ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจอาการเบื้องต้น: พิษเห็ด (Mushroom poisoning)  (อ่าน 72 ครั้ง)

ออฟไลน์ siritidaphon

  • Edge LED TV member
  • ***
  • กระทู้: 429
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
ตรวจอาการเบื้องต้น: พิษเห็ด (Mushroom poisoning)
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2023, 01:35:42 am »
เห็ดพิษ มีหลากหลายชนิด และในเห็ดพิษชนิดเดียวกันก็อาจมีพิษอยู่หลายชนิดต่าง ๆ กันไป ภาวะพิษจากเห็ด (พิษเห็ด) จึงมีอาการได้หลายลักษณะ ส่วนใหญ่จะเกิดอาการแบบอาหารเป็นพิษทั่วไป คือ ปวดท้อง อาเจียน และท้องเดิน แต่เห็ดพิษบางชนิดมีพิษต่ออวัยวะสำคัญ อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เช่น

    พิษต่อตับ ที่สำคัญได้แก่ เห็ดตระกูลอะมานิตา (Amanita) มีสารพิษร้ายแรงต่อตับชื่อ อะมาท็อกซิน (amatoxins) ทำให้ตับวาย ไตวาย ในบ้านเราได้แก่ เห็ดระโงกหิน* (มีชื่ออื่น เช่น เห็ดไข่ห่านตีนตัน เห็ดระโงก เห็ดระงาก เห็ดสะงาก เห็ดไข่ตายซาก เป็นต้น) มีลักษณะเป็นเห็ดขนาดใหญ่ รูปทรงสะดุดตา ขึ้นอยู่ทั่วไปตามเรือกสวนไร่นาและป่าเขา เป็นสาเหตุการป่วยและการตายที่สำคัญของชาวบ้าน โดยเฉพาะทางภาคเหนือและอีสานที่นิยมกินเห็ดป่า ซึ่งมักจะปรากฏเป็นข่าวทุกปี
    พิษต่อประสาทส่วนกลาง เช่น เห็ดตระกูลไจโรมิทรา (Gyromitra) มีพิษไจโรมิทริน (gyromitrin) หรือเรียกว่า โมโนเมทิลไฮดราซีน (monomethylhydrazine) นอกจากมีผลต่อสมองแล้ว ยังทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก และภาวะเมตเฮโมโกลบินในเลือด (methemoglobinemia) ตับวาย ไตวายได้

นอกจากนี้ยังมีเห็ดตระกูลซิโลไซบ์ (Psilocybe) ซึ่งมีพิษซิโลไซบิน (psilocybin) และซิโลซิน (psilocin) ซึ่งมีโครงสร้างทางเคมีคล้ายซีโรโทนิน มีฤทธิ์คล้ายสารเสพติดแอลเอสดี (LSD) ทำให้เคลิบเคลิ้ม ประสาทหลอน และทำลายระบบประสาทอย่างรุนแรง ในบ้านเรา ได้แก่ เห็ดขี้ควาย** (ตำราแพทย์โบราณเรียก เห็ดโอสถรวมจิต) ซึ่งขึ้นอยู่ตามกองมูลวัวมูลควายแห้ง พบได้ทั่วไปในทุกภาค

    พิษต่อประสาทอัตโนมัติ เช่น เห็ดตระกูลอิโนไซบ์ (Inocybe) และคลิโทไซบ์ (Clitocybe) มีพิษมัสคารีน (muscarine) ออกฤทธิ์โคลิเนอร์จิก (กระตุ้นประสาทพาราซิมพาเทติก) อาการคล้ายพิษยาฆ่าแมลงประเภทออร์แกโนฟอสเฟต แต่รุนแรงน้อยกว่า พิษชนิดนี้ถูกทำลายด้วยความร้อน

นอกจากนี้ยังมีเห็ดพันธุ์ Amanita muscaria ซึ่งมีพิษมัสซิมอล (muscimol) และกรดไอโบเทนิก (ibotenic acid) ออกฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิกคล้ายอะโทรพีน และมีฤทธิ์ทำให้มีอาการประสาทหลอนร่วมด้วย

    พิษต่อไต เช่น เห็ดตระกูลคอร์ตินาเรียส (Cortinarius) มีพิษออเรลลานีน (orellanine) และออเรลลีน (orelline) ทำให้เกิดภาวะไตวายภายหลังกินเห็ด 1-3 สัปดาห์ พิษชนิดนี้ถูกทำลายด้วยความร้อน
    พิษร่วมกับแอลกอฮอล์คล้ายไดซัลฟิเเรม (disulfiram)*** เช่น เห็ดตระกูลโคพรินัส (Coprinus) มีพิษโคพรีน (coprine) ซึ่งมีความทนต่อความร้อน จะเกิดพิษเฉพาะเมื่อกินเห็ดร่วมกับแอลกอฮอล์

พิษเห็ดบางชนิดมีความทนต่อความร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเห็ดระโงกหินที่มีพิษร้ายแรง ถึงแม้ปรุงให้สุกพิษก็ไม่ถูกทำลาย บางชนิดทำให้สุกอาจลดพิษลงหรือทำลายพิษได้ เช่น พิษมัสคารีน พิษไจโรมิทริน

อาการของพิษเห็ดขึ้นกับชนิดและปริมาณพิษที่ได้รับ

*ประกอบด้วยเห็ด 2 ชนิด ได้แก่ Amanita verna และ Amanita virosa

**มีชื่อวิทยาศาสตร์ - Psilocybe cubensis Sing. และชื่อสามัญ - Magic mushroom

***ไดซัลฟิแรมกินร่วมกับแอลกอฮอล์ ทำให้เกิดอาการหน้าแดง ตัวแดง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก เหงื่อแตก ใช้เป็นยาบำบัดผู้ที่ติดแอลกอฮอล์ โดยกระตุ้นให้เกิดความเข็ดขยาดจนเลิกดื่ม ถ้าใช้ขนาดมากเกินอาจเกิดพิษได้

ตรวจอาการเบื้องต้น: พิษเห็ด (Mushroom poisoning)  อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/symptom-checker