ผู้เขียน หัวข้อ: โรคเบาหวาน รู้ทันป้องกันได้ (Diabetes)  (อ่าน 105 ครั้ง)

ออฟไลน์ siritidaphon

  • Edge LED TV member
  • ***
  • กระทู้: 429
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
โรคเบาหวาน รู้ทันป้องกันได้ (Diabetes)
« เมื่อ: กันยายน 05, 2023, 02:46:34 pm »
โรคเบาหวาน คือ อะไร?

ภาวะปกติของร่างกาย หมายถึง เมื่อรับประทานอาหารเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หลังจากนั้นร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจาะนำพาน้ำตาลเข้าสู่เซลล์

โรคเบาหวาน หมายถึง โรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่


โรคเบาหวานแบ่งเป็น 4 ชนิด ได้แก่

    โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน ส่วนใหญ่พบในเด็ก จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาอินซูลิน
    โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ มักมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวานร่วมด้วยในระยะแรกสามารถรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ถ้าเป็นนานๆ บางรายจำเป็นต้องใช้ยาอินซูลิน
    โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ วินิจฉัยขณะตั้งครรภ์ และภาวะนี้มักหายไปหลังจากคลอด
    โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคที่ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อบางชนิด หรือการรับประทานยาที่มีสารสเตียรอยด์


ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2

    อายุ 35 ปีขึ้นไป
    มีโรคอ้วน หรือ รอบเอวเกินมาตรฐาน (มากกว่า 90เซนติเมตรในผู้ชาย หรือ 80 เซนติเมตรในผู้หญิง) และมีพ่อ แม่ พี่ น้องเป็นโรคเบาหวาน
    มีโรคความดันโลหิตสูง หรือรับประทานยาความดันโลหิตอยู่
    ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (ระดับไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือระดับคอเลสเตอรอล เอสดีแอล < 35มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
    มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
    เคยได้รับการตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ เช่น ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร 100 – 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือระดับน้ำตาลสะสม 5.7 – 6.4 %
    มีโรคหัวใจและหลอดเลือด


อาการเริ่มแรกของโรคเบาหวาน คือ

ผู้ป่วยเบาหวานในระยะแรกที่ระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่สูงมาก อาการจะไม่เด่นชัดอย่างไรก็ตาม อาจไปพบแพทย์ด้วยอาการต่างๆ ดังนี้

    อาการของระดับน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ รับประทานเก่งขึ้น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย ถ้าระดับน้ำตาลสูงนานๆ และยังไม่ได้รับการรักษาจะมีน้ำหนักตัวลดลงตามมา
    อาการของภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น ตามัว ไตวาย ชาปลายมือปลายเท้า โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง
    อาการของน้ำตาลสูงเฉียบพลัน เช่น อ่อนเพลียมาก คลื่นไส้อาเจียน หายใจหอบเหนื่อย ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ซึมลง หรือหมดสติ
    อาการหรือโรคที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวาน เช่น แผลเรื้อรังหรือแผลหายช้ากว่าปกติ โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น การติดเชื้อราที่ช่องคลอด การติดเชื้อราที่ผิวหนัง
    ตรวจพบจากการตรวจเช็คสุขภาพหรือก่อนทำการผ่าตัด


น้ำตาลสะสม หรือน้ำตาลเฉลี่ยคืออะไร?

น้ำตาลสะสม หรือ น้ำตาลเฉลี่ย หรือฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1C) คือ ค่าที่ช่วยบ่งชี้การควบคุมระดับน้ำตาลในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา และช่วยแพทย์ในการเฝ้าติดตามผู้ป่วยเบาหวานว่าสามารถควมคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพียงใด ควบคู่ไปกับการดูระดับน้ำตาลหลังงดอาหาร 6-8 ชั่วโมง (Fasting plasma glucose; FPG) โดยแนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลสะสมอย่างน้อยปีละ 1 – 2 ครั้ง ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน


ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันของโรคเบาหวาน

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะที่ร่างการยมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

เมื่อมีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรตรวจดูค่าน้ำตาลปลายนิ้วเพื่อยืนยันถ้าค่น้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เข้าเกรณฑ์ว่ามาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

หลักการแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกรณียังรู้สึกตัว คือ 15, 15

รับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม เช่น 

ตรวจน้ำตาลปลายนิ้วซ้ำ 15 นาที หลังรับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม

หากค่าน้ำตาลยังน้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้รับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมซ้ำ และอีก 15 นาที ให้ตรวจดูค่าน้ำตาลปลายนิ้วอีกครั้ง
หากค่าน้ำตาลน้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้ทำซ้ำเช่นเดิม
หากค่าน้ำตาลมากกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้รับประทานอาหารมื้อหลักทันที เมื่อถึงมื้ออาหาร


หากมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรง อาจทำให้มีอาการชักถึงขั้นหมดสติไม่รู้สึกตัว ห้าม! ให้อาหารทางปากเด็ดขาด เพราะอาจสำลักลงหลอดลมแนะนำควรส่งโรงพยาบาลใกล่เคียงทันที


ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเฉียบพลัน แบ่งเป็น 2 ภาวะ ได้แก่

1. ภาวะคีโตเอซิโดซิส (Diabetic Ketoacidosis; DKA)
คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร่วมกับภาวะกรดเมตาบอลิกจากกรดคีโตนคั่งในร่างกาย

2. ภาวะไฮเปอร์ไกลซีมิกไฮเปอร์ออสโมล่าร์ (Hyperosmolar Hyperglycemic State; HHS)
คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 600 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่ไม่มีภาวะกรมเมตาบอลิกจากกรดคีโตนคั่งในร่างกาย


ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน ได้แก่

1. ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็ก

    เบาหวานขึ้นตา
    ไตวาย
    เส้นประสาท ได้แก่ ชาปลายเท้า เจ็บเหมือนถูกเข็มทิ่มแทง

2. ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดใหญ่

    กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
    อัมพฤกษ์ อัมพาต
    หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน ทำให้เกิดแผลที่เท้าง่าย และมีโอกาสถูกตัดนิ้ว/ขา

ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้สามารถป้องกันและชะลอได้ โดยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติ และควบคุมโรคร่วมที่สำคัญ เช่น โรคความดันโลหิตสูงและโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น


คำแนะนำในการปฎิบัติตัวสำหรับผู้เป็นเบาหวาน

    ควรดื่มน้ำสะอาดมากกว่า 8 แก้วต่อวัน
    ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ไขมันในเลือดและน้ำหนักตัวให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
    รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ครบทั้ง 3 มื้อ แม้จะไม่หิวก็ตาม ลดหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานของว่างที่ไม่จำเป็น
    รับประทานข้าว/แป้งไม่ขัดสีในปริมาณที่หมาะสม (1-3 ทัพพีต่อมื้อ)
    รับประทานผลไม้สดเป็นประจำ 2-3 มื้อต่อวัน ปริมาณ 6-8 ชิ้นคำต่อมื้อ หากเลือกผลไม้ขนาดกลาง ½ ผลต่อมื้อ หรือขนาดค่อนข้างเล็ก 1-2 ผลต่อมื้อ
    รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไม่ติดมันในปริมาณที่เหมาะสม
    เน้นผักใบให้มาก
    ใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหารได้ เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว
    แนะนำให้ดื่มนมรสจืดพร่องมันเนย หรือขาดมันเนยประมาณ 250 มิลลิลิตรต่อวัน หรือโยเกิร์ตรสธรรมชาติไม่เกิน 1 ถ้วยต่อวัน
    อ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้ออาหารทุกครั้ง
    ออกกำลังกายวันละ 30 นาที ย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
    รับประทานยา หรือฉีดยาตามคำสั่งแพทย์
    สำรวจเท้า และทาโลชั่นทุกวันทันทีหลังจากทำความสะอาด หากพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
    ควรตรวจฟันและช่องปากทุก 6 เดือน
    ลดการรับประทานอาหารหวาน เครื่องดื่มที่มีรสหวาน หรือให้ใช้น้ำตาลเทียม หรือสารให้ความหวานเทียมแทนน้ำตาล
    ลดการรับประทานอาหารมัน เช่น อาหารจานเดียว อาหารทอดและอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ รวมถึงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น
    ลดการรับประทานอาหารเค็ม เช่น ขนมมกรุบกรอบ อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารหมักดอง อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุงรส เป็นต้น รวมถึงการลดการรับประทานน้ำซุปต่างๆ หรือใช้หลักการตักเนื้อทิ้งน้ำ และลดการรับประทานน้ำจิ้ม
    งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


โรคเบาหวาน คือ อะไร?

ภาวะปกติของร่างกาย หมายถึง เมื่อรับประทานอาหารเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หลังจากนั้นร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจาะนำพาน้ำตาลเข้าสู่เซลล์

โรคเบาหวาน หมายถึง โรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่


โรคเบาหวานแบ่งเป็น 4 ชนิด ได้แก่

    โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน ส่วนใหญ่พบในเด็ก จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาอินซูลิน
    โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ มักมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวานร่วมด้วยในระยะแรกสามารถรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ถ้าเป็นนานๆ บางรายจำเป็นต้องใช้ยาอินซูลิน
    โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ วินิจฉัยขณะตั้งครรภ์ และภาวะนี้มักหายไปหลังจากคลอด
    โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคที่ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อบางชนิด หรือการรับประทานยาที่มีสารสเตียรอยด์


ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2

    อายุ 35 ปีขึ้นไป
    มีโรคอ้วน หรือ รอบเอวเกินมาตรฐาน (มากกว่า 90เซนติเมตรในผู้ชาย หรือ 80 เซนติเมตรในผู้หญิง) และมีพ่อ แม่ พี่ น้องเป็นโรคเบาหวาน
    มีโรคความดันโลหิตสูง หรือรับประทานยาความดันโลหิตอยู่
    ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (ระดับไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือระดับคอเลสเตอรอล เอสดีแอล < 35มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
    มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
    เคยได้รับการตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ เช่น ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร 100 – 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือระดับน้ำตาลสะสม 5.7 – 6.4 %
    มีโรคหัวใจและหลอดเลือด


อาการเริ่มแรกของโรคเบาหวาน คือ

ผู้ป่วยเบาหวานในระยะแรกที่ระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่สูงมาก อาการจะไม่เด่นชัดอย่างไรก็ตาม อาจไปพบแพทย์ด้วยอาการต่างๆ ดังนี้

    อาการของระดับน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ รับประทานเก่งขึ้น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย ถ้าระดับน้ำตาลสูงนานๆ และยังไม่ได้รับการรักษาจะมีน้ำหนักตัวลดลงตามมา
    อาการของภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น ตามัว ไตวาย ชาปลายมือปลายเท้า โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง
    อาการของน้ำตาลสูงเฉียบพลัน เช่น อ่อนเพลียมาก คลื่นไส้อาเจียน หายใจหอบเหนื่อย ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ซึมลง หรือหมดสติ
    อาการหรือโรคที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวาน เช่น แผลเรื้อรังหรือแผลหายช้ากว่าปกติ โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น การติดเชื้อราที่ช่องคลอด การติดเชื้อราที่ผิวหนัง
    ตรวจพบจากการตรวจเช็คสุขภาพหรือก่อนทำการผ่าตัด


น้ำตาลสะสม หรือน้ำตาลเฉลี่ยคืออะไร?

   น้ำตาลสะสม หรือ น้ำตาลเฉลี่ย หรือฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1C) คือ ค่าที่ช่วยบ่งชี้การควบคุมระดับน้ำตาลในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา และช่วยแพทย์ในการเฝ้าติดตามผู้ป่วยเบาหวานว่าสามารถควมคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพียงใด ควบคู่ไปกับการดูระดับน้ำตาลหลังงดอาหาร 6-8 ชั่วโมง (Fasting plasma glucose; FPG) โดยแนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลสะสมอย่างน้อยปีละ 1 – 2 ครั้ง ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน


ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันของโรคเบาหวาน

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะที่ร่างการยมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

เมื่อมีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรตรวจดูค่าน้ำตาลปลายนิ้วเพื่อยืนยันถ้าค่น้ำตาลในเลือดน้อยกว่า70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เข้าเกรณฑ์ว่ามาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

หลักการแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกรณียังรู้สึกตัว คือ 15, 15

รับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม เช่น 

ตรวจน้ำตาลปลายนิ้วซ้ำ 15 นาที หลังรับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม

หากค่าน้ำตาลยังน้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้รับประทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมซ้ำ และอีก 15 นาที ให้ตรวจดูค่าน้ำตาลปลายนิ้วอีกครั้ง
หากค่าน้ำตาลน้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้ทำซ้ำเช่นเดิม
หากค่าน้ำตาลมากกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้รับประทานอาหารมื้อหลักทันที เมื่อถึงมื้ออาหาร


หากมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรง อาจทำให้มีอาการชักถึงขั้นหมดสติไม่รู้สึกตัว ห้าม! ให้อาหารทางปากเด็ดขาด เพราะอาจสำลักลงหลอดลมแนะนำควรส่งโรงพยาบาลใกล่เคียงทันที

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเฉียบพลัน แบ่งเป็น 2 ภาวะ ได้แก่

1. ภาวะคีโตเอซิโดซิส (Diabetic Ketoacidosis; DKA) คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร่วมกับภาวะกรดเมตาบอลิกจากกรดคีโตนคั่งในร่างกาย

2. ภาวะไฮเปอร์ไกลซีมิกไฮเปอร์ออสโมล่าร์ (Hyperosmolar Hyperglycemic State; HHS) คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 600 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่ไม่มีภาวะกรมเมตาบอลิกจากกรดคีโตนคั่งในร่างกาย


ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน ได้แก่

1. ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็ก

    เบาหวานขึ้นตา
    ไตวาย
    เส้นประสาท ได้แก่ ชาปลายเท้า เจ็บเหมือนถูกเข็มทิ่มแทง

2. ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดใหญ่

    กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
    อัมพฤกษ์ อัมพาต
    หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน ทำให้เกิดแผลที่เท้าง่าย และมีโอกาสถูกตัดนิ้ว/ขา

ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้สามารถป้องกันและชะลอได้ โดยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติ และควบคุมโรคร่วมที่สำคัญ เช่น โรคความดันโลหิตสูงและโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น


คำแนะนำในการปฎิบัติตัวสำหรับผู้เป็นเบาหวาน

    ควรดื่มน้ำสะอาดมากกว่า 8 แก้วต่อวัน
    ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ไขมันในเลือดและน้ำหนักตัวให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
    รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ครบทั้ง 3 มื้อ แม้จะไม่หิวก็ตาม ลดหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานของว่างที่ไม่จำเป็น
    รับประทานข้าว/แป้งไม่ขัดสีในปริมาณที่หมาะสม (1-3 ทัพพีต่อมื้อ)
    รับประทานผลไม้สดเป็นประจำ 2-3 มื้อต่อวัน ปริมาณ 6-8 ชิ้นคำต่อมื้อ หากเลือกผลไม้ขนาดกลาง ½ ผลต่อมื้อ หรือขนาดค่อนข้างเล็ก 1-2 ผลต่อมื้อ
    รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไม่ติดมันในปริมาณที่เหมาะสม
    เน้นผักใบให้มาก
    ใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหารได้ เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว
    แนะนำให้ดื่มนมรสจืดพร่องมันเนย หรือขาดมันเนยประมาณ 250 มิลลิลิตรต่อวัน หรือโยเกิร์ตรสธรรมชาติไม่เกิน 1 ถ้วยต่อวัน
    อ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้ออาหารทุกครั้ง
    ออกกำลังกายวันละ 30 นาที ย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
    รับประทานยา หรือฉีดยาตามคำสั่งแพทย์
    สำรวจเท้า และทาโลชั่นทุกวันทันทีหลังจากทำความสะอาด หากพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
    ควรตรวจฟันและช่องปากทุก 6 เดือน
    ลดการรับประทานอาหารหวาน เครื่องดื่มที่มีรสหวาน หรือให้ใช้น้ำตาลเทียม หรือสารให้ความหวานเทียมแทนน้ำตาล
    ลดการรับประทานอาหารมัน เช่น อาหารจานเดียว อาหารทอดและอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ รวมถึงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น
    ลดการรับประทานอาหารเค็ม เช่น ขนมมกรุบกรอบ อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารหมักดอง อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง และเครื่องปรุงรส เป็นต้น รวมถึงการลดการรับประทานน้ำซุปต่างๆ หรือใช้หลักการตักเนื้อทิ้งน้ำ และลดการรับประทานน้ำจิ้ม
    งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์




โรคเบาหวาน รู้ทันป้องกันได้ (Diabetes) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/