ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: ชักโครก แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร?  (อ่าน 55 ครั้ง)

ออฟไลน์ siritidaphon

  • Edge LED TV member
  • ***
  • กระทู้: 430
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
อุปกรณ์ชิ้นสำคัญภายในห้องน้ำที่ขาดไปไม่ได้ คือ “ชักโครก” หรือโถสุขภัณฑ์ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นพิเศษ เพราะเป็นอุปกรณ์ภายในห้องน้ำที่เราใช้กันทุกวันเป็นประจำ และชักโครก หรือโถสุขภัณฑ์ 1 ชิ้น จะมีหลายองค์ประกอบ ตั้งแต่ความสวยงาม ระบบการทำงาน ขนาดที่มีผลต่อความสะดวกสบาย และความพึงพอใจของผู้ใช้ ถ้าเลือกไม่ดี ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน อาจเป็นปัญหาตามมาภายหลังได้

วันนี้จึงจะพามาทำความรู้จักกับ ชักโครก ให้มากยิ่งขึ้น ว่ามีชนิดไหนบ้าง? แต่ละแบบทำงานต่างกันอย่างไร? ข้อดีและข้อเสีย สำหรับเป็นตัวเลือกในการนำมาใช้งานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม

ชักโครกมีกี่ประเภท เลือกอย่างไรให้เหมาะสม?

หากแบ่งโถชักโครกตามลักษณะการนั่ง คงแบ่งได้เป็น แบบนั่งยอง และนั่งราบ ซึ่งโถแบบนั่งยองเราจะพบได้ตามวัด ปั๊มน้ำมัน สถานที่สาธารณะบางแห่ง แรกเริ่มเดิมทีเราใช้งานโถชักโครกแบบนั่งยอง แต่การใช้โถชนิดนี้ก็ไม่สะดวกสบายเหมือนการใช้โถแบบนั่งราบ และไม่เหมาะกับคนสูงอายุซึ่งมีปัญหาเรื่องเข่าและข้อ รวมทั้งโถแบบนั่งยองมักทำให้ห้องน้ำดูไม่สะอาด เปียกอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้โถแบบนั่งราบ ได้รับความนิยมในเวลาต่อมานั่นเอง

หากแบ่งตามลักษณะการใช้น้ำชำระ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ

1. แบบใช้น้ำตักราด

เป็นโถแบบที่ต้องรองน้ำในบ่อพัก แล้วใช้ภาชนะตักราด ยังคงเป็นที่นิยมใช้ตามวัด, ปั๊มน้ำมัน, สถานที่ต่าง ๆ ในต่างจังหวัด

ข้อเสีย คือ การใช้น้ำตักราดเอาทำให้ห้องน้ำเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา คนสูงอายุใช้งานลำบาก

2. แบบฟลัชวาล์ว

ฟลัชวาล์วเป็นอุปกรณ์ประกอบสุขภัณฑ์ ชักโครก หรือโถสุขภัณฑ์ โดยอาศัยเเรงดันน้ำ อัตราการจ่ายน้ำ ในเส้นท่อประปา ที่มีการออกเเบบมาอย่างมาตรฐาน การนำมาใช้ในสถานที่อาคารสาธารณะ, โรงเเรม, โรงภาพยนต์, ห้างสรรพสินค้า อาจจะเหมาะสม ตามสภาพการใช้งาน มากกว่าการนำไปใช้ตามบ้านพักอาศัยทั่วไป

3. เเรงดันน้ำอย่างต่ำ เพื่อให้การชำระล้างมีประสิทธิภาพ เเละไม่รั่วซึม สำหรับชักโครก หรือโถสุขภัณฑ์ คือ 20 ปอน์ดต่อตารางนิ้ว

ข้อดี คือ ไม่ต้องรอน้ำเต็มแทงค์เหมือนแบบฟลัชแทงค์ สามารถกดชำระได้ต่อเนื่อง เหมาะกับการใช้งานแบบสาธารณะ
ข้อเสีย คือ เวลากดชำระแล้วเสียงดัง

4. แบบฟลัชแทงค์

โถชักโครกจะมีแทงค์เก็บน้ำด้านหลัง เก็บน้ำไว้เพื่อใช้กดชำระล้างได้ นิยมใช้กันตามบ้านพักอาศัย, โรงแรมขนาดเล็ก, ร้านอาหาร, อาคารขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นต้น

โถชักโครกแบบฟลัชแทงค์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. แบบชิ้นเดียว (One Piece) เป็นชนิดที่ออกแบบให้ถังพักน้ำ และโถนั่งรวมกันเป็นชิ้นเดียว ซึ่งมีข้อดี คือ มีระบบกรทำงานที่เงียบ ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำรั่วซึม ติดตั้งได้ง่าย รูปทรงสวยงาม มีหลากหลายดีไซน์ให้เลือก ราคาสูงกว่าแบบสองชิ้น และหากชำรุดเสียหายต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งใบ

2. แบบสองชิ้น (Two Piece) โถชักโครกแบบสองชิ้น จะมีถังพักน้ำแยกกับโถนั่ง ทำให้ขั้นตอนการติดตั้งยุ่งกว่า และมีสิ่งสกปรกตกค้างตามรอยต่อของแต่ละชิ้นส่วนได้ ทำความสะอาดลำบาก เมื่อใช้งานนานไปอาจมีปัญหารั่วซึมตรงรอยต่อได้ แต่แบบสองชิ้นนี้ก็เป็นที่นิยมเพราะราคาถูกกว่าแบบชิ้นเดียว

การเลือกโถชักโครก ควรรู้อะไรบ้าง?

1. เช็คตำแหน่งรูท่อน้ำเสียที่ช่างประปาเดินท่อไว้ที่พื้นห้องน้ำ จะเห็นเป็นท่อขนาดใหญ่ 4″ ให้เช็คจุดศุนย์กลางท่อว่าห่างจากผนังเท่าไหร่ และเลือกซื้อชักโครกให้ตรงตามระยะท่อ

2. แต่หากเป็นห้องน้ำที่สร้างขึ้นใหม่ ช่างประปาจะให้เจ้าของบ้านเช็คโถชักโครกที่ต้องการใช้ ว่ามีระยะท่อน้ำเสียห่างจากผนังเท่าไหร่ เนื่องจากโถแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อก็อาจผลิตไม่ตรงกัน การเลือกโถที่ระยะไม่ตรงกับรูท่อ อาจก่อให้กลิ่นจากการกำจัดของเสียไม่ลงไปในท่อ อาจตกค้างตรงจุดรอยต่อได้

3. ปัจจุบันนี้คอนโด โรงแรมหลาย ๆ ที่ใช้โถชักโครกแบบแขวนผนัง หรืออาจเป็นแบบท่อออกผนัง การเลือกโถชักโครกควรเช็คให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะระยะความสูงของท่อควรห่างจากพื้นตามที่โถชักโครกรุ่นนั้น ๆ ระบุไว้ หากระยะไม่ตรงก็จะติดตั้งไม่ได้ ยากกว่าการติดตั้งแบบท่อลงพื้นเสียอีก

4. ก่อนซื้อชักโครก ควรลองนั่งกับโถที่เราเลือกไว้ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ บางคนชอบชักโครกที่นั่งสูง และเตี้ยต่างกัน บางคนชอบฝารองนั่งที่เอียงรับสะโพกได้ดีนั่งสบาย

ระบบชำระล้างของชักโครก มีอะไรบ้าง?

ระบบการชำระ (Flushing) โดยสุขภัณฑ์ แต่ละประเภทมีระบบการชำระล้างที่แยกย่อยออกไป แต่โดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 ระบบ คือ

1. ระบบ Siphon Vortex
เมื่อกดชำระ ภายในโถจะเกิดการหมุนวนของน้ำ และดูดสิ่งปฏิกูลได้รวดเร็ว โดยจะชำระล้างด้วยเสียงที่เงียบกว่าระบบอื่น ๆ

2. ระบบ Siphon-Jet
เป็นระบบที่มีหัวฉีด (Jet Hole) ช่วยเพิ่มแรงดึงดูดของน้ำให้เร็วยิ่งขึ้น จึงชำระสิ่งปฏิกูลได้รวดเร็วขึ้น

3. ระบบ Siphonic Wash-Down
มีระบบการทำงานที่คล้ายกับระบบ Wash-Down แต่มีรูปร่างของคอห่านที่โค้งกลับ ทำให้เกิดกาลักน้ำ ช่วยดึงดูดสิ่งปฏิกูลได้อีกทางหนึ่ง

4. ระบบ Wash-Down
ใช้หลักการน้ำใหม่แทนน้ำเก่า ในปริมาณที่น้อยกว่าระบบอื่น

ชักโครกหรือโถสุขภัณฑ์ที่ดี ควรจะมีขนาดคอห่านที่ใหญ่ มีแอ่งกันกลิ่นที่ลึก มีขนาดของพื้นผิวน้ำกว้าง เพื่อช่วยให้มีคุณสมบัติในการชำระล้างดี และช่วยป้องกันกลิ่นย้อนกลับ หรือ ป้องกันคราบสิ่งปฏิกูลติดบริเวณผิวรูปภายในของโถสุขภัณฑ์


บริหารจัดการอาคาร: ชักโครก แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร?  อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/