้ 5 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลารวม 13 สัปดาห์ เมื่อครบตามเวลาแล้วพบว่าไม่พบความเป็นพิษเกิดขึ้นทั้งการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวและค่าต่างๆ แต่อย่างไรก็ดียังไม่มีรายงานถึงการค้นพบในมนุษย์ ดังนั้นหากเราจะกินสมอไทยในรูปแบบทั้งแบบผลสด สารสกัด ผงแห้ง ก็ควรจะหลีกเลี่ยนการกินในขนาดที่สูงและกินติดต่อกันเป็นเวลานาน ให้เหมือนกับคำโบราณที่ว่า ช้าๆได้พร้าเล่มงาม หรือ ช้าแต่ชัวร์

ออฟไลน์ kdidd

  • LCD TV member
  • **
  • กระทู้: 147
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
Re: การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ของสมอไทย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2017, 10:23:26 am »

สมอไทย

ออฟไลน์ kdidd

  • LCD TV member
  • **
  • กระทู้: 147
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
Re: การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ของสมอไทย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2017, 10:31:27 pm »

สมอไทย

ออฟไลน์ kdidd

  • LCD TV member
  • **
  • กระทู้: 147
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
Re: การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ของสมอไทย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2017, 12:09:08 am »

สมอไทย