ผู้เขียน หัวข้อ: เทคโนโลยีการตรวจวัดและวิเคราะห์ปริมาณคาร์บอน (Carbon Measurement & Analytics)  (อ่าน 91 ครั้ง)

ออฟไลน์ siritidaphon

  • Edge LED TV member
  • ***
  • กระทู้: 427
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
เทคโนโลยีการตรวจวัดและวิเคราะห์ปริมาณคาร์บอน (Carbon Measurement & Analytics)

1. ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ประเทศไทยเองมีเป้าหมายที่จะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) ซึ่งการจะพาประเทศไทยไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จนั้นต้องอาศัยมาตรการต่าง ๆ ได้แก่ เทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินการปล่อยยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตสินค้าและบริการ มาตรการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกผ่านการกำหนดเพดานการปล่อยก๊าซในภาคอุตสาหกรรม การบังคับชดเชยการปล่อยก๊าซที่มากเกิน ผ่านธุรกิจการซื้อขายคาร์บอนเครดิต และเทคโนโลยีการคำนวณปริมาณคาร์บอนเครดิต

2. ปัจจุบันเรามีฐานข้อมูล Thai National LCI Database ซึ่งใช้เทคนิค data mining & data analytics มาช่วยคำนวณและประเมินค่าคาร์บอนฟุตพรินต์ รวมถึงประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเศรษฐศาสตร์ มีประโยชน์เป็นอย่างมากสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ SMEs

3. ขณะที่การประเมินค่ามวลชีวภาพบนผืนดินยังอาศัยข้อมูลการสำรวจภาคสนามเป็นหลัก หากหันมาใช้การพัฒนาแบบจำลองเพื่อใช้คำนวณมวลชีวภาพบนพื้นดิน จะช่วยปิดจุดอ่อนนี้ได้ การประเมินจะทำได้ง่ายและถูกต้องมากขึ้น ทั้งนี้เทคโนโลยีนี้ต้องอาศัยการพัฒนาแบบจำลองจากข้อมูล remote sensing ได้แก่ ข้อมูลภาพ 3 มิติจากเซนเซอร์ LIDAR และข้อมูลแถบสีความละเอียดสูงจากเซนเซอร์ hyperspectral โดยวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลจากงานสำรวจภาคสนาม และใช้เป็นต้นแบบสำหรับ machine learning เพื่อใช้กับข้อมูลดาวเทียม เช่น ข้อมูลจาก Sentinel 2 หรือ Lansat 8 ต่อไป

4. เทคโนโลยีการประเมินทั้งมวลชีวภาพและคาร์บอนฟุตพรินต์ดังกล่าว จึงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะใช้ได้ทั้งในการประเมินชนิดป่าหรือพรรณไม้ที่ดูดซับคาร์บอน เพื่อคำนวณปริมาณคาร์บอนเครดิตในพื้นที่ที่สนใจนำมาใช้ในโครงการชดเชยคาร์บอน เพื่อใช้รับมือการกีดกันทางการค้า เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกินเพดาน ซื้อ “คาร์บอนเครดิต” เพื่อชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกไปได้ เกิดการไหลเวียนของเงินตราภายในประเทศ เกิดผลดีทั้งต่อประเทศและโลกไปพร้อม ๆ กัน ช่วยส่งเสริมให้เกิดแนวคิดในการประกอบธุรกิจแบบ Green Economy มากขึ้น


เทคโนโลยี CCUS ด้วยพลังงานสะอาด (CCUS By Green Power)

1. ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจกเป็นวิกฤตที่ทั่วโลกต้องร่วมกันแก้ไข ประเทศไทยประกาศในการประชุม COP26 ว่าจะเป็นประเทศ Net Zero Emission หรือปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจากกิจกรรมต่าง ๆ เป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065)

2. การลดใช้พลังงานจากฟอสซิลและเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน ไม่น่าเพียงพอบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ต้องอาศัยเทคโนโลยีการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน (carbon capture, utilization & storage: CCUS) เข้ามาช่วยจัดการก๊าซ CO2 ก่อนปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ เทคโนโลยี CCUS ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ (1) การดักจับก๊าซ CO2 ด้วยวัสดุดูดซับ (2) การนำก๊าซ CO2 ที่ดักจับได้ไปแปรรูปเป็นสารมูลค่าสูงในอุตสาหกรรม และ (3) การนำก๊าซ CO2 ไปกักไว้อย่างถาวร โดยการอัดเข้าไปเก็บใต้ผืนพิภพ

3. หัวใจของเทคโนโลยี CCUS คือ การพัฒนาวัสดุและกระบวนการทางเคมีที่เปลี่ยนก๊าซ CO2 ให้อยู่ในรูปแบบที่จัดการได้ง่าย โดยไม่ใช้พลังงานมากจนเกินไป แต่ปกติแล้วก๊าซ CO2 แทบจะทำปฏิกิริยากับสิ่งต่าง ๆ น้อยมาก จึงต้องอาศัยวัสดุดูดซับที่มีความจำเพาะสูงตรึงก๊าซ CO2 ออกจากไอเสียทางอุตสาหกรรมหรือจากอากาศ ได้ผลลัพธ์เป็นก๊าซ CO2 ที่มีความเข้มข้นและความบริสุทธิ์สูง ใช้เป็น “สารตั้งต้น” เพื่อผลิตสารเคมีที่มีมูลค่าสูงในอุตสาหกรรม เช่น แอลกอฮอล์ ก๊าซสังเคราะห์ (syngas) กรดอินทรีย์ ผงฟู พอลิเมอร์ต่าง ๆ

4. ส่วนการเปลี่ยนแปลงพันธะเคมีของก๊าซ CO2 ที่เสถียรมากต้องใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีพลังงานกระตุ้นสูง คือ “อิเล็กโทรไลเซอร์” เพื่อลดพลังงานลง ป้องกันไม่ให้ปล่อยก๊าซ CO2 ออกมาในกระบวนการเพิ่มเสียเอง จึงต้องใช้พลังงานสะอาดอย่างพลังงานแสงอาทิตย์และลมมาช่วยในกระบวนการแปรรูปพลังงานไฟฟ้าเป็นสิ่งอื่น หรือที่เรียกกันว่า power-to-X (P2X) เช่น การใช้เซลล์เคมีไฟฟ้าในการผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากน้ำ การเปลี่ยนก๊าซ CO2 เป็นเชื้อเพลิง

5. ปัจจุบันหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีพันธกิจในการลดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมีขนาดใหญ่ เช่น ปตท., ปตท.สผ., SCG มีความร่วมมือกับ สวทช. ดำเนินงานวิจัยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี CCUS ตลอดจนสร้าง Hydrogen Consortium อันเป็นระบบนิเวศวิจัยและ Technology Gateway ที่เชื่อมโยงนักวิจัยกับบริษัทเอกชนทั้งในและต่างประเทศ





เทคโนโลยีการตรวจวัดและวิเคราะห์ปริมาณคาร์บอน (Carbon Measurement & Analytics)
 อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://techwealth99.com/