ผู้เขียน หัวข้อ: DeFi - ICO การเงินโลกอนาคต แพลตฟอร์มยุคใหม่โปร่งใสหรือเสี่ยงสูง?  (อ่าน 136 ครั้ง)

ออฟไลน์ Shopd2

  • Hologram 3D TV member
  • ******
  • กระทู้: 16,748
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์


ในยุคปัจจุบัน “DeFi” และ “CeFi” เริ่มมีกระแสพูดถึงกันเยอะมากขึ้นอย่างต่อเนื่องขนานไปกับกระแสการเทรดคริปโต ที่มีความร้อนแรงอย่างมาก ซึ่งจากความเป็นแกนนโยบายการเงินกระจายศูนย์ หรือ Decentralized Finance ( DeFi ) ที่จะเข้ามาพลิกโฉมโลกแห่งอนาคต และถูกจัดให้เป็นคู่แข่งสำคัญของตัวกลางทางการเงิน เพราะถูกพัฒนาให้เป็นทางเลือกในการทำธุรกรรมทางการเงินที่ตัวกลางออกไป แต่ถึงแม้ว่า DeFi จะเกิดขึ้นไม่นาน

หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว กระแสเงินสดที่หมุนเวียนอยู่ในแพลตฟอร์มระบบการเงิน DeFi มีอยู่เพียงแค่ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐกลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันตัวเลขกระแสเงินสดที่หมุนเวียนอยู่ในโลกแพลตฟอร์ม DeFi พุ่งสูงขึ้นไปถึง1แสนล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว  และถึงจะยังอยู่ในการทดลองและพัฒนา หลายคนตั้งคำถามว่า กลไกกำหนดค่าสกุลเงิน อัตราดอกเบี้ย และการไหลเข้าออกของเงินลงทุนใน DeFi และความปลอดภัยในการลงทุนของDeFi ในประเทศไทยอนาคตจะเป็นอย่างไร คุ้มค่าที่จะเสี่ยงหรือไม่

กานต์นิธิ ทองธนากุล เจ้าของเพจ Kim DeFi Daddy และ Bitcoin Addict Thailand ได้เปิดเผยมุมมองการลงทุนในรูปแบบแพลทฟอร์ม DeFi ซึ่งเป็นหนึ่งการลงทุนโลกคริปโต ฯ ผ่านทางรายการ คริปโต 101 ของสำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ว่า

DeFi – ICO คืออะไร

DeFiจริงๆแล้วมันคือนิยามของระบบการเงินของโลกสมัยใหม่ คอนเซ็ปต์ของ DeFi ย่อมาจากคำว่า Decentralized Finance หรือระบบการเงินที่ไม่มีตัวกลางหรือว่าสถาบันใด ๆ เข้ามาควบคุมโดย ประโยชน์หลัก ๆ ของ DeFi คือ ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนและคริปโตเคอเรนซี่เป็นตัวขับเคลื่อน จึงช่วยให้โอเปอเรชั่นต่าง ๆ ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และก็ยากต่อการทุจริต อีกทั้งโปร่งใสตรวจสอบได้ DeFi จึงเป็นระบบการเงินอีกแบบนึง ที่นักลงทุนหลายคนให้ความสนใจในยุคนี้ ขณะที่ส่วน ICO คืออะไร ที่จริงแล้วICO ย่อมาจาก initial coin offering ซึ่งเป็นรูปแบบการออกโทเคนดิจิตอลเพื่อเสนอขายไอเดียของเหล่าบรรดาโปรเจคโปรเจคสตาร์ทอัพต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโลกคริปโตหรือว่า DeFi ซึ่งจริง ๆ แล้วจุดที่เหมือนกันของ DeFi กับ ICO ก็น่าจะเป็นเรื่องของการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเหมือนกันก็คือในฝั่งของ DeFi ก็ขับเคลื่อนด้วย smart contract ที่รันอยู่บน blockchain อยู่แล้ว แต่ในฝั่งของ ICO นั้น จะเหมือนกับการใช้ smart contract มาช่วยในเรื่องของการระดมทุน ให้ง่ายและรวดเร็วตรวจสอบได้ ซึ่งอันนี้ก็จะเป็นข้อดีและเป็นจุดที่เหมือนกัน ซึ่งจุดที่แตกต่างกันคือ DeFi ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นโปรดักส์หรือเป็นแพลตฟอร์มทางการเงินที่รันอยู่บนบล็อกเชน ซึ่งเราสามารถจับต้องตัว Core Business ได้ว่าทำงานอย่างไรมีประโยชน์อะไรบ้างและสามารถสร้างรายได้อย่างไรกับนักลงทุน แต่ในส่วนของ ICO ส่วนใหญ่ที่กำเนิดขึ้นมาเนี่ยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการเสนอขายไอเดียมากกว่าโดยแลกเป็นเหรียญโทเคนที่ทาง startup ได้สร้างขึ้นมาแล้วก็แจกจ่ายให้กับนักลงทุน ซึ่งนักลงทุนจะต้องไปเก็งกำไรในอนาคตว่าเหรียญนี้จะมีมูลค่าสูงกว่าราคาที่เข้าซื้อ ซึ่งอันนี้ก็จะเป็นลักษณะของการเก็งกำไรทางฝั่งของนักลงทุนมากกว่า ในขณะที่ DeFi แล้วจริง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องมีเหรียญก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วในหลาย ๆ แพลตฟอร์ม DeFi มักจะมีโทเคนของตัวเองที่เขาว่าจะเรียกว่า governance token ซึ่งคอนเซปต์คร่าวๆของ DeFi - ICO ก็จะประมาณนี้

อยากหาผลตอบแทนจากสินทรัพย์ดิจิทัล ควรเลือกแบบไหนดี

สำหรับในฝั่งของนักลงทุน อยากให้แบ่งระดับความเสี่ยงให้ชัดเจนก่อนว่าเรารับระดับความเสี่ยงการลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน เพราะว่าได้ผลตอบแทนของแต่ละระดับความเสี่ยงก็แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะแบ่งง่าย ๆ เป็น 3 ระดับคือ ระดับสูง ระดับกลาง ระดับต่ำ

ระดับสูงมาก ในฝั่งของนักลงทุน อาจจะต้องพิจารณาเลือกเหรียญที่มีสภาพคล่องสูงแต่ว่ามาร์เก็ตแคปหรือมูลค่าตลาดของตัวเหรียญยังไม่ได้สูงมากมี up size ที่เติบโตได้ ถ้าเกิดเหรียญไหนมีศักยภาพแล้วมองว่ามีอนาคต ก็สามารถเข้าไปเลือกลงทุนได้และก็สามารถที่จะเอาเหรียญนั้น ๆ ไปลงทุนต่อในแพลตฟอร์ม DeFi ต่างๆ ซึ่งอาจจะให้ผลตอบแทนที่สูง แต่ก็แลกมาด้วยกับความเสี่ยงที่สูงเช่นเดียวกัน เพราะว่าเหรียญที่มูลค่าในมาร์เก็ตแคปที่ต่ำ ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีความผันผวนของราคาค่อนข้างรุนแรง และตรงนี้ก็เป็นจุดที่นักลงทุนมือให่พึงต้องระวังไว้

ส่วนความเสี่ยงระดับปานกลาง อาจจะเป็นเหรียญที่มูลค่าในมาร์เก็ตแคปหรือมูลค่าตลาดอยู่ในระดับสูง ก็คืออาจจะอยู่ในช่วง TOP 10 ของ CoinMarketCap เช่นบิทคอยน์ อีเทอเรียม เหรียญเหล่านี้จะถูกมองว่าเป็นเหรียญที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงปานกลาง แต่ว่าก็ยังมีความผันผวนระดับนึงอยู่ ซึ่งเหรียญเหล่านี้นักลงทุนก็สามารถที่จะพิจารณาเลือกที่จะถือครองได้ แต่ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงตรงจุดนี้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากราคาอาจปรับตัวลดลงได้

ส่วนระดับต่ำสุด จะให้น้ำหนักไปที่เหรียญจำพวก stablecoin หรือว่าเหรียญที่มีมูลค่าคงที่ เทียบกับอาจจะตรึงกับดอลลาร์สหรัฐต่าง ๆ ในกระดานแลกเปลี่ยนไทย อย่างเช่น USDT ,USDC ,DAI ซึ่งเหรียญคริปโตเหล่านี้ที่มูลค่าไม่มีความผันผวน ซึ่งเหรียญเหล่านี้เราสามารถจะเอามาถือครองได้ หากถามว่าถือครองแล้วได้อะไร จริงๆแล้วข้อดีของโลกคริปโตในยุคนี้ คือเรามีแพลตฟอร์ม DeFi จำนวนมากที่นักลงทุนอาจจะเอาเหรียญพวก stablecoin ต่าง ๆ เข้าไปลงทุนในแพลตฟอร์มที่มีความน่าเชื่อถือ แล้วก็มีความปลอดภัย อาจจะได้ผลตอบแทนในระดับหนึ่ง ที่อาจจะเรียกว่าสมน้ำสมเนื้อ ซึ่งตรงนี้ก็จะลดความเสี่ยงในการสูญเสียมูลค่าเงินต้นไปได้ ก็ใช้เป็นตัวพิจารณาประกอบการตัดสินใจได้

แต่ในฝั่งของผู้ประกอบการที่คิดจะเข้ามาในโลกของคริปโต ก็อาจจะต้องพิจารณาในเรื่องของข้อกฎหมายว่าหน่วยงานกำกับดูแล เช่นถ้ามีการออกเหรียญโทเคน การเสนอขายเหรียญ หรืออะไรต่างๆ อาจจะต้องเข้ามาปรึกษากับ ก.ล.ต. อาจจะผ่าน ICO Potal เพื่อที่จะออกโทเคนดิจิตอลให้ถูกหลัก ซึ่งตรงนี้ก็จะป้องกันความเสี่ยงในอนาคตในมุมมองของนักลงทุนเอง ก็จะเห็นว่าโปรเจ็กต์นี้มีความน่าเชื่อถือด้วยแต่ถ้าไปทำเองนอกตลาด นอกกรอบที่มีการกำกับดูแล ในเรื่องของความน่าเชื่อถือก็ต้องแลกมากับความเสี่ยง ส่วนคนที่จะมาลงทุนด้วยก็จะมีความเสี่ยงตรงเรื่องที่ว่า ถ้าเกิดว่ามันมีความสูญเสียเกิดขึ้น หรือว่าสินทรัพย์ที่เราลงทุนไปนั้นสูญหายไปทางนักลงทุนก็ต้องรับผิดชอบเอาเอง

ปัจจุบัน DeFi ถูกนำมาใช้ทำอะไรบ้างในโลกการเงิน

จริงๆแล้วกรณีการใช้งานของโลก DeFi นั้นมีหลากหลายการใช้งานมากๆ แต่จะขอยกตัวอย่างที่อยู่ในกระแสนิยมหลักๆ ของการใช้งาน 2 กรณี ได้แก่ peer to peer lending คือการกู้ยืมระหว่างบุคคลต่อบุคคล แบบไร้ตัวกลาง โดยยกตัวอย่างของคอนเซ็ปต์นี้เช่นระบบการเงินแบบเดิมก่อน คือระบบการเงินแบบธนาคาร เวลาที่เรามีการฝากเงินเข้าไปในธนาคาร แล้วธนาคารจะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยอาจจะประมาณ 0.25% ต่อปีและธนาคารก็จะเอาเงินฝากที่เราฝากเข้าไป ไปทำการปล่อยกู้หรือว่าให้สินเชื่อต่อให้คนอื่นกู้ต่อ ซึ่งทางธนาคารจะเก็บดอกเบี้ย 7% - 9% ต่อปีก็ว่ากันไป กับฝั่งคนกู้ยืมซึ่งตรงนี้เนี่ยฟังดอกเบี้ยที่ธนาคารเก็บได้ก็จะเอาไปเป็นค่าบริหารจัดการ ค่าพนักงาน ค่าบริหารสาขา ฯลฯ ที่เป็นต้นทุนของทางธนาคาร แต่พอกลายเป็นโลก DeFi เนื่องจากว่าเขาไม่มีตัวกลางอย่างสถาบันการเงินเข้ามาควบคุม เค้าเปลี่ยนตรงนี้เป็นลักษณะการทำงานผ่านสมาร์ทคอนแทร็ค หรือว่าเปลี่ยนโปรแกรมคำสั่งที่รันอยู่บนบล็อกเชนแบบออโตเมติค เมื่อไม่มีมนุษย์เข้ามาจัดการพวกนี้ ฝั่งคนฝากจะยังเหมือนเดิมอยู่ ถ้าเรามีสินทรัพย์ดิจิทัลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Bitcoin, Ethereum ,USDT เข้าไปฝากเอาไว้เราสามารถปล่อยกู้ได้ ซึ่งตรงนี้เนี่ยถ้าเป็นแพลตฟอร์ม DeFi จะให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูงกว่า การฝากในสถาบันการเงินแบบที่เราคุ้นเคย ถามว่าเพราะอะไรถึงได้สูงขึ้น เพราะว่าในฝั่งของคนกู้ ที่มากู้เงินจากในแพลตฟอร์ม DeFi ที่เป็น peer to peer lending เขาก็จะมีการจ่ายดอกเบี้ยตามระยะเวลาปกติที่เขามีการกู้ยืมไป ซึ่งดอกเบี้ยตรงนี้โดยปกติแล้วถ้าเป็นธนาคาร ก็จะเป็นการเก็บไปเป็นค่าบริหารจัดการด้านต่างๆ แต่เมื่อเป็น DeFi แล้วทำให้ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆลง ไม่ต้องมีคนดูแล ไม่ต้องมีค่าขยายสาขา ไม่มีค่าเช่าพื้นที่ เขาก็เอาดอกเบี้ยที่เก็บได้จากฝั่งคนกู้ตรงนี้ สามารถเอามากระจายเพื่อสร้างแรงจูงใจ ให้กับฝั่งคนปล่อยกู้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยได้มากกว่า ตรงนี้เนี่ยข้อดีของการที่ไม่มีตัวกลางก็เลยเหมือนกับกระจายรายได้ออกไปได้มากยิ่งขึ้น อันนี้เป็นคอนเซ็ปต์คร่าวๆ ของระบบ peer to peer lending ที่ปัจจุบัน Operation อยู่ในโลก DeFi

ส่วนกรณีที่สอง ที่จะยกตัวอย่างก็คือเรื่องของระบบ Decentralized Exchange ก็คือเว็บเทรดที่เราคุ้นเคยกันดี แต่พอเราใช้คำว่า Decentralized Exchange แน่นอนคำว่าจะต้องมีตัวกลางตามคอนเซ็ปต์ DeFi พอไม่มีตัวกลางแล้วเนี่ยมันก็สามารถที่ต้องทำงานได้เอง โดยที่ไม่มีมนุษย์แล้วก็ใช้ smart contract เป็นตัวดำเนินธุรกิจ หรือดำเนินการแทน แต่ทีนี้เนี่ยเมื่อเป็น Decentralized Exchange การที่ จะเปิด Exchange ใดก็ตามขึ้นมา ไม่ว่าใครแล้วสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆคือคุณจะเป็นจะต้องมีสภาพคล่องหรือ Liquidity ให้คนที่อยากจะเข้ามาทำการซื้อขาย สามารถที่จะซื้อขายได้ แต่ว่าพอเป็นโลก DeFi อาจจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย คือสภาพคล่องตรงนี้จะไม่มาเลย ถ้าไม่มีอะไรบางอย่างจูงใจ ให้คนมาซื้อขายหรือมาเทรดกัน เพราะว่าในกรณีที่ถ้าเป็นโลกการเงิน ที่เราคุ้นเคยกัน เวลาที่มีการซื้อขายในทุก ๆ Transection ทางเว็บเทรดก็จะเก็บค่าธรรมเนียม เช่นอาจจะ 0.25% เข้าไปที่ตัวเว็บ เอาไปเป็นค่าบริหารจัดการต่าง ๆ เช่นค่าเช่า Server ค่าดูแลพนักงาน ฯลฯ ซึ่งเว็บเทรดก็จะเก็บไปแล้วเขาก็จะไปแบกภาระด้วยการหาสภาพคล่องต่างๆ มา Provide ให้กับทางเว็บเทรดของเขา ให้มี Order book นักลงทุนจะได้มาซื้อขายกันได้ ไม่ได้เป็นเว็ปร้าง แต่พอมันเป็น Decentralized Exchange

ในโลก DeFi การที่เขาจะดึงดูดให้คนมาเทรดกันได้ก็ต้องมีสภาพเช่นเดียวกัน แต่ว่ามันจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีสิ่งนี้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เรียกว่าระบบ AMM หรือว่า Automated Market Maker ระบบนี้เป็นระบบที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากใน Decentralized Exchange ของโลก DeFi โดยการทำงานของระบบนี้ ในเมื่อแพลตฟอร์มสร้างขึ้นมาแล้ว แต่สภาพคล่องไม่เพียงพอ เลยจะเปิดโอกาสให้กับคนทั้งโลก ใครก็ตามที่มีสินทรัพย์ดิจิตอลต่าง ๆ อยู่สามารถที่จะฝากเข้ามาในระบบแพลตฟอร์มนี้ได้เปรียบเสมือนว่า ใครที่มีเงินดอลล่าร์หรือมีเงินบาทก็สามารถฝากเข้ามาในระบบนี้ได้นะ แล้วทุก ๆ การซื้อขายที่เกิดขึ้น หรือว่าทุกๆ การแลกเปลี่ยนระหว่างดอลล่าร์สหรัฐ กับเงินบาท ค่าธรรมเนียมที่เก็บได้เช่นอาจจะประมาณ 0.3% เขาจะเอามาแจกจ่ายให้กับผู้ลงทุนที่ฝากเหรียญเหล่านี้เข้ามา ในระบบแพลตฟอร์มของเขา ตามสัดส่วนที่ฝากเขา ฝากมากได้มาก ฝากน้อยได้น้อย ซึ่งตรงนี้มันเป็นการกระจายแรงจูงใจแทนที่ทางแพลตฟอร์มควรจะเก็บเข้าตัวเอง ก็ไม่เก็บ แล้วเอากระจายแจกจ่ายให้กับนักลงทุนเพื่อเป็นช่องทางอีกช่องทางหนึ่ง ในการหารายได้ของนักลงทุน ที่เหมือนมีสภาพคล่องนี้อยู่ ด้วยคอนเซ็ปต์แบบนี้ก็เลยเป็นการดึงดูดกันให้กับนักลงทุน ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย คือทั้งโลกเลย ใครที่มีเงิน มีคริปโต ก็สามารถที่จะฝากเข้ามาในแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ เพื่อที่เขาคาดหวังว่าเขาจะได้รับส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมของการซื้อขายที่มันเกิดขึ้นจริง ๆ ในระบบซึ่งข้อดีของ โลก DeFi คือทุกสิ่งทุกอย่างสามารถที่จะตรวจสอบบน blockchain ได้หมด โปร่งใสมาก เราก็จะเห็นเลยว่าปริมาณการซื้อขายในแต่ละวันของเว็บ Decentralized Exchange เหล่านี้มันมีปริมาณการซื้อขายเท่าไรค่า fee ที่เข้าเก็บได้ต่อวันเท่าไหร่ แล้วก็ income ที่เราจะได้จากค่า Fee เหล่านั้น เราจะได้ประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ต่อปี ซึ่งตรงนี้มันอธิบายรายละเอียดให้เราเห็นแบบชัดเจนมาก ๆ ซึ่งก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่กำเนิดขึ้นบนโลก DeFi และเป็นคอนเซ็ปต์ที่น่าสนใจมาก และปัจจุบันด้วยคอนเซ็ปต์แบบนี้ ก็ได้มีการก๊อบปี้เป็นโมเดลเอาไปใช้ในแพลตฟอร์ม DeFi ตัวอื่น ๆ อีกมากมายหลายแพลตฟอร์ม อันนี้ก็จะเป็น 2 กรณีหลัก ๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก

DeFi มีความเสี่ยงไหม

จริง ๆ แล้ว แพลตฟอร์ม Defiก็มีหลากหลายประเภท หลากหลายโปรดักซ์ และคนที่เข้ามาเป็นนักพัฒนาแพลตฟอร์ม DeFi ก็มีทั้งดีและไม่ดีปะปนกันไป ในแพลตฟอร์มที่ดีและน่าเชื่อถือก็มีอยู่มาก ส่วนใหญ่จะสังเกตได้ง่ายจากจำนวนเงินที่ฝากอยู่ในระบบ ยิ่งแพลตฟอร์มไหนที่มีจำนวนเงินที่ฝากอยู่ในระบบมากก็จะเป็นแพลตฟอร์มที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือ เพราะอาจจะผ่านการ Audit มาแล้วผ่านการตรวจสอบของคอมมูนิตี้หรือว่าคุณนักลงทุนทั่วโลกมาแล้ว เขาถึงกล้าที่จะฝากเงินเป็นจำนวนมากขนาดนั้น นี้ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง แต่สำหรับแพลตฟอร์ม DeFi ที่ตั้งใจพัฒนาขึ้นมานะเพื่อเป็น Scamหรือว่าหลอกลวงนักลงทุนเลยก็มีเหมือนกัน ซึ่งตรงจุดนี้เนี่ยมันจะเป็นจุดหนึ่งที่เรียกว่าเป็นช่องว่างทางความรู้ด้านเทคโนโลยี ที่นักลงทุนส่วนใหญ่กว่า 99% ที่เข้ามาลงทุนในแพลตฟอร์ม DeFi เชื่อว่าอาจจะไม่สามารถที่จะตรวจสอบ Code smart contract หรือว่าโปรแกรมคำสั่งต่างๆของ แพลตฟอร์มได้เองเนื่องจากว่าคนที่จะตรวจสอบได้แบบนี้ได้ อาจจะต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีในระดับนึง พอไม่มีความรู้ตรงนี้ ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ที่พัฒนาแพลตฟอร์มขึ้นมาหลอกเราได้ เพราะว่าจริงๆแล้วบนโลก DeFi นั้นแฟร์มาก ๆ คือกติกาทุกอย่าง เงื่อนไข ที่ระบุไว้ในsmart contract เมื่อเขาประกาศแล้วฝังเข้าไปในบล็อกเชนแล้ว ด้วยคอนเซ็ปต์ของบล็อกเชน มันไม่สามารถทำการแก้ไขได้อยู่แล้ว ถ้าทางเจ้าของแพลตฟอร์ม ระบุไว้ว่าเขาไม่สามารถถอนเงินเราออกไปได้ มันก็จะเป็นแบบนั้นไปเสมอ เขาจะไม่สามารถถอนออกไม่ได้ ยกเว้นแค่เราซึ่งเป็นเจ้าของกระเป๋าเท่านั้นที่จะถอนได้ อันนี้คือข้อดีของมัน แต่ด้วยความที่ว่ามันเป็นข้อมูลทางเทคโนโลยี แล้วมันรันอยู่ข้างหลัง ซึ่งคนทั่วไปอาจจะไม่เข้าในตรงจุดนี้ แต่บางแพลตฟอร์มก็ไม่ได้เขียนอะไรไว้อย่างรัดกุม ก็ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงไว้พอเราฝากเข้าไปปุ๊บเนี่ยก็อาจจะถูกหลอกแล้วขโมยเงินหรือสินทรัพย์ที่เราฝากเข้าไปได้เช่นเดียวกัน และก็เป็นข้อเสียอย่างหนึ่งเนื่องจากว่า DeFi นะตอนปัจจุบันนี้ยังไม่เรียกว่ายังไม่มีการกำกับดูแลในฝั่งของกฏหมายที่ชัดเจน ดังนั้นเมื่อเกิดความเสียหายแล้วเนี่ยตามเงินกลับไม่ค่อยได้ อันนี้ก็เป็นความเสี่ยงที่นักลงทุนที่เข้ามาในโลก DeFi จะต้องระวัง นอกจากต้องระมัดระวังเรื่องของแพลตฟอร์มที่จะมาโกง เราก็ต้องดูในเรื่องความน่าเชื่อถือ อีกสิ่งที่สำคัญคือเรื่องของการจัดเก็บวอลเล็ทหรือว่ากระเป๋าที่เก็บคริปโตของเรา เพราะว่าในโลก DeFi เวลาที่เราจะลงทุนอะไรพวกนี้ เราจะต้องเป็นคนถือคีย์หรือว่าพาสเวิร์ดในการที่จะเข้าถึงสินทรัพย์ด้วยตัวเอง ซึ่งมันจะแตกต่างจากระบบการที่เราไปซื้อเหรียญในกระดานเทรดบน Exchange เหล่านั้น ซึ่งเป็นผู้ที่ดูแลสินทรัพย์คริปโตแทนเรา คือเราซื้อ เราฝากไว้ที่เขา แต่พอเป็นDefiมันคือการที่เราโอนเหรียญจาก Exchange เหล่านั้นมาเก็บไว้กับตัวเองแล้วไปลงทุนในแพลตฟอร์มต่างๆดังนั้นความเสี่ยงอีกอย่างก็คือความเสี่ยงต่อการดูแลจัดเก็บกระเป๋าคริปโตตัวนี่แหละที่เราจะต้องระมัดระวังไม่ให้ private key คือหรือว่าพาสเวิร์ดของเรานั้น หลุดไปถึงโจรได้ อันนี้ก็เป็นความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม

DeFi Farming / ฟาร์มซิ่ง คืออะไร ? 

คำว่า DeFi Farming เป็นคำที่เราพบเห็นในโลก DeFi ค่อนข้างมากในสื่อโซเชียลหลายๆสื่อ ก็มักจะเอาไปใช้กัน หลายคนอาจจะยังสงสัยอยู่คำว่า DeFi Farming คืออะไร คำว่า DeFi ก็อย่างที่ได้อธิบายไปตอนต้น ส่วนคำว่าFarming จริงๆแล้วเนี่ยการทำฟาร์มต่างๆ เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยอยู่แล้ว ว่ามันคือการหว่านพืชหว่านเมล็ดเพื่อที่จะหวังผลอะไรบางอย่างนับเป็นผลตอบแทนกลับมา แต่ที่นี่ในโลกของ DeFi สิ่งที่เราหว่านลงไปเนี่ยมันก็คือการลงทุนด้วยเม็ดเงิน สิ่งที่เราอยากจะได้กลับมาคืออะไรก็คือ Yieldหรือว่าผลตอบแทน ดังนั้นตรงนี้การทำ DeFi Farming ก็เปรียบเสมือนการที่เราเนี่ยลงทุน ด้วยเม็ดเงินในแพลตฟอร์ม DeFi ต่าง ๆ แล้วเราคาดหวังว่าเราจะได้ผลตอบแทนกลับมาอาจจะอยู่ในลักษณะของดอกเบี้ย หรือว่าผลตอบแทนส่วนแบ่งจากค่าธรรมเนียมในระบบ หรือของแพลตฟอร์มนั้น ๆ ที่กำหนดสร้างขึ้นมาเป็นรายได้เม็ดเงินให้กับเรา แต่อันนี้ก็คือคอนเซ็ปต์คร่าวๆหรือคำนิยามของ DeFi Farming ซึ่งในโลกของ DeFi ก็มีแพลตฟอร์มที่ทั้งดีแล้วก็ไม่ดี ส่วน ฟาร์มซิ่งที่หลาย ๆ คนน่าจะพูดกัน จึงจัดอยู่ในหมวดหมู่ของแพลตฟอร์มที่ไม่ดี เพราะว่าเนื่องจากว่าโลก DeFi มันเป็นโอเพนซอร์ส คือโค้ดทุกสิ่งทุกอย่าง เขามีการประกาศขึ้นไว้บนบล็อกเชน ที่ทุกคนสามารถเข้าไปอ่านโค้ดได้ นะแค่คุณมีความรู้เกี่ยวกับด้านนักพัฒนา (Dedeloper) คุณก็สามารถก็อปปี้โค้ดนี้ แล้วเอามาสร้างเป็นแพลตฟอร์ม ในแบบของตัวเองได้ อาจจะใช้เวลาพัฒนาแค่ไม่ถึงวันด้วยซ้ำดังนั้นจึงมีการก๊อปปี้แพลตฟอร์มต่างๆแล้วก็สร้างขึ้นมาในจำนวนมาก ๆ ซึ่งฟอร์มซิ่งต่างๆส่วนใหญ่แล้วเนี่ยก็จะมาจากการก็อปปี้พวกโมเดลของแพลตฟอร์ม DeFi ที่มีชื่อเสียงแล้วเอามาทำใหม่ เอามาโมดิฟายด์ใหม่ อาจจะเปลี่ยน UX -  UI เปลี่ยนหน้าตาอะไรให้อยู่ในรูปแบบที่มีสีสันสดใสมากขึ้น แล้วก็ให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูงกว่าผลตอบแทนของพวก DeFi สายที่ไม่ซิ่ง แต่ถามว่าผลตอบแทนสูงตรงนี้ มันมาจากอะไร มันจะมาจากที่ย้อนกลับไปข้างต้นว่า แต่ละแพลตฟอร์ม DeFi เขาจะมีการออกเหรียญ governance token ของตนเอง ที่ใช้เป็น Voting Power หรือว่า ถือเพื่อที่เอาไปโหวตเพื่อปรับเปลี่ยนระบบต่างๆ governance token เหล่านี้ ส่วนใหญ่แล้วแพลตฟอร์ม DeFi เขาจะไม่เอามาเสนอขายเป็น ICO แต่ว่าเขาจะใช้วิธีการแจกเป็น Reward ให้กับนักลงทุนที่ฝากเงินเข้ามาในระบบของเขา หรือว่าลงทุนกับระบบเขาจะคล้ายกับ Royalty Point ซึ่ง governance token เหล่านี้ก็มีมูลค่าที่สามารถเอาไปเทรดหรือว่าเอาไปซื้อขายแลกเปลี่ยนใน Decentralized Exchange ต่าง ๆ ได้ พอมันมีมูลค่าปุ๊บเนี่ยแล้วเขาแจกไปเป็น Reward เสริมเป็นโบนัสเสริม ก็เลยกลายเป็นคอนเซ็ปต์ของพวกฟาร์มซิ่งหลาย ๆ ตัว ที่แพลตฟอร์ม DeFi ของตนเองขึ้นมาแล้วก็สร้างเหรียญ governance token ใหม่ขึ้นมาเป็นของตัวเอง แล้วก็บอกว่าเขาจะมีการแจกเงินเป็น governance token ให้กับนักลงทุนที่ฝากเหรียญเข้ามาในระบบของเขา ซึ่งถ้าเกิดว่าราคาของเหรียญ governance token

"ตรงนี้มันมีการปั่นขึ้นไปในระดับสูง ผลตอบแทนที่นักลงทุนที่ฝากเงินเข้ามาในระบบ ก็จะได้จำนวนที่สูงมากขึ้น เพราะว่า governance token ราคามันจะพุ่งขึ้นไปสูง ซึ่งตรงนี้ ถือว่ามันไม่ใช่ Real Business คือไม่ใช่ income หรือ ไม่ใช่ fee ที่ทางระบบเก็บได้จริงๆแล้วเอามาแจกจ่ายนักลงทุน แต่มันคือการสร้างเหรียญในอากาศขึ้นมาแจกจ่ายให้กับนักลงทุนอีกชั้นหนึ่ง" 

ซึ่งตรงจุดนี้จะไม่ค่อยเชียร์เท่าไหร่ละกันสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่เข้ามาในโลกคริปโต อยากจะให้พิจารณาไปที่ตัวCore Productหรือว่า Real Business ของตัวแพลตฟอร์ม DeFi เหล่านั้นมากกว่าว่ามันทำงานยังไง รายได้เอาจากไหนมาจ่ายให้เรา ถ้ามาจากการแบบดอกเบี้ยคนที่กู้ มาให้คนปล่อยกู้ หรือมาจากการเก็บค่า feeการเทรดมาจ่ายให้เราอะไรแบบนี้ ถือว่าเป็น Real Business แต่ถ้ามันมาจากการเสกเหรียญgovernance token และไปปั่นราคาแล้วมาแจกจ่ายให้เราตรงนี้เนี่ยไม่ใช่ Real Business ดังนั้นเนี่ยขอให้ระมัดระวังเพราะว่าการปั่นราคาตรงนี้เนี่ยถ้าเกิดเราไปซื้อเหรียญเหล่านั้นมาลงทุนทำฟาร์มอะไรต่างๆ เนี่ยเราก็อาจจะสูญเสียเงินต้นได้ถ้าเกิดเขามีการทุบราคาอย่างรุนแรงขึ้นมาก็อาจจะขาดทุนหรือติดดอยได้ สำหรับนักลงทุนมือใหม่ก็อย่าไปซิ่งดีกว่า อยากให้พิจารณาในแพลตฟอร์มที่มีความน่าเชื่อถือแล้วก็ดูว่าตัวธุรกิจนั้นสร้างผลตอบแทนให้เรายังไงจะดี

ภาพรวม ICO ในต่างประเทศ

ในประเทศจีนก็ชัดเจนว่าไม่ได้แน่นอนเขาสั่งแบนเลย ห้ามทำ ICO แต่ก็ไม่ห้ามประชาชนถือครองสินทรัพย์ดิจิทัล ถือว่ายังมีช่องว่างอยู่ในเรื่องของการไปลงทุนต่างนะครับ แต่ในฝั่งของอเมริกา ที่เป็นประเทศมหาอำนาจก็จริงๆหน่วยงานกำกับดูแลก็เข้มงวดเหมือนกัน ก็ไม่อนุญาตให้ใครระดมทุนได้ง่ายๆแต่ก็จะมีแพลตฟอร์ม อย่างเช่น Coinlist ที่เป็นแพลตฟอร์มการระดมทุนในฝั่งของอเมริกา ให้นักลงทุนทั่วไปในสหรัฐอเมริกา รวมถึงต่างประเทศยังเข้าไปลงทุนได้อยู่ ซึ่งการระดมทุนต่อหนึ่ง ICO ก็จะมีผู้สนใจประมาณสามแสนคนได้ต่อรอบ ก็ถือว่ายังมีความนิยมค่อนข้างมากในฝั่งอเมริกา

ส่วนในฝั่งเอเชียนะเราก็จะเห็นในหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ก็จะมีการออกแบบแพลตฟอร์ม ICO ระดมทุนผ่าน smart contract ในบล็อกเชน หลายแพลตฟอร์มมีการเสนอขายไอเดียต่าง ๆ ซึ่งตรงนี้ส่วนใหญ่ในช่วงที่ตลาดบิทคอยน์ ที่ขึ้นมาค่อนข้างเยอะ หลายๆโทเคน ICO ยังกำไรอยู่ในฝั่งของนักลงทุนก็เรียกว่ายังไม่อยู่ในจุดที่เป็นขาลงเท่าไหร่ ตอนนี้ก็เลยค่อนข้างทรงตัว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตรงจุดนี้ ก็เริ่มเห็นอะไรบางอย่างที่มันไม่ค่อยดีเท่าไหร่ในอนาคต เพราะว่าหลายแพลตฟอร์ม ICO เสนอขายโทเคนของตัวเองยังไม่ค่อยมีโปรดักซ์ที่จับต้องได้ เกรงว่ามันอาจจะไปซ้ำรอยเดิม ยุค ICO ปี 2017 ที่หลายๆ แพลตฟอร์มก็ทำ ICO ออกมาขาย และยังไม่มีโปรดักซ์อันนั้นก็อยากให้เพิ่มความระมัดระวัง ในเรื่องการลงทุนเหล่านี้ แต่อยากจะให้มองย้อนกลับมาที่ตัว Real Business แพลตฟอร์มมากกว่า ว่าแพลตฟอร์มคริปโต หรือ แพลตฟอร์ม DeFiต่างๆ ทำงานยังไง มี income จากช่องทางไหน จับต้องได้หรือไม่ อะไรพวกนี้น่าสนใจมากกว่า ที่เราจะไปซื้อเหรียญแล้วเก็งกำไรกับราคาในอนาคตที่ยังไม่รู้ว่าจะขึ้นหรือลงมากกว่า

การเงินในโลกอนาคต จะไปในทิศทางใด

ต้องยอมรับว่าตอนนี้เรายังอยู่ในแค่ช่วงเริ่มต้นแพลตฟอร์มระบบการเงิน DeFiถ้านับตามระยะเวลาจริงๆ เพิ่งจะบูมมาได้ไม่ถึง1ปีเท่านั้นเอง กระแสยังเพิ่งกำเนิด แต่ว่าจำนวนเม็ดเงินที่ไหลเข้าไปเติบโตแบบเติบโตก้าวกระโดดมาก ถ้าย้อนกลับไปเมื่อประมาณกุมภาพันธ์ปีแล้วเนี่ยกระแสเงินสดที่หมุนเวียนอยู่ในแพลตฟอร์มระบบการเงิน DeFi ยังอยู่ที่ประมาณสัก 50ล้านดอลลาร์สหรัฐได้ ขณะที่ปัจจุบันตัวเลขกระแสเงินสดที่หมุนเวียนอยู่ในโลกแพลตฟอร์ม DeFi พุ่งสูงขึ้นไปถึง1แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าสูงมากๆเติบโตหลายร้อยเท่าถ้านับอัตราการก้าวกระโดดตรงนี้ ก็สะท้อนให้เห็นว่าจำนวนเม็ดเงินที่มันไหลมาในแพลตฟอร์ม DeFi ตรงนี้ มันมีการเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนส่วนหนึ่ง ที่เข้ามาในตลาด เขามองเห็นโอกาสอะไรบางอย่าง ก็เลยมีการกระโดดเข้ามา แต่ว่าถ้าเกิดเอาไปเทียบกับมูลค่าตลาดของสถาบันการเงินในภาคของธนาคารอะไรต่าง ๆ จริง ๆ แล้วเม็ดเงินตรงนี้เนี่ยยังไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำของภาคการเงินธนาคาร ยังถือว่าร้อนมากๆ อย่างไรแล้วมองว่ายังมีช่องหรือว่ายังมีพื้นที่ให้เติบโตได้ในอนาคตอีกมาก เฟสตอนนี้ก็เหมือนกับเป็นเฟสช่วงทดลองและที่ถ้ามองย้อนกลับไปเมื่อ10ปีก่อนนะตอนนั้นบิทคอยน์เพิ่งถือกำเนิดได้ไม่นานผู้คนก็ไม่รู้จักก็มองว่ามันทำงานยังไงจะซื้อที่ไหนยังไม่รู้เลยว่าต้องซื้อที่ไหน แต่ทุกวันนี้ก็จะเห็นว่าบิทคอยน์ก็ยังอ่ะแหล่งซื้อขายมากขึ้นคนเข้าถึงได้มากขึ้น เชื่อแบบนั้นว่าในอนาคตแพลตฟอร์ม DeFi มันก็จะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น อาจจะเพราะด้วยตอนนี้ข้อจำกัดทางด้านการใช้งานอาจจะต้องพึ่งพาฝั่งทางเทคนิคค่อนข้างเยอะก็เลยเข้าถึงยากแต่ในอนาคตจะเกิดมีการปรับเปลี่ยนเรื่องของตัวแอปพลิเคชัน UX & UI ให้คนเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น เชื่อว่าจะเติบโตได้เร็วกว่าที่เราคาดคิดเอาไว้อย่างแน่นอน

ข้อควรระวังสำหรับนักลงทุนมือใหม่

ยังไม่อยากให้ทุกคนลืมความรู้พื้นฐานทางด้านการเงินในเรื่อง money management การบริหารการจัดการเงินของเรา ยังไงก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญอยู่ ดังนั้นการที่จะเข้าไปโลก DeFi ไม่อยากให้ทุก All in ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง อย่าเห็นว่าผลตอบแทนที่สูงเนี่ย แล้วบางทีเราอาจจะติดกับอะไรบางอย่าง เราอาจจะมองอะไรบางอย่างพลาดไป ถ้าเราไปดูแค่ตรงนั้นอยากให้มองในเรื่องของตัวแปรวิเคราะห์ fundamental project ที่เราจะเข้าไปลงทุนด้วยว่ามันทำงานยังไง แล้วก็มันสร้างรายได้ให้เราทางไหนได้บ้างตรงนี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถที่จะลงทุนได้อย่างยั่งยืนดีกว่า ก็ต้องระมัดระวังหน่อย อย่าไปโฟกัสแค่เรื่องผลตอบแทนสูงๆอย่างเดียว แล้วก็อย่าใส่เงินทั้งหมดที่มี ในการจัดสรรพอร์ตแค่บางส่วน แนะนำว่าอาจจะประมาณ 5% -10% จะกำลังดี อย่าไปกู้ยืมเงินมาลงทุนเด็ดขาดอันนี้จะต้องเป็นเงินเย็นจริงๆ ที่จะต้องระมัดระวัง แล้วก็อีกสิ่งหนึ่งคือความรู้พื้นฐานในเรื่องของการใช้งานพวกwallet หรือกระเป๋าเงินดิจิทัล คริปโตต่างๆ ในโลก DeFi เป็นสิ่งที่ยังจำเป็นอยู่มาก การ ดูแลให้ปลอดภัย ถ้าเกิดเราทำตรงนี้ไม่ได้ ต่อให้เรา ทำผลกำไรได้ จำนวนมากหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ตาม แต่ถ้าเกิดกระเป๋าโดนแฮ็กขึ้นมา ก็จะหายหมดเลย ก็ไม่มีประโยชน์ที่ลงทุนมา ก็เหมือนกับสูญเปล่า ดังนั้นก็อาจจะพึ่งพาอุปกรณ์เช่น hardware wallet เราก็สามารถเยอะซื้อมาเพื่อปกป้องความเสี่ยงตรงนี้ให้ลดลงไปได้ อีกอย่างอยากให้ขยันติดตามข่าวสารหน่อย ในโลกของคริปโตมีการอัพเดทกันไวมาก เทคโนโลยีทางการเงินหรือแพลตฟอร์มต่างๆ หรือว่าเหรียญต่างๆ พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วไม่อยากให้พลาดตรงนี้อาจจะติดตามข่าวสารทาง ก.ล.ต. ช่วยให้สามารถที่จะรู้ทันช่องทางการลงทุนต่างๆที่ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้